มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จัดกิจกรรมนิทรรศการเยือนถิ่น ชมเมืองกูยคนเลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์

สุรินทร์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จัดกิจกรรมนิทรรศการเยือนถิ่นชมเมืองกูยคนเลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยกลไกความร่วมมือเพื่อยกระดับ มูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์กูยคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ และงานเทศกาลการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ประจำประเทศไทย ครั้งที่ 2 (The 2nd Thailand Cultural Exchange Festival : Thailand – CEF) ที่หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึดษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ววน.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในโครงการวิจัย เรื่อง การจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยกลไกความร่วมมือ เพื่อยกกระบวนการศึกษาวิถีชีวิตความอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มชาติพันธุ์กูย หรือ กวย ที่มีอัตลักษณ์ด้านภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ “ช้าง” ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจะนำสู่การพลิกผัน พัฒนา สืบทอด ต่อยอด จนเกิดความยั่งยืนให้กับชุมชนในเขตตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ บ้านกระโพ บ้านจินดา บ้านตากลาง บ้านศาลา บ้านหนองบัว บ้านกระเจา และบ้านตาทิตย์

 

โดยวันนี้เป็นกิจกรรมนิทรรศการเยือนถิ่นชมเมืองกูยคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ ภายใต้โครงการวิจัย และงานเทศกาลการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ประจำประเทศไทย ครั้งที่ 2 (The second Thailand – CEF 2024) อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ได้มาร่วมแสดงมุทิตาจิตสักการะเนื่องในวันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อพระครู ดร.สมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง และทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ขอกราบขอบพระคุณท่านพระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร อย่างสูงที่ได้อนุญาตให้ใช้สถานที่ในการจัดนิทรรศการเยือนถิ่นชมเมืองกูยคนเลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์ในวันนี้ ซึ่งกองทุนส่งเสริม ววน. และ หน่วย บพท. รวมทั้งบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ได้บูรณาการร่วมกันในพันธกิจด้านการทำนุบํารุงศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ของชุมชนในเขตตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ อันเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายชุมชน หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกสถาบัน เครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายระดับจังหวัดและภูมิภาค เครือข่ายระดับชาติ และนานาชาติ

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยกิจกรรมเมื่อช่วงเช้า ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการฯได้นำคณะรองอธิการบดี ผู้บริหาร บุคลากร ม.รภ.สุรินทร์ ผอ.สำนักวัฒนธรรม 38 มหาวิทยาลัย ศิลปินนานาชาติ 10 ประเทศ นักเรียน นักศึกษา กว่า 500 คน แวะเยี่ยมชมการแสดงช้าง ที่ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง เสร็จแล้วก็ได้เดินทางต่อไปที่วัดป่าอาเจียง บ้านหนองบัว ตำบลท่าตูม เพื่อชมกิจกรรมการแสดงต่างๆ ของชาวกูย ชาวช้างพื้นถิ่น พร้อมเยี่ยมชมร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านออกมาจำหน่ายและแสดง เช่นเครื่องประดับ เครื่องรางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาช้าง หรือหางช้าง ผ้าไหมลายพื้นบ้าน สินค้าเกษตร ต่างๆมากมาย โดยมี นาง วันเพ็ญ หาญเสมอ นายอำเภอท่าตูม ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย พร้อมกับร่วมแสดงมุทิตาจิตสักการะเนื่องในวันคล้ายวันเกิด 72 ปี หลวงพ่อพระครู ดร.สมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง โดยมีพิธีทางศาสนา เซ่นศาลพระครูปะกำ แสดงมุฑิตาจิต บ่ายมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ พร้อมกับพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาด้วย โดยในงานนี้ ได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อร่วมแสดงมุทิตาจิต เป็นเตียงผู้ป่วย 4 ชุด รถเข็นผู้ป่วย 7 คัน ไม้เท้า 8 ชุด เพื่อสนับสนุน ร.พ.โนนนารายณ์ และถวายสงฆ์อาพาธ โดยท่าน พระครูพิสุทธิ ปัญโญภาส เจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลหนองเทพ วัดสว่างโนนสะเดา ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ เป็นผู้นำมามอบให้ในงานด้วย

 

 

 

 

 

 

 

