“พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา” เกาะกูดตัวแปรแบ่งเค้ก 10 ล้านล้าน

พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา เกาะกูดตัวแปรแบ่งเค้ก 10 ล้านล้าน

ย้อนรอย "พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา" จากอดีตทางบกสู่ปัจจุบันทางทะเล บทสรุปการเจรจา 5 รัฐบาล จับตาเดิมพันเกาะกูด? แบ่งขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

TOP News เกาะติด “พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา” จับตาเดิมพันเกาะกูด? แบ่งขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน พาย้อนรอยข้อพิพาทจากอดีตพื้นที่ทับซ้อนทางบกสู่ปัจจุบันพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล และสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดเป็นประเด็นโต้แย้งของทั้งสองประเทศ

ข่าวที่น่าสนใจ

ย้อนรอย พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา จากอดีตทางบกสู่ปัจจุบันทางทะเล บทสรุปการเจรจา 5 รัฐบาล จับตาเดิมพันเกาะกูด? แบ่งขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

ภาพ : thai.tourismthailand

“พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา” จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ไทยกับกัมพูชามีพรมแดนติดต่อกันยาวประมาณ 798 กม. ตลอดแนวเขตแดนของทั้งสองประเทศมีอาณาบริเวณทาบเกี่ยวกันเป็นพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งกินพื้นที่ทั้งทางบกและทางทะเลของทั้งสองประเทศ ซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดเป็นประเด็นโต้แย้งของทั้งสองประเทศในการอ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ได้แก่

  • การอ้างอิงแผนที่คนละฉบับ
  • การปักปันเขตแดนไทยยึดถือต้นไม้เป็นจุดอ้างอิง แต่ในปัจจุบันไม่สามารถตรวจพบตําแหน่งของต้นไม้ดังกล่าว ทําให้แนวเขตแดนคลาดเคลื่อน ไม่ได้รับการยอมรับ
  • หลักเขตแดนเดิมชํารุดสูญหายถูกเคลื่อนย้าย ไม่สามารถหาจุดปักปันเดิมได้
  • การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิศาสตร์ ทั้งจากการกระทําโดยธรรมชาติและจากการกระทําของมนุษย์
  • การรุกลํ้าดินแดนซึ่งกันและกันทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา
  • สนธิสัญญาที่มีความไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะรายละเอียดในสนธิสัญญาว่าอย่างหนึ่ง แต่แผนที่ประกอบสนธิสัญญาเป็นอีกอย่าง เช่นกรณี เขาพระวิหาร

“พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา” ที่สำคัญ โดยจําแนกเป็นประเภทได้ ดังนี้

พื้นที่ทับซ้อนทางบก ได้แก่

ปราสาทพระวิหาร

  • อยู่ในเขต อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่ศาลโลกพิพากษา เมื่อ 15 มิ.ย. 05 ให้ตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นอยู่ในเขตอํานาจอธิปไตยของกัมพูชา และกําลังเป็นชนวนปัญหาสําคัญระหว่างไทยกับกัมพูชา เนื่องจากคําตัดสินมิได้รวมถึงพื้นที่บริเวณรอบปราสาทฯ จากแผนที่ที่ทั้งไทยและกัมพูชายึดถือนั้นมีพื้นที่ทับซ้อนกันด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือของปราสาทฯ เนื้อที่ประมาณ 4.6 ตร.กม. ซึ่งกัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อองค์กร UNESCO ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 2 – 10 ก.ค. 51 เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว โดยผนวกพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 11 ตร.กม. รอบตัวปราสาทเป็นพื้นที่ใจกลาง (Core Zone) เมื่อ ม.ค. 49

พื้นที่ช่องตาพระยา/บึงตระกวน (หลักเขตแดนที่ 35)

  • กัมพูชาอ้างว่าเคยอยู่ในบริเวณบังเกอร์เก่าของกัมพูชาแต่ไม่มีหลักฐาน เนื่องจากหลักเขตดังกล่าวได้สูญหายไป ต่อมาเมื่อ 24 ธ.ค. 41 ไทยและกัมพูชาทําพิธีเปิดจุดผ่อนปรนตาพระยาบึงตระกวน เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศค้าขายกัน และสร้างอาคารที่ทําการสําหรับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง แต่กัมพูชาประท้วงโดยอ้างว่าเมื่อเล็งจากหลักเขตแดนที่ 34 ไปยังหลักเขตแดนที่ 35 และ 36 อาคารดังกล่าวสร้างลํ้าเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงถูกระงับการก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่เขาตาง็อก อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

