“อาการโควิด” JN.1 เปิดความลับ เด็กต้านไวรัส ผวาวัคซีน mRNA ?

อาการโควิด JN.1 เปิดความลับ เด็กต้านไวรัส ผวาวัคซีน mRNA ?

อัปเดต "อาการโควิด" สายพันธุ์ JN.1 ผวา วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

TOP News เกาะติดสถานการณ์ “อาการโควิด” สายพันธุ์ JN.1 ที่อาจกลายเป็นสายพันธุ์หลักในระดับประเทศ ขณะที่ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงดราม่า วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

ข่าวที่น่าสนใจ

อัปเดต อาการโควิด สายพันธุ์ JN.1 ผวา วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์สายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ โควิด-19 ว่า ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก ยังคงให้ความสำคัญกับการติดตามสายพันธุ์โอมิครอน จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่

  • สายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI) 5 สายพันธุ์ ได้แก่ XBB.1.5*, XBB.1.16*, EG.5*, BA.2.86* และ JN.1*
  • ส่วนสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง หรือ Variants under monitoring (VUM) จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ DV.7*, XBB*, XBB.1.9.1*, XBB.1.9.2* และ XBB.2.3*

ทั้งนี้ สถานการณ์ภาพรวมทั่วโลกจากฐานข้อมูลกลาง GISAID รอบสัปดาห์ที่ 52 (วันที่ 25 ธันวาคม ถึง 31 ธันวาคม 2566) สายพันธุ์ในกลุ่ม VOI ที่พบมากที่สุด ได้แก่ JN.1* ในสัดส่วน 65.5% ถัดมาคือ EG.5* 16.6% โดย EG.5* มีอัตราการพบที่ค่อย ๆ ลดลง แต่ในขณะที่ JN.1* มีอัตราการพบที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 28 วัน และจากความได้เปรียบในการเติบโตและคุณลักษณะหลบภูมิคุ้มกัน จึงมีความเป็นไปได้ว่า JN.1* จะเพิ่มมากขึ้นและจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในระดับประเทศหรือทั่วโลก

ในขณะที่สายพันธุ์ในกลุ่ม VUM ที่พบมากที่สุด ได้แก่ XBB.1.9.1* ในสัดส่วน 1.8% และ DV.7* ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์บนส่วนหนามสองตำแหน่งติดกัน คือ L455F และ F456L มีอัตราการพบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจากฐานข้อมูลกลาง GISAID มีรายงานการพบสายพันธุ์ DV.7* ทั่วโลกจำนวน 5,275 ราย โดยปัจจุบันยังไม่พบมีรายงานการเพิ่มความรุนแรงของโรค

อาการโควิด JN.1 เป็นอย่างไร

โควิด JN.1 อาการไม่รุนแรงมากนัก และ โควิด JN.1 อาการ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากสายพันธุ์เดิมแต่อย่างใด โดย โควิด JN.1 อาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคหวัด นั่นก็คือ

  • การมีไข้อ่อน ๆ
  • การเจ็บคอ
  • คัดจมูก
  • มีน้ำมูก
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสับสนได้ว่า โควิด JN.1 อาการที่เป็นนั้น เป็นเพียงแค่โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรงแต่อย่างใด บางคนจึงยังคงใช้ชีวิตตามปกติ หรือก็คือ การเข้าสังคมตามเป็นปกติ ส่วนนี้จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง และอีกส่วนหนึ่งที่โควิดสายพันธุ์ JN.1 นั้นแตกต่างจากโควิดในสายพันธุ์ทั่วไปก็คือ มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่ง่ายและเร็วขึ้นมากขึ้นนั่นเอง

อัปเดต อาการโควิด สายพันธุ์ JN.1 ผวา วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว?

จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็น ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และระบุว่า สามารถพบสิ่งแปลกปลอมนี้ได้ในผู้ที่ยังมีชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในวงกว้าง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นกังวลดังกล่าว จึงได้ประสานไปยังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อมูล ดังนี้

รูปสิ่งแปลกปลอมที่อ้างถึงไม่ใช่ความผิดปกติของเลือดที่เกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA แต่อย่างใด เป็นเพียงการตกตะกอนของโปรตีนส่วนประกอบของเลือดที่เกิดขึ้นภายหลังการตาย (ลิ่มเลือดภายหลังการตาย, postmortem blood clot) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่พบได้เป็นปกติในผู้เสียชีวิต และพบมาตั้งแต่ก่อนมีการระบาดหรือมีการใช้วัคซีนโควิด-19

โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก เมื่อมีการเสียชีวิต ระบบหมุนเวียนของเลือดรวมทั้งระบบอื่น ๆ ในร่างกายจะหยุดทำงาน จากนั้นเม็ดเลือดแดงจะมีการตกตะกอนตามแรงโน้มถ่วงของโลกไปก่อนแยกออกมาจากน้ำเลือด (Plasma) ซึ่งในน้ำเลือดยังมีโปรตีนที่ทำหน้าที่ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด (Fibrinogen) คงเหลืออยู่และเกิดการแข็งตัวขึ้นตามธรรมชาติ เป็นโปรตีนเส้นใย (Fibrin clot) ทำให้เกิดเป็นลิ่มโปรตีนสีขาวลักษณะดังกล่าว

สำหรับข้อมูลที่ระบุว่า สามารถพบ White clot นี้ ในเลือดของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยนั้น สามารถอธิบายด้วยหลักการทางโลหิตวิทยา เรื่องกระบวนการแข็งตัวของเลือดได้เช่นกัน โดยสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อมีการเจาะเลือดออกมานอกร่างกาย หากไม่มีการเติมสารกันเลือดแข็ง (Anticoagulants) และตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เลือดจะมีการแข็งตัวแยกชั้นออกมาเป็นชั้นลิ่มเลือด (Thrombus หรือ Clot blood) และชั้นน้ำเหลือง (Serum) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม หากนำเลือดที่ไม่ได้เติมสารกันเลือดแข็งมาปั่นแยกด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ความเร็วสูง (Centrifuge) แยกส่วนประกอบของเลือดในขณะที่การแข็งตัวของเลือดยังเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ (Partial clot) จะสามารถพบโปรตีนเส้นใยที่ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด (Fibrin clot) ที่มีความคล้ายกับ White Clot ข้างต้นได้ เป็นเหตุการณ์ที่พบเป็นปกติ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่อย่างใด

อัปเดต อาการโควิด สายพันธุ์ JN.1 ผวา วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มีที่ทำให้อาการโควิดน้อย?

ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เผยระบบภูมิคุ้มกันชนิด T cell (CD8+ T cell) ของเด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี ซึ่งทำให้อธิบายได้ว่า ทำไมเด็กทารกที่ติดโควิดจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก

ช่วงโควิดที่ผ่านมาหลายรอบจะเห็นงานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่า เด็กทารกที่ติดโควิดจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก เป็นข้อสังเกตที่ยังไม่มีคำอธิบายจากองค์ความรู้ทางระบบภูมิคุ้มกัน เพราะความเข้าใจแต่เดิมที่ว่า ระบบภูมิคุ้มกันของกลุ่มเด็กน้อยเป็นระบบที่ยังเจริญไม่เต็มที่ (immature) โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาติดเชื้อในร่างกาย โดยทั่วไป T cell จะทำงานได้เต็มที่จะต้องมีความจำจากการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้ เป็นระบบการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อการติดเชื้อซ้ำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง T cell ของเด็กน้อยยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้การตอบสนองจะช้า และไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เด็กน้อยไม่ป่วยจากโควิดไม่ได้จากทฤษฎีนี้

การศึกษาที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Immunology โดยทีมวิจัยจากหลายสถาบันในสหรัฐอเมริกา พบว่า ระบบภูมิคุ้มกันชนิด T cell (CD8+ T cell) ของเด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี โดยความแตกต่างอยู่ที่กลไกการกระตุ้น T cell ของเด็กน้อยที่ไม่จำเป็นต้องไปเจอกับโปรตีน หรือ แอนติเจนของเชื้อแบบจำเพาะเจาะจง เหมือนในผู้ใหญ่ กลไกการกระตุ้น T cell ในเด็กจะคล้าย ๆ กับกลไกที่พบในระบบตอบสนองแบบรวดเร็วหลังติดเชื้อแบบไม่จำเพาะเจาะจง (Innate immunity) ในผู้ใหญ่ นั่นหมายความว่า เมื่อเด็กน้อยเจอเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย T cell สามารถตอบสนองได้ทันทีแบบไม่จำเป็นต้องมีความจำมาก่อน แต่เป็นการตอบสนองแบบไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นไวรัส หรือ แบคทีเรียชนิดไหน คล้าย ๆ เป็นการตอบสนองแบบปูพรมสู้กับการติดเชื้อ

