ป.ป.ช. เผยหลักพิจารณาโทษ “44 สส.ก้าวไกล” ลงชื่อแก้ม.112 รอคำชี้แจงรายบุคคล Top News รายงาน
ข่าวที่น่าสนใจ
25 ก.พ.2567 นายนิวัฒน์ไชย เกษมมงคล เลขาธิการป.ป.ช. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคำร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมร้ายแรง 44 สส.พรรคก้าวไกล ว่า เมื่อมีการร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องมีการตั้งเรื่อง โดยไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรม ระบุว่าภายใน 30 วันจะออกคำวินิจฉัยฉบับเต็ม ที่ต้องเอามาประกอบ
ทั้งนี้การพิจารณาประกอบด้วย
การกระทำของพิธา อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล อยู่ในตำแหน่งอะไร ดำรงตำแหน่ง สส. กรรมการบริหารพรรค เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ถ้าเป็นหน้าที่กระทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนี้อาจจะเป็นเรื่องผิดทางอาญา ประเด็นแรก อยู่ในหน้าที่หรือไม่ ป.ป.ช.ที่ต้องดำเนินการ
แม้จะไม่ใช่ความผิดตำแหน่งหน้าที่ แต่การกระทำนั้นส่อให้เห็นถึงการผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงก็อยู่ในหน้าที่ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาวินิจฉัย แล้วก็ส่งคำร้องให้ทางศาลฎีกาไปตัดสิน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูตรงนี้ก่อน
เมื่อการตรวจสอบว่าเท็จจริง ก็ต้องฟังความทั้ง 2 ด้าน ในกรณีที่มีมูล ป.ป.ช. ต้องเชิญคุณพิธากับบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณา ซึ่งการพิจารณาก็ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล จะเหมารวมไม่ได้ ต้องดูการกระทำแต่ละท่าน ว่าใครมีบทบาทหน้าที่อย่างไรใครเกี่ยวข้องไม่เกี่ยวข้องบ้าง
นอกจากนี้ในกรณีพิจารณาเป็นรายบุคคลไม่เหมาเข่งความผิดนั้น เช่น ถ้าระบุว่า 44 คน มีการเข้าชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ก็ต้องซักถาม 44 คน อยู่ๆจะเหมารวมว่า 44 คน เมื่อลงชื่อผิด แบบนั้นไม่ได้ เพราะกระบวนการทำงาน ป.ป.ช. ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงทุกคน ยกอย่างเช่น ในจำนวน 44 คน เต็มใจลงชื่อให้แก้ไขหรือมีการบังคับขู่เข็ญ หรือแม้กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป.ป.ช. ก็ไม่เคยเหมารวม
ทั้งนี้มิฉะนั้น ทุกคนในครม. ก็โดนชี้มูลหมด ถ้าเสนอโครงการอะไรที่ทุจริต ก็ต้องดูว่าใครเสนอ และคนที่ลงมติเห็นชอบหรืออนุมัติ อนุญาต รู้เห็นอย่างไร บางครั้งเสนอมาไม่ทันดู เขาก็บอกว่าไม่รู้เหมือนกัน เพราะครม. มีมติปุ๊บ ก็ไปดูไม่ทันก็มี จึงต้องดูถึงเจตนาจริง ๆ
นอกจากนี้ในกรณีพิจารณาเป็นรายบุคคลไม่เหมาเข่งความผิดนั้น เช่น ถ้าระบุว่า 44 คน มีการเข้าชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ก็ต้องซักถาม 44 คน อยู่ๆจะเหมารวมว่า 44 คน เมื่อลงชื่อผิด แบบนั้นไม่ได้ เพราะกระบวนการทำงาน ป.ป.ช. ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงทุกคน ยกอย่างเช่น ในจำนวน 44 คน เต็มใจลงชื่อให้แก้ไขหรือมีการบังคับขู่เข็ญ หรือแม้กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป.ป.ช. ก็ไม่เคยเหมารวม
ทั้งนี้มิฉะนั้น ทุกคนในครม. ก็โดนชี้มูลหมด ถ้าเสนอโครงการอะไรที่ทุจริต ก็ต้องดูว่าใครเสนอ และคนที่ลงมติเห็นชอบหรืออนุมัติ อนุญาต รู้เห็นอย่างไร บางครั้งเสนอมาไม่ทันดู เขาก็บอกว่าไม่รู้เหมือนกัน เพราะ ครม. มีมติปุ๊บ ก็ไปดูไม่ทันก็มี จึงต้องดูถึงเจตนาจริง ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น