อาการ “สมองเสื่อม” 2567 ไบเดนยังสับสนแบบนี้ใช่หรือไม่ (คลิป)

อาการ สมองเสื่อม 2567 ไบเดนยังสับสนแบบนี้ใช่หรือไม่ (คลิป)

"สมองเสื่อม" คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเริ่มแรก สาเหตุ การรักษา (คลิป) ไวรัล ปธน.ไบเดน ท่าทางสับสนแบบนี้ ใช่มั้ย เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่

TOP News รายงานประเด็น “สมองเสื่อม” ล่าสุด เมื่อวันจันทร์ (12 ก.พ.) ที่ผ่านมา คลิปผู้นำสหรัฐฯ ออกอาการหลงทางหลงที่ขณะแถลงข่าว ถูกล้อกระหน่ำในโลกโซเชียลและกลายเป็นไวรัลอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ รอนนี แจ็กสัน ส.ส.รัฐเท็กซัส และอดีตแพทย์ประจำทำเนียบขาว แสดงความเห็นใน X หรือทวิตเตอร์เดิม ตั้งคำถาม ประธานาธิบดีไบเดน เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

หลังจาก ประธานาธิบดีไบเดน กล่าวต้อนรับกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่สอง ในการเสด็จเยือนทำเนียบขาว และส่งต่อโพเดี้ยมให้กับพระองค์ ปรากฏว่า ไบเดน เป็นประเด็นขึ้นมาอีก ขณะกษัตริย์อับดุลเลาะห์เตรียมแถลง ผู้นำสหรัฐฯ วัย 81 ปี ถอยไปยืนด้านหลังของพระองค์และหลังโพเดี้ยม ก้มหน้ามองพื้นราวกับมองหาเครื่องหมายบ่งบอกตำแหน่งยืน และเดินไปมาระหว่างสองจุด ก่อนปักหลักกับตำแหน่งแรก คือด้านหลังซ้ายของกษัตริย์อับดุลเลาะห์ และหน้าธงชาติจอร์แดน

การลังเลของประธานาธิบดีไบเดน ทำให้จังหวะหนึ่ง กษัตริย์อับดุลเลาะห์หันมองหลังด้านซ้าย คาดว่าจะเห็น ไบเดน แต่เขากลับไม่อยู่

นอกจากนี้ ยังมีอีกตอนหนึ่ง ที่ไบเดน พูดผิดว่า “ปฏิบัติการทหารของเรา (สหรัฐฯ) ในราฟาห์” (our military operation in Rafah) ก่อนแก้เป็น “ปฏิบัติการทหารครั้งใหญ่ในราฟาห์” ( the major military operation in Rafah)

ขณะที่ทำเนียบขาว ยืนยันในวันเดียวกันว่า ประธานาธิบดีไบเดน จะไม่เข้ารับการตรวจระดับความสามารถทางสติปัญญา หลังจากที่กระทรวงยุติธรรม ระบุในรายงานสอบสวนคดีจัดการเอกสารลับหลังพ้นตำแหน่งรองประธานาธิบดีของไบเดน ว่าความจำของเขาไม่ดี และโพลล์ก็ชี้ว่า ชาวอเมริกันผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วิตกความเฉียบแหลมหรือความสามารถทางด้านจิตใจของไบเดน

ขณะที่ รอนนี แจ็กสัน ส.ส.รัฐเท็กซัส และอดีตแพทย์ประจำทำเนียบขาว แสดงความเห็นในทวิตเตอร์ เมื่อวันอังคาร (13 ก.พ.) ที่ผ่านมา ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมที่ โจ ไบเดน จะยังคงอยู่ในตำแหน่ง โดยก่อนหน้านี้ แจ็กสัน ยืนกรานว่า ประธานาธิบดีไบเดน “สมองเสื่อม” ภาวะรู้คิดถดถอยของ ไบเดน แสดงออกมาอย่างเต็มรูปแบบมานานหลายปีแล้ว ไบเดนสมองเสื่อมตามวัย และสภาพสมองของเขาตอนนี้ไม่พร้อมสำหรับการทำงาน ไบเดนสติไม่อยู่กับตัวแล้ว เห็นได้จากอาการเหม่อลอย และการจ้องมองไปในอากาศบ่อยครั้ง

“ตนเคยเป็นแพทย์ประจำทำเนียบขาวให้กับประธานาธิบดีถึงสามคน และตนมั่นใจ 100% ว่า โจ ไบเดน ไม่สามารถทำงานประธานาธิบดีอีกต่อไปแล้ว”

สมองเสื่อม คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเริ่มแรก สาเหตุ การรักษา (คลิป) ไวรัล ปธน.ไบเดน ท่าทางสับสนแบบนี้ ใช่มั้ย เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่

“สมองเสื่อม” คืออะไร?

สมองเสื่อมเป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป

เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น แต่โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 – 10 ปี

อาการเริ่มแรก?

มักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ ไม่นาน ในขณะที่ความจำเรื่องเก่า ๆ ในอดีตจะยังดีอยู่ ผู้ป่วยอาจถามซ้ำเรื่องที่เพิ่งบอกไป หรือพูดซ้ำเรื่องที่เพิ่งเล่าให้ฟัง นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น วางของแล้วลืม ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้ สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ หลงทิศทาง นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิด ๆ แทน

มีอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การตัดสินใจแย่ลง ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดปัญหาต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถเดิม การศึกษา และหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของญาติด้วย

สาเหตุ?

สาเหตุที่ชัดเจนนั้นยังไม่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนทำให้สมองทำหน้าที่ลดลงและเหี่ยวลงไป สมองเสื่อมไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวทางกรรมพันธุ์ได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากขึ้นสองเท่าทุก 5 ปี และเนื่องจากปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดำเนินโรค ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงวิธีต่าง ๆ ในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลชัดเจน

สมองเสื่อม คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเริ่มแรก สาเหตุ การรักษา (คลิป) ไวรัล ปธน.ไบเดน ท่าทางสับสนแบบนี้ ใช่มั้ย เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่

การรักษา?

การรักษาภาวะสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ยาบางตัวอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปแบ่งการรักษาออกเป็น

  1. รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้ำในสมองขยายตัว อาจต้องผ่าตัดสมอง ถ้าเกิดจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็รับประทานยาทดแทน เป็นต้น
  2. รักษาเรื่องความจำเสื่อม ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors สามารถชะลออาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรกๆ แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้โรคนี้หายขาด เพียงชะลอการดำเนินโรคไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว
  3. รักษาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ด้วย เช่น เอะอะโวยวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือกับญาติในการดูแล เป็นต้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องใช้ยาเพื่อลดอาการ
  4. ผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้ดูแลเป็นบุตรหลานหรือญาติด้วยแล้ว จะยิ่งเกิดความเครียด รู้สึกห่อเหี่ยวและทุกข์ใจมากกว่าผู้ดูแลทั่วไป ฉะนั้นหากผู้ดูแลเหล่านี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีช่วงพักเพื่อคลายเครียดให้กับตนเอง ซึ่งอาจพบปะพูดคุยกับผู้อื่น หรือโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากทีมแพทย์และพยาบาล และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้ดูแลลดความเครียดและความทุกข์ลงได้มาก

วิธีป้องกัน?

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการป้องกันโรคสมอง เสื่อม นี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวบางอย่างอาจช่วยให้สมองมีความจำที่ดีได้

  1. หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
  2. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ เป็นต้น
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง เช่น เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
  4. การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรม เป็นต้น
  5. ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหา ดูแล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  6. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง เช่น ระวังการหกล้ม เป็นต้น
  7. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำ และฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
  8. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี

สมองเสื่อม คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเริ่มแรก สาเหตุ การรักษา (คลิป) ไวรัล ปธน.ไบเดน ท่าทางสับสนแบบนี้ ใช่มั้ย เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่

ขอบคุณข้อมูล : ศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โจรใต้กระหน่ำยิง อส.ดับคาที่! แถมกระพือข่าวมั่ว-ป้ายสีคนตาย
"พิชัย" สะท้อนผ่านเวที ม.โตเกียว ยันการเมืองไทยมั่นคง เร่งเจรจา FTA ชวนญี่ปุ่นขยายลงทุน
สาวสองโหด พาเพื่อนรุมทำร้าย "แม่ลูกอ่อน" ถึงบ้าน บังคับกราบเท้า พร้อมถ่ายคลิปไปลงโซเชียล
สายแคมป์ห้ามพลาด! ทล.เปิด 37 จุดกางเต็นท์ฟรีช่วงปีใหม่ หนุนท่องเที่ยวในประเทศอย่างยั่งยืน
ตร.ไซเบอร์ บุกทลายคลังแสงกลางหมู่บ้านหรูเมืองปทุมฯ ยึดปืนเถื่อน-เครื่องกระสุนเพียบ
"บัวขาว" โพสต์ภาพชุด "ปราบมังกรจีน" ไล่อัด "หาน เหวินเป่า" นักชกคิกบ็อกซิ่ง คว้าชัยฉลอง 80 ปี เวทีราชดำเนิน
"กรมศิลปากร" ชวนเที่ยวงาน "แอ่วกุมกามยามแลง Moon and Me" ชมความงามยุคล้านนา จ.เชียงใหม่
รบ.รณรงค์ “ดื่มไม่ขับ กลับบ้านปลอดภัย” เอาจริงเมาขับ ขู่คุกไม่เกิน 1 ปี ฟันร้านค้า-ผู้ปกครอง หากขายให้เยาวชน
"ผู้การแต้ม" ท้า "สันธนะ" เปิดหลักฐานเด็ด เผย "สจ.โต้ง" รู้ตัว ก่อนถูกสั่งเก็บ
เปิดคลิป นาทีคนร้ายขับรถพุ่งชนคน กลางตลาดคริสต์มาส เยอรมนี เสียชีวิต 5 บาดเจ็บเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น