ทีมวิจัยอธิบายปรากฏการณ์กระตุ้น T cell ในเด็กเล็กนี้ว่า Bystander T cell activation โดยจะเกิดขึ้นผ่านการกระตุ้นของไซโตไคน์บางชนิด หลังโปรตีนบนผิว T cell ไปตรวจจับพบเชื้อโรค โดย T cell ของเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ จะตอบสนองต่อไซโตไคน์ที่แตกต่างกัน ดังภาพ หลังไซโตไคน์ (IL12, IL18) จับกับโปรตีนตัวรับบน T cell แล้ว ถ้าเป็นของเด็กเล็กโปรตีนชื่อว่า Bach2 จะถูกป้องกันไม่ให้ไปยับยั้งการทำงานของ โปรตีน AP-1 ซึ่งจะทำหน้าที่ไปกระตุ้น T cell ให้ทำหน้าที่จัดการกับเชื้อโรค ตรงกันข้ามกับ T cell ของผู้ใหญ่ Bach2 ไม่ถูกยับยั้ง ทำให้ไปรบกวนการทำงานของ AP-1 ส่งผลให้ T cell ผู้ใหญ่ถูกกระตุ้นไม่ได้ด้วยกลไกนี้

งานวิจัยนี้ให้ข้อมูลที่ระบุว่า T cell ของเด็กน้อยอาจจะทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อปกป้องโฮสต์ได้ แต่เพียงใช้กลไกที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ที่เราเข้าใจกัน…งานวิจัยนี้เป็นอีกก้าวขององค์ความรู้ที่ช่วยอธิบายอะไรหลาย ๆ อย่างได้ครับ

อัปเดต อาการโควิด สายพันธุ์ JN.1 ผวา วัคซีนโควิด mRNA ก่อลิ่มเลือดขาว จริงหรือไม่ พร้อมเปิดความลับติดเชื้ออาการน้อย เด็กน้อยมีอะไรพิเศษที่ผู้ใหญ่ไม่มี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“จ่าเอ็ม” ไม่ยอมทำแผนยิง “ อดีตสส.กัมพูชา” ตร.เปิดกล้องนำภาพชี้จุดแทน
"ภูมิธรรม" ประกาศตั้ง KPI วัดผลประเมินเลื่อนยศ ปลดย้าย ทหาร-ตร.-ปกครอง แก้ปัญหายาเสพติด-แก๊งคอลฯ-ค้ามนุษย์
เมืองคอนระทึก คลื่นลมแรงกัดเซาะชายหาดบัวแก้ว ชาวบ้านหวั่นรีสอร์ตพังถล่มลงทะเล
"ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร" เปิดปฏิบัติลุยกวาดล้าง "ต่างด้าว" แย่งอาชีพคนไทย หลังพบลอบขายของในตลาดนัด
ครูสาวถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้เบอร์ธนาคารโทรหา สูญเงินกว่า 1.2 ล้าน
“พล.ต.ท.เรวัช” เตือนนักเคลื่อนไหวในไทย-ศัตรูเยอะ หวั่นเหตุซ้ำรอย “ลิม กิมยา”
บ้านที่รอดไฟป่าแอลเอเชื่อออกแบบตาม Passive House
“อ.คมสัน” ค้านแก้รธน.ทั้งฉบับ แนะสว.พันธุ์ใหม่ ศึกษาข้อมูลในอดีต หวั่นเข้าข่ายล้มล้างปกครอง ยันร่างฉบับใหม่ตอบโจทย์กว่า
"ภูมิธรรม" ลงพื้นที่เชียงราย วางศิลาฤกษ์ สร้าง "สะพานร่วมใจ 3 อำเภอ" ย้ำรัฐบาล เร่งแจก ดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจ
"ภูมิธรรม" ล่องเรือตรวจพื้นที่ ซีลชายแดนเชียงราย ป้องกันปราบปรามยาเสพติด-สิ่งผิดกฎหมาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น