ในบรรดาอาจารย์นิติศาสตร์ขวัญใจมหาชนชาว “ด้อมส้ม” อันดับต้น ๆ ต้องยกนิ้วให้ “ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เพิ่งตกกระป๋องชวดเก้าอี้ “อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ไปหมาดๆ เนื่องจากระบบเลือก”อธิการบดี” จะมีคณะกรรมการสรรหาและให้ 51 หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเป็นผู้โหวตเลือก ซึ่งได้เลือก”ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์” ชนะขาดลอย เหมือนข่าวช็อกโลกทำให้ “องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ฝันสลายเพราะก่อนหน้านี้ อุสาห์ช่วยเข็นจัดโหวต “ผศ.ดร.ปริญญา” ชนะแลนด์สไลด์
ในสาย “ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ” หรือ “ดร.นิว” เห็นว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในขบวนการ 3 นิ้ว โคตรโชดดีมากๆ ที่ไม่ได้ อาจารย์ไอดอลขบวนการ 3 นิ้วมากุมบังเหียนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยระบุข้อความไว้ว่า “โชคดีของประชาคมธรรมศาสตร์ที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดีในอันดับท้ายสุด มิฉะนั้นไม่รู้ว่าธรรมศาสตร์จะไปทางไหน เพราะนายปริญญาปล่อยให้ม็อบสามนิ้วใช้ธรรมศาสตร์ปราศรัยล้มล้างการปกครอง ใช้วิชา TU100 ต่อท่อกับพรรคก้าวไกล ดังนั้นให้ปริญญาจบที่รุ่นเรา ก็ดีแล้ว”
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ “ดร.นิว” เคยเขียนถึง “ผศ.ดร.ปริญญา”ด้วยว่า “ธรรมศาสตร์ไม่ได้ล้มเจ้าทุกคน แต่ทำไมบางคนสาละวนกับเครือข่ายล้มล้างการปกครอง?” ผมเรียนธรรมศาสตร์รหัส 53 รู้จักนายปริญญาผ่าน TU100 วิชาภาคบังคับว่าด้วยหน้าที่พลเมือง เมื่อก่อนรู้สึกนิยมชมชอบนายปริญญาเพราะภาพลักษณ์ดีมีหลักการ แต่ก็แอบสงสัยทำไมรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาในขณะนั้นอย่างนายปริญญาถึงไม่ปกป้องนักศึกษาจากการบิดเบือนล้างสมองของเครือข่ายอาจารย์ล้มเจ้า ส่วนปัจจุบันผมหมดศรัทธาและเลิกนับถือคนอย่างนายปริญญามาหลายปีแล้ว เพราะสุดท้ายนายปริญญาก็เป็นเพียงแค่อีแอบ อีกทั้งปัจจุบันยังเปิดหน้าออกสื่ออย่างไม่เหนียมอาย ออกหน้าอวยม็อบสามนิ้วกับพรรคก้าวไกลมาโดยตลอด แถมยังใช้วิชา TU100 เป็นประตูเชื้อเชิญพรรคก้าวไกลเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอีกด้วย จึงน่าสงสัยว่านายปริญญากำลังทำตัวเป็นหัวคะแนนของพรรคก้าวไกลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์หรือเปล่า? ตลอดหลายปีที่ผ่านมาวิชา TU100 เป็นเครื่องมือของนายปริญญาในการเข้าถึงนักศีกษาธรรมศาสตร์ทุกคน โดยใช้เพื่อสร้างความนิยมในภาพลักษณ์ที่ตนเองได้สร้างขึ้น ตลอดจนชี้นำทางความคิดต่างๆ หรือไม่?
มันช่างบังเอิญเสียเหลือเกิน ม็อบสามนิ้วล้มล้างการปกครองเกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตในปี 63 ซึ่งขณะนั้นนายปริญญาเป็นรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต แล้วต่อมาพรรคการเมืองที่นายปริญญาอวยสุดลิ่มทิ่มประตูและเชิญมาในวิชา TU100 ก็เข้าข่ายล้มล้างการปกครองทั้งในแง่ของเจตนาและพฤติการณ์
น่าแปลกใจที่นายปริญญาสาละวนกับเครือข่ายล้มล้างการปกครองทั้งสองกรณี กรณีแรกนายปริญญาก็ไม่ใช่คนโง่ที่จะรู้ไม่ทันม็อบสามนิ้ว แต่ก็ปล่อยให้การทำผิดเกิดขึ้นในรั้วธรรมศาสตร์อย่างโจ่งครึ่ม ทำได้แค่ออกมาขอโทษสังคมเท่านั้น กรณีที่สองเปิดหน้าเชียร์พรรคก้าวไกลและใช้ TU100 เป็นประตูให้เข้ามาในรั้วธรรมศาสตร์
นายปริญญากล้าปฏิเสธหรือไม่ว่าซอกหลืบของรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นและแหล่งเพาะเชื้อล้มเจ้าทั้งในแง่ของชุดความคิดและบุคคล ก่อนที่จะเติบโตขึ้นผ่านการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอาวุธ (Weaponization of Social Media) ชี้นำทางความคิดสร้างแนวร่วมจนกระทั่งกลายเป็นเครือข่ายล้มล้างการปกครองในปัจจุบัน?