ซึ่ง ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการฯ ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ในบทบาทพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยในกลุ่ม 3 นี้ก็คือ เน้นในการพัฒนาท้องถิ่น คือเราทำทำพันธกิจที่สำคัญก็คือในเรื่องของการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งวันนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราได้บูรณาการหลายๆกิจกรรมเข้ามาทำกิจกรรมอยู่ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดป่าอาเจียง ซึ่งตามที่ได้นำเรียนไปแล้วเมื่อสักครู่ เรื่องพันธกิจในเรื่องการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนั้น มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เนื่องจากว่าเราเป็นหมาลัยเชิงพื้นที่ ในขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์เองก็เป็นจังหวัดที่มีภูมิปัญญาทางด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเยอะทีเดียวในหลายๆด้าน โดยจะสังเกตุเห็นได้จากคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ที่ว่า “ สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย รำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” ซึ่งตรงนี้มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมล้วนๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาในเรื่องของช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนชาวกูย ที่เรายืนอยู่ตรงนี้วันนี้ ซึ่งชุมชนชาวกูยถือว่าเป็นพลังสำคัญ และมีบทบาทสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาในเรื่องของอาหาร ภูมิปัญญาเรื่องของการแต่งกาย ภูมิปัญญาในเรื่องสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งหลายด้านด้วยกัน แล้ววันนี้มหาวิทยาลังเองก็จัดกิจกรรมที่เราเรียกว่า กิจกรรมทางด้านแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านนาๆชาติ ซึ่งวันนี้ก็มีศิลปินต่างชาติประมาณเกือบ 200 คน มาร่วมกิจกรรมกันที่นี่ ซึ่งที่สำคัญคือได้มาเห็นวิถีชีวิตของชาวกูย ได้มาเรียนรู้วิถีชีวิตของพวกเขา ได้มาร่วมทานอาหารพื้นบ้านของเขา มาช็อปปิ้ง ลองใส่เสื้อผ้าของชาวกูย แล้วก็ได้เห็นประเพณีวัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การร่ายรำ แล้วก็เครื่องมือดนตรีต่างๆ นั่นคือสิ่งที่สำคัญและตอบสนองบทบาทพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

ด้าน ดร.สิริวิท อิสโร และดร.คำล่า มุสิกา ซึ่งเป็นทีมประสานงานกรอบวิจัยทุนทางวัฒนธรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ตนและดร.คำล่า มุสิกา ซึ่งทำหน้าที่ในการมาดูแลโครางการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ก็เป็นอีก 1 โครงการใน 70 โครงการ ซึ่งตอนนี้ได้รับการสนับสนุนยกระดับพันธกิจที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งต้องเรียนว่า ในเรื่องพันธกิจที่ 4 นั้นเป็นยาขมสำหรับหลายมหาวิทยาลัยนะครับ เพราะว่าเวลาพูดถึงบทบาทสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเรามักจะนึกถึงการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ แต่จริงๆแล้วกฎหมายกำหนดครับว่า มหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้วยครับ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา หน่วย บพท. ก็สนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับพันธกิจที่ 4 โดยเล็งเห็นว่า บทบาทมหาวิทยาลัย นอกจากจะทำหน้าที่เป็นองค์ความรู้ให้แก่สังคมแล้ว ก็ควรทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ในการสร้างเศรษฐกิจ แล้วก็พัฒนาท้องถิ่น จึงได้สนับสนุนทุนให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีมหาวิทยาลัยเป็นร้อยสถาบันที่ได้รับทุนตรงนี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่เรากำลังมาติดตาม แล้วก็มาร่วมให้กำลังใจในการจัดงานในวันนี้ และสิ่งที่เป็นบทเรียนสำคัญที่คิดว่าราชภัฏสุรินทร์จะให้กับสังคมก็คือ จริงๆแล้วบทบาทมหาวิทยาลัย มันไม่ใช่แค่การเรียนการสอน หรือการวิจัย แต่เป็นเรื่องของการช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้กับชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตทีดีให้กับชุมชนได้โดยใช้เครื่องมือทุนทางวัฒนธรรมทำเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกำลังสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์เพาเวอร์ สิ่งที่เราทำก็คือสิ่งที่ที่เรียกว่า โลคอลซอฟต์เพาเวอร์ (Local Soft power ) เรากำลังใช้พลังของชุมชนในการผลักดันให้เกิดการผลักดันให้ทุนทางวัฒนธรรม ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เราเห็นวันนี้จากการที่มาร่วมงานที่ราชภัฏสุรินทร์จัดนี้ ก็พบว่าเป็นต้นแบบที่ดีมากที่พยายามใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเมื่อเช้าก่อนที่จะมาที่งานตรงนี้ เราก็ได้ไปที่ที่ชาวบ้านเขาเลี้ยงช้าง ก็พบว่าตัวโครงการตัวนี้ ได้สร้างอิมเพค พยายามไปทำโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ความรู้กับผู้คน แล้วก็ทำให้เห็นคุณค่าของคนเลี้ยงช้างในชาติพันธุ์กูยอาเจียงมากขึ้น ซึ่งก็คิดว่า นี่เป็นแค่หนึ่งโครงการที่เราให้การสนับสนุน แล้วก็หวังว่าในอนาคต จะมีมหาวิทยาลัยต่างๆมาร่วมเป็นขวบการร่วมกับเรามากขึ้น ในการที่จะผลักดันให้เกิดโลคอลซอฟต์เพาเวอร์ที่จะสร้างพลังให้กับชาติต่อไปครับ

 

 

 

 

จากนั้นคณะก็ได้พากันเดินเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ที่ชาวกูยพื้นเมืองจัดให้ โดยชุมชนชาวกูยบ้านหนองบัว ยังได้จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวกูยท้องถิ่นให้ได้ชมกันอย่างสนุกสนานด้วย  ซึ่งหลังจากร่วมกิจกรรมครบทุกด้านแล้ว ในเวลาบ่ายสองโมงเศษ อธิการฯ และคณะจึงได้เดินทางกลับ.

 

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว ชูชัย ดำรงสันติสุข ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น