(22 กุมภาพันธ์ 2567) นายทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงถึงนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาทว่า ส่วนตัวมองว่า นโยบายเริ่มแรกของโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นนโยบายหาเสียง พอได้เป็นรัฐบาล นโยบายดังกล่าวจึงได้นำเข้าไปแถลงที่รัฐสภา ในเชิงรัฐศาสตร์เรียกว่า นโยบายสาธารณะ ที่ทุกคนรับทราบว่าต้องทำให้เกิดขึ้น / ในเชิงการเมือง เมื่อรับปากประชาชนแล้วก็ต้องทำ แน่นอนว่า การทุ่มเงินกว่า 5 แสนล้านบาทไป ให้กับประชาชนจำนวน 50 ล้านคน จะส่งผลต่อดีเศรษฐกิจอย่างแน่นอน แต่ต้องย้อนกลับได้ดูว่า กรอบที่กฎหมายตั้งไว้จะทำได้จริงหรือไม่ และจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด หากทำได้จริงผ่านกฎหมายข้อบังคับต่างๆ จะคุ้มค่าหรือไม่ แล้วกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ตั้งมาตอบโจทย์กับประชาชนหรือไม่
ในฐานะที่เป็นประธานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เห็นด้วยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จะกระตุ้นได้มากน้อยขนาดไหน ส่วนตัวยังมีความกังวลว่า เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเติมเงินด้วยวิธีไหน เติมเงินแล้วผู้ใช้เงินมีข้อจำกัดอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีแอพพลิเคชั่นต่างๆเข้ามา ทั้ง เป๋าตังค์ และ สวัสดิการแห่งรัฐ แต่มีประชาชนบางส่วนยังประสบปัญหาการใช้งานอยู่ และจะมีมาตรการป้องกันมิจฉาชีพ หลอกดูดเงินของประชาชนได้อย่างไร รวมทั้งการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ จะทำยังไรให้มีความโปร่งใสมากที่ สุดรัฐบาลต้องมีคำตอบ
ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ยังกล่าวอีกว่า จะทำอย่างไรให้มีความโปร่งใสมากที่สุด รัฐบาลต้องมีคำตอบ เช่น นโยบายลดรายจ่ายที่เคยทำมาแล้ว คือ ลดค่าไฟ ลดค่าแก๊ส และเรื่องการขนส่งสาธารณะ โดยใช้งบ 10,000 บาทที่จะให้ประชาชน ส่วนการเพิ่มรายได้นั้น จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง ซึ่งน่าจะดีกว่านโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีข้อจัดกัดในการใช้งานมาก เพราะกังวลว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านดี จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ ส่วนผลกระทบด้านลบ อาจจะไม่เข้าถึงผู้ที่ได้ประโยชน์ มากและผลประโยชน์น้อยกับผู้ประกอบการบางกลุ่มเท่าที่ควร