“ทักษิณ” คัมแบ็คการเมือง จับตา “คนเดือนตุลาฯ” รีเทิร์นกุนซือนายใหญ่

"ทักษิณ" คัมแบ็คการเมือง จับตา "คนเดือนตุลาฯ" รีเทิร์น อดีตขุนพลรบเคียงบ่าเคียงไหล่กุนซือการเมืองปั้นนโยบายยุค "ทรท." เรืองอำนาจตบเท้ากลับมาช่วยงานนายใหญ่กุมบังเหียน "รัฐบาลสลายขั้ว"

ภายหลัง “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการพักโทษกลับไปอยู่ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” ต้องจับตามองว่าบทบาทของอดีต “คนเดือนตุลาฯ” ที่เคยเป็นที่ปรึกษาส่วนตัว ผลักดันนโยบายประชานิยม หัวหอกในการทำงานวางแผนการเลือกตั้ง ทำงานมวลชนหรือจัดการปัญหาความขัดแย้งขวากหนามทางการเมือง หรือ ทำงานเชิงรุกสร้างภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์กรุยทางให้ “ทักษิณ” ผงาดขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในยุครัฐบาล “พรรคไทยรักไทย” ชนะการเลือกตั้งถล่มทลายจะกลับมามีบทบาททางการเมืองในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี หรือไม่อย่างไร

“ภูมิธรรม” สายตรงนายใหญ่ผู้จัดการรัฐบาล

“คนเดือนตุลาฯ”ที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุด คือ “นายภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้จัดการรัฐบาล เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ชื่อเล่น “อ้วน” ประวัติการทำงานการเมืองโชกโชน เคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ เป็นสายตรง “ทักษิณ ชินวัตร” ตัวจริง เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านสมัย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลทักษิณ และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย

“นายภูมิธรรม” สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค

“หมอมิ้ง” นายกฯน้อยกุนซือคุมทิศทางรัฐบาล

“หมอมิ้ง” หรือ “นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช” คีย์แมนคนสำคัญรัฐบาลตำแหน่งเลขาธิการนายกฯ “ครม.เศรษฐา1” เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้เป็นเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล โดยมีประธานพรรคคนแรกคือ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นพ.พรหมินทร์ ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า “สหายจรัส”

นพ.พรหมินทร์ ได้เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร ตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ และถือเป็นคนอยู่เบื้องหลังแคมเปญการรณรงค์ทางการเมืองให้กับ นายทักษิณ ชินวัตร จนได้รับความนิยมจากคนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก

“นพ.สุรพงษ์” เจ้าไอเดียมือปั้นซอฟต์พาวเวอร์

“นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ.2500 เป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า “หมอเลี้ยบ” ปัจจุบันเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และเคยดำรงตำแหน่งต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการและอุปนายกสภา มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ , ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข , คอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท , อดีตรองนายกรัฐมนตรี , อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน และหนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุลา

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ถูกปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2548 และ ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉันตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

จับตา “จาตุรนต์” ผงาดเก้าอี้สำคัญในรัฐบาล

“จาตุรนต์ ฉายแสง” ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนชั้นปีที่ 4 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้ไปใช้ชีวิตในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า “สหายสุภาพ” สำหรับบทบาททางการเมือง “นายจาตุรนต์” ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

หลังรัฐประหารในปี 2557 ถูกทหารควบคุมตัวและถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้าย ก่อนได้รับการปล่อยตัว ในเวลาต่อมา และ ในการเลือกตั้งปี 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 2 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง และ ปี 2564 จาตุรนต์พร้อมกับ เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ร่วมกันจัดตั้งพรรค พรรคเส้นทางใหม่โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ก่อนจะกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยในปีเดียวกัน และในการเลือกตั้งปี 2566 ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. พรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน

#ทักษิณ #พรรคไทยรักไทย #บ้านจันทร์ส่องหล้า #รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน #ภูมิธรรม เวชยชัย #พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช #สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี #จาตุรนต์ ฉายแสง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ชี้เจรจา MOU 44 ถามคนไทยหรือยัง เอาพลังงานหรืออธิปไตย
สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น