เส้นทางชีวิต พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สู่เส้นทางอย่างสมเกียรติ

พระบรมราชโองการฯ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการทำให้เส้นทางชีวิต เส้นทางอำนาจของ พลเอก ประยุทธ์ มาถึงปลายทางอย่างสมเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริ เห็นเป็นการสมควร แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี

 

พระบรมราชโองการฯ ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการทำให้เส้นทางชีวิต เส้นทางอำนาจของ พลเอก ประยุทธ์ มาถึงเส้นทางที่สมเกียรติ และคงมีคนไทยไม่กี่คนเท่านั้น ที่ในชีวิตจะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ ในชีวิต มาเกือบครบหมดเหมือน พลเอก ประยุทธ์ ทั้งผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทย ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึง 16 กรกฎาคม 2562 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตำแหน่งล่าสุดนั่นคือ องคมนตรี

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2497 ปัจจุบัน อายุ 70 ปี อาจจะเดินรอยตาม อดีตสองผู้นำทหาร อดีตนายกรัฐมนตรี คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตองคมนตรี อดีตประธานองคมนตรี และ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลรัฐประหาร คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อปี 2549 องคมนตรี และประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ตำแหน่งที่เรียกว่า “องคมนตรี” มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบันมีคณะองคมนตรี รวมทั้งสิ้น 19 คน เป็นตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 มาตรา 10 ระบุว่า

“พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี”

และมาตรา 12 ระบุว่า
“องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือข้าราชการ เว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ในตําแหน่งองคมนตรี และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ”

 

โดยก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งคณะองคมนตรีทั้งหมด ประกอบด้วยผู้ทรงเกียรติและทรงความรู้ ซึ่งนำโดยประธานองคมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

สำหรับตำแหน่งองคมนตรีนั้น เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนนั้นเรียกว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” หรือ ที่ปรึกษาในพระองค์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา

 

ส่วนคำว่า “องคมนตรี” เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ก็ยึดจากรายงานการประชุมเสนาบดี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ร.ศ. ที่ 111 หรือ พ.ศ. 2435 และในประกาศการพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล พระราชทาน พระไชยวัฒน์องค์เล็ก แลเครื่องราชอิศริยาภรณ์ และตั้งองคมนตรี เมื่อ ร.ศ. ที่ 111 ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า “องคมนตรี” แล้ว

ขณะที่ ภารกิจแรกในฐานะองคมนตรี ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศล “วันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลในงาน “วันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส” ในโอกาสวันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 7 รัตนกวีศรีรัตนโกสินทร์ อดีตอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพน รูปที่ 2 ครบ 233 ปี วันประสูติ

 

ในการนี้ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นประธานนำพระราชาคณะ
พระฐานานุกรมในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ร่วมรับผู้แทนพระองค์โดยอาราธนาพระสงฆ์สมณศักดิ์ 10 รูป สดับปกรณ์เพื่อประกาศพระเกียรติคุณ พร้อมมอบรางวัลแก่นักเรียน และนิสิตผู้ชนะการประกวดและแข่งขันในกิจกรรมต่าง ๆ
และมอบทุนการศึกษากองทุนกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสแก่นิสิต นักศึกษา สถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

ซึ่งผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนคณะบุคคล ร่วมพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น