ไม่ว่านายปริญญาจะจงใจให้ม็อบสามนิ้วปราศรัยล้มล้างการปกครองในศูนย์รังสิตหรือไม่และเกี่ยวข้องพรรคก้าวไกลอย่างไร? ท้ายที่สุดผมขอเรียกร้องความเป็นธรรมให้สังคมได้รับรู้ว่าธรรมศาสตร์ไม่ได้ล้มเจ้าทุกคน ยังมีคนธรรมศาสตร์อีกมากมายที่รักและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย
ล่าสุดอาจารย์ไอดอล “ด้อมส้ม” ไม่ถอดใจประกาศไปต่อ โดย “ผศ.ดร.ปริญญา” ระบุข้อความประกาศนโยบายสวยหรู 4 เรื่อง ดังนี้ 1. ในเรื่องการเปลี่ยนทิศทางของธรรมศาสตร์นั้น ดังที่ผมกล่าวไปในการสนทนาประชาคมกับหลายคณะว่า ผมเสนอตัวเพื่อให้ท่านรองอธิการบดีทั้งสองท่านที่เสนอตัวมาก่อนผม ได้มาแข่งขันกับผมในเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน และนโยบายที่สำคัญอื่นๆ เช่น การเป็นผู้บริหารที่ไม่ใช่เจ้านาย หรือบริหารแบบท็อปดาวน์หรือจากบนลงล่าง ซึ่งผมเข้าใจว่าในเรื่องนี้ได้ผลพอสมควร
2. เรื่องสร้างนโยบายสาธารณะของธรรมศาสตร์ จากการสนทนาประชาคมด้วยคำถามว่า “อะไรคือการปฏิบัติที่เป็นเลิศของคณะหรือหน่วยงานของท่าน“ ทำให้ผมได้ข้อมูลของคณะทุกคณะครบถ้วน 28 คณะ และหน่วยงานอีก 15 หน่วยงาน ในการทำ “แผนที่ความเป็นเลิศ“ เพื่อใช้ในการทลายไซโล หรือระบบต่างคนต่างอยู่ของคณะ ซึ่งจะทำให้ธรรมศาสตร์กลับสู่ความเป็นเลิศ มีความดึงดูดใจ และรับมือได้กับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ผมจะได้นำเสนอต่อประชาคมธรรมศาสตร์ต่อไปครับ
3. สำหรับเรื่องระบบการเสนอชื่อ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านไปนั้น ในฐานะอาจารย์ที่ไม่ใช่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย แม้จะเคยเป็นรองอธิการบดีแต่ก็ไม่ได้เป็นมา 3 ปีแล้ว ผมได้พบปัญหาในเรื่องวิธีการเสนอชื่ออธิการบดี ที่ใช้วิธีการให้เสนอเป็นคณะและหน่วยงาน โดยประกอบด้วย 52 คณะและหน่วยงาน กับหนึ่งองค์การนักศึกษา ซึ่งแตกต่างไปจากการเสนอชื่ออธิการบดีในอดีตที่แบ่งเป็น 3 สายคือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ระบบที่ใช้ขณะนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องความเสมอภาค และลดทอนโอกาสของผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการได้รับการเสนอชื่อเนื่องจากยากจะเข้าถึงหน่วยงานได้ทั้งหมด ผมเห็นว่าเห็นว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะผู้นำในเรื่องความเป็นธรรม และประชาธิปไตย ควรจะต้องแก้ไขวิธีการได้มาซึ่งอธิการบดีในการสรรหาครั้งต่อๆ ไป ซึ่งผมจะได้เขียนเป็นบทความต่างหากนำเสนอต่อประชาคมธรรมศาสตร์ต่อไปครับ
และ 4. สำหรับผมเองนั้น เมื่อคณะกรรมการสรรหาประกาศวันเสนอชื่ออธิการบดีในวันที่ 21 มกราคม 2567 หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ผมจึงได้เสนอตัวต่อประชาคมธรรมศาสตร์ โดยไม่ได้ใช้ระบบหัวคะแนนเลยแม้แต่น้อย ซึ่งแม้ว่าระยะเวลาเพียง 24 วันจะไม่สามารถทำให้มีผู้เสนอชื่อผมมากกว่าท่านรองอธิการบดีทั้งสองท่านได้ แต่การที่ผมได้รับการเสนอชื่อจากทุกคณะ ทำให้เห็นว่าการนำเสนอนโยบายและวิธีการทำงานก็สามารถได้รับความสนับสนุนจากชาวธรรมศาสตร์ได้แม้จะไม่ได้เป็นผู้บริหาร
5. สำหรับผลการเสนอชื่อนั้น ผมเคารพการตัดสินใจของประชาคมธรรมศาสตร์ทุกประการ โดยเมื่อได้รับทราบผลเป็นทางการจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ผมจะได้ประกาศให้ประชาคมธรรมศาสตร์ได้ทราบว่าผมจะตัดสินใจหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป ภายใต้การคำนึงถึงเสียงของนักศึกษาที่เสนอผมเพียงชื่อเดียวไม่ให้สูญเปล่า รวมถึงความรับผิดชอบต่อความคิดเห็นและข้อมูลที่ได้มาจากการไปสนทนาประชาคมกับทุกคณะและหน่วยงานด้วย ทั้งนี้ ตามที่ผมได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า เป้าหมายของผมที่เสนอตัวคือเพื่อเปลี่ยนแปลงและสร้างนโยบายสาธารณะให้ธรรมศาสตร์ การเป็นอธิการบดีเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่ามาก