“บุ้ง ทะลุวัง” ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ 14 วันช็อกดับ?

บุ้ง ทะลุวัง ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ 14 วันช็อกดับ?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก "ตะวัน-แบม" ถึง "บุ้ง ทะลุวัง" จริง ๆ คนเรา "อดอาหารและน้ำ" อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

TOP News รายงานประเด็น “บุ้ง ทะลุวัง” ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ แล้วแค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง และคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกันแน่?

ข่าวที่น่าสนใจ

ประท้วงอดอาหารต่อ สำหรับ “บุ้ง ทะลุวัง” หรือ บุ้ง เนติพร เจ้าของสถิติอดอาหารประท้วงนานที่สุด แต่รอบนี้ ขออดอาหารและน้ำด้วย ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกกับการ “อดอาหารและน้ำ” โดยอ้างว่าเพื่อสู้กับกระบวนการยุติธรรม ล่าสุด ก่อนหน้านี้ ตะวัน และ แบม ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112 จากการจัดกิจกรรมสอบถามความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับ ขบวนเสด็จ กับกลุ่ม “ทะลุวัง” บริเวณหน้าห้างสยามพารากอน เมื่อ 8 ก.พ. 2565 ก็ประท้วงอดอาหารและน้ำ ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 2566 จนถึงวันที่ 11 มี.ค. 2566 ซึ่งในช่วงเวลากว่า 52 วัน ทั้งคู่ยอมรับการจิบน้ำและสารน้ำจากแพทย์เพื่อรักษาชีวิต จริง ๆ แล้วแค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง และคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกันแน่?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง?

บทความ “วางชีวิตเป็นเดิมพัน: พลังของการอดอาหารประท้วง กลไกการทำงานในฐานะปฏิบัติการทางการเมือง ผลลัพธ์และการตอบสนองจากรัฐ” โดย เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความรายละเอียดเกี่ยวกับ การอดอาหารประท้วง ในลักษณะปฏิเสธที่จะกินอาหาร หรือสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตโดยสมัครใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อกดดันฝ่ายที่ถูกเรียกร้องให้ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยอำนาจเชิง “การกดดัน” ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้ถูกเรียกร้องจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเปลี่ยนความคิดภายในหรือไม่ สามารถจำแนกออกได้อย่างน้อย 3 ประเภท ได้แก่

  1. การอดอาหารประท้วงอย่างหิวกระหาย (dry hunger strike/fasting) หมายถึง การอดอาหารที่ผู้ประท้วงจะ “ไม่นำอะไรเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารเลย” แม้แต่สารอาหารเหลว หรือน้ำเปล่า วิธีนี้สามารถพบได้น้อย เพราะอาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
  2. การอดอาหารประท้วงทั้งหมด (total hunger strike/fasting) หมายถึง การไม่ทานอาหาร หรือสารอาหารใด ๆ ที่ให้พลังงาน แต่จะรับประทานเพียงเครื่องดื่มที่อาจมี หรือไม่มีเกลือแร่ก็ได้
  3. การอดอาหารประท้วงแบบไม่ทั้งหมด (non-total hunger strike/fasting) หมายถึง การอดอาหารประเภทอื่นนอกเหนือจาก 2 ประเภทข้างต้น โดยอาจมีการดื่มน้ำ หรือทานอาหารเหลวที่ให้พลังงานบ้าง รวมถึงอาหารแข็งบางประเภท เช่น เนย น้ำตาล เป็นต้น

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อัปเดตอาการ “บุ้ง ทะลุวัง” เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2567 ช่วงเช้าทนายความได้เข้าเยี่ยม “บุ้ง เนติพร” (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ซึ่งอดน้ำ อดอาหาร เข้าวันที่ 17 ระหว่างถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 กรณีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ รวมทั้งคดีละเมิดอำนาจศาล และถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567

บุ้งถูกคุมขังครั้งนี้หลังศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งถอนประกันในคดี 112 ดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2567 รวมทั้งมีคำสั่งลงโทษจำคุก 1 เดือน ในวันเดียวกัน ในคดีละเมิดอำนาจศาล หลังจากฟังคำสั่งในทั้งสองคดี บุ้งตัดสินใจว่าจะไม่ยื่นประกันตัว ทำให้บุ้งถูกส่งตัวเข้าทัณฑสถานหญิงกลางในเย็นวันที่ 26 ม.ค. เป็นต้นมา ก่อนที่เธอตัดสินใจอดน้ำอดอาหาร (Dry Hunger Strike) ตั้งแต่เย็นวันที่ 27 ม.ค. เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และจะต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองอีก

จากการเข้าเยี่ยมของทนายความครั้งล่าสุดนี้ บุ้งตัวเหลือง ตาเหลือง มีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนแรงมาก อาเจียนตลอดเวลาขณะทนายเยี่ยม และปัสสาวะครั้งละ 1-2 หยด เท่านั้น

บุ้งดูเหนื่อยล้ามาก ตัวเหลือง ตาเหลือง จากภาวะตับอักเสบ แต่แววตายังคงสู้อยู่ และได้ถามถึงผลประกันตัวผู้ต้องขังการเมืองทั้ง 15 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งศาลมีคำสั่งแล้ว 3 คน แต่เป็นคำสั่งไม่ให้ประกัน

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

“บุ้ง ทะลุวัง” อยู่ได้โดยไม่กินอะไรจริงหรือ?

