จากกรณี นายนิวัฒน์ไชย เกษมมงคล เลขาธิการป.ป.ช. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคำร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมร้ายแรง 44 สส.พรรคก้าวไกล ว่า เมื่อมีการร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องมีการตั้งเรื่อง โดยไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรม ระบุว่าภายใน 30 วันจะออกคำวินิจฉัยฉบับเต็ม ที่ต้องเอามาประกอบ
ทั้งนี้การพิจารณาประกอบด้วย
การกระทำของพิธา อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล อยู่ในตำแหน่งอะไร ดำรงตำแหน่ง สส. กรรมการบริหารพรรค เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ถ้าเป็นหน้าที่กระทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนี้อาจจะเป็นเรื่องผิดทางอาญา ประเด็นแรก อยู่ในหน้าที่หรือไม่ ป.ป.ช.ที่ต้องดำเนินการ
แม้จะไม่ใช่ความผิดตำแหน่งหน้าที่ แต่การกระทำนั้นส่อให้เห็นถึงการผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงก็อยู่ในหน้าที่ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาวินิจฉัย แล้วก็ส่งคำร้องให้ทางศาลฎีกาไปตัดสิน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูตรงนี้ก่อน
เมื่อการตรวจสอบว่าเท็จจริง ก็ต้องฟังความทั้ง 2 ด้าน ในกรณีที่มีมูล ป.ป.ช. ต้องเชิญคุณพิธากับบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณา ซึ่งการพิจารณาก็ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล จะเหมารวมไม่ได้ ต้องดูการกระทำแต่ละท่าน ว่าใครมีบทบาทหน้าที่อย่างไรใครเกี่ยวข้องไม่เกี่ยวข้องบ้าง
นอกจากนี้ในกรณีพิจารณาเป็นรายบุคคลไม่เหมาเข่งความผิดนั้น เช่น ถ้าระบุว่า 44 คน มีการเข้าชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ก็ต้องซักถาม 44 คน อยู่ๆจะเหมารวมว่า 44 คน เมื่อลงชื่อผิด แบบนั้นไม่ได้ เพราะกระบวนการทำงาน ป.ป.ช. ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงทุกคน ยกอย่างเช่น ในจำนวน 44 คน เต็มใจลงชื่อให้แก้ไขหรือมีการบังคับขู่เข็ญ หรือแม้กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป.ป.ช. ก็ไม่เคยเหมารวม