ข้อมูลจากเพจหมอเวร และโรงพยาบาลพญาไท ระบุถึงการอดอาหารแต่ละระยะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ก็ตามนี้เลย คือ

  • ใน 3 – 4 ชม. แรก ร่างกายจะดึงพลังงานจากอาหารมื้อล่าสุดที่กิน เพื่อเอามาใช้งานก่อน หลังจากนั้นถ้าพลังงานตรงนี้หมด จะไปดึงพลังงานส่วนไกลโคเจนมาใช้แทน ขั้นนี้ยังสบาย ๆ อยู่
  • พอครบ 24 ชม. ร่างกายจะเริ่ม โหย ๆ เพลีย ๆ นิดหน่อย ท้องจะเริ่มส่งเสียงร้องระงมว่าต้องการอาหาร ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น ความดันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พอไกลโคเจนในเลือดหมดแล้ว ร่างกายจะดึงพลังงานมาใช้ก็คือ กลูโคส หรือ น้ำตาลส่วนที่เล็กที่สุดในร่างกายนั่นเอง หลัก ๆ จะดึงกลูโคสไปใช้งานกับสมองก่อน เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
  • ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง เพราะว่าไม่มีสารอาหารประเภทคาร์บหรือไขมันตกถึงท้อง ถ้ากลูโคสหมด ร่างกายจะดึงโปรตีนมาใช้ต่อ หรือถ้าไม่พอก็จะเริ่มดึงไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังมาใช้แทน ผิวหนังจะเริ่มซีดลง ลิ้นแห้งและอาจมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณลิ้น เริ่มมีกลิ่นปากที่รุนแรงขึ้น เพราะของเสียจากการเผาไขมันจำพวกคีโตนทำให้มีกลิ่นที่รุนแรง
  • พอครบสองวัน ดวงตาจะเริ่มอ่อนแรง อาจมีอาการแทรก เช่น การปวดหัว หรือรู้สึกไม่มีแรง ร่างกายจะขุดไขมันสะสมมาใช้อย่างจริงจัง ปกติไขมันสำรองของคนทั่วไป มักจะสามารถถูกเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานต่อไปได้อีกอย่างน้อย 60 – 80 ชม. ใครที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีไขมันสะสมเยอะก็จะอยู่ได้นานขึ้น
  • เข้าวันที่สาม ความหิวเราจะลดลง ตอนนี้ร่างกายจะเริ่มดึงทั้งไขมันและดึงกล้ามเนื้อมาเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ เป็นจังหวะที่ร่างกายเราจะเริ่มปรับตัวได้แล้ว ถ้ายังมีน้ำกินอยู่ จะรู้สึกตัวเบา และค่อนข้าง Active เป็นพิเศษได้อีกหลายวัน ถือเป็นกลไกธรรมชาติเหมือนสั่งให้เราห้ามตาย และพยายามลุกออกไปหาอาหารมาเติมลงกระเพาะให้ได้
  • ครบ 72 ชม. อย่างที่บอกว่าร่างกายเราจะยังค่อนข้างตัวเบา ๆ โหวง ๆ อาจจะมีวูบ ๆ บ้างเวลาลุกเร็ว ๆ เพราะน้ำตาลในเลือดเราลดลงอย่างฮวบฮาบ รวมถึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานแทน
  • มาถึง ชม. ที่ 90 ตรงนี้เริ่มน่าเป็นห่วงเล็กน้อย เพราะปกติแล้วเราจะกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารต่าง ๆ แต่พอเราขาดคาร์บจากการกิน ร่างกายเราเลยไปทำปฎิกิริยากับโปรตีนและไขมันในเส้นเลือด ทำให้เลือดในร่างกายเริ่มค่อย ๆ เสียไปเรื่อย ๆ ทีละน้อย ๆ ส่วนการดำรงชีพก็ยังคงดึงชั้นไขมันมาใช้ได้อยู่เหมือนเดิม
  • ซึ่งจุดวิกฤต คือประมาณ 7 – 10 วัน ร่างกายเคย Active หรือกระปรี้กระเปร่า จะเริ่มหมดเรี่ยวแรงไม่สามารถขยับไปไหนได้แล้ว อวัยวะภายในตับไตเริ่มพังทีละส่วน เนื่องจากเลือดเป็นพิษ ถ้าเลือดเป็นพิษถึงระดับ 30% ของเลือดในร่างกายทั้งหมด ก็จะเป็นจุดที่อันตรายที่สุด เพราะทำให้มีสารพิษวิ่งเข้าสู่สมองได้ นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของจริง

“ถ้าถามว่า คนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกัน? ก็ต้องตอบว่า คนเราขาดสารอาหารจะอยู่ได้ประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ ต้องแยกว่าเราขาดสารอาหาร..แล้วเราขาดน้ำด้วยไหม? เพราะการที่ร่างกายขาดน้ำ โดยทั่วไปจะอยู่ได้ไม่เกิน 7 – 14 วัน เท่านั้น เนื่องจากการที่ขาดน้ำเรื่อย ๆ จะทำให้ขับปัสสาวะไม่ออก ของเสียภายในร่างกายเกิดการสะสมมากขึ้น อาจเกิดภาวะไตวาย ความดันต่ำลง หรืออาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น