  • จากการที่ไทยและกัมพูชาต่างยึดแผนที่คนละลําดับชุด ทําให้เกิดการทาบทับกันของแนวเขตแดน เมื่อตรวจสอบจากบันทึกการประชุมระหว่างคณะกรรมการฝรั่งเศส – สยามเพื่อการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับไทย ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) แล้วแนวเขตแดนดังกล่าวลากไปตามลํานํ้าคลองด่านจนถึงยอดโขดหินเขาตาง็อก ซึ่งบริเวณเชิงเขาเป็นต้นกําเนิดลํานํ้า แต่ปัจจุบันจุดต้นกําเนิดลํานํ้านั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามสภาพธรรมชาติและยังไม่สามารถตรวจสอบหาจุดที่แน่นอนได้จนกว่าจะมีการปักปันเขตแดนใหม่

พื้นที่เขาตะบานกะบาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี

  • พื้นที่สามเหลี่ยมที่เกิดจากทางนํ้าไหลสองเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตปลอดทหารตามข้อตกลงร่วมกัน

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ได้แก่

เกาะกูดตอนล่าง

  • การจัดทําหลักเขตแดนไทย – กัมพูชาทางบก ได้นํามาใช้กับการกําหนดเขตทางทะเลตามสนธิสัญญาฟรังโก-สยาม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ที่ให้เกาะกูดอยู่ในเขตแดนไทย แต่กัมพูชาถือว่าเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา คือ เส้นแนวเล็งจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านยอดสูงสุดของเกาะกูดตรงออกไปในทะเล ซึ่งกินพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area : JDA) ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่ และลํ้าเส้นเขตแดนของไทยเข้ามาด้วย จึงทําให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน

อ่าวไทยตอนกลางและตอนล่าง

  • ไทยและกัมพูชาเริ่มเจรจาแบ่งเขตไหล่ทวีป เมื่อ ธ.ค. 13 โดยที่ยังมิได้ข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ ต่อมาในปี 15 กัมพูชาได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย และในปี 16 ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยด้วยเช่นกัน ทําให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนกัน มีเนื้อที่ประมาณกว่า 26,000 ตร.กม. ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถเจรจาปักปันเขตแดนได้

ย้อนรอย พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา จากอดีตทางบกสู่ปัจจุบันทางทะเล บทสรุปการเจรจา 5 รัฐบาล จับตาเดิมพันเกาะกูด? แบ่งขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

จุดเริ่มต้นข้อพิพาท “พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา”

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2513 กัมพูชาได้ประกาศอ้างเขตพื้นที่ไหล่ทวีปไทยเป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2515 แต่เส้นเขตที่กัมพูชาประกาศนั้นถูกโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาเจนีวา 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 ไทยจึงไม่ยอมรับ พร้อมประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปไทยของตัวเองในปี 2516

ทั้งกัมพูชาและไทยต่างใช้หลักเขตแดนที่ 73 เป็นจุดตั้งต้นเช่นเดียวกัน แต่ลากเส้นไปคนละทิศ ของไทยนั้นแม้จะเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ก็ทำให้ไทยและกัมพูชาเกิดการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อนกันมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไม่เพียงแค่เกิดปัญหาว่า เกาะกูด อยู่ในเขตแดนของใคร แต่ยังเกิดปัญหาการอ้างสิทธิทับซ้อนกับมาเลเซียและเวียดนามด้วย

โดยไทยและกัมพูชาต่างฝ่ายต่างไปเดินหน้าเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนกับทางเวียดนามและมาเลเซีย จนในที่สุดก็สามารถหาข้อยุติได้ ส่งผลให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนที่ยังค้างคาอยู่เหลือเพียงไทยและกัมพูชา

ไร้บทสรุปการเจรจา

  • พ.ศ. 2544 ยุครัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร ทั้งสองประเทศได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “MOU 2544” รายละเอียดหลัก ๆ ระบุว่า “ไทยและกัมพูชาจะเจรจาแก้ไขปัญหาการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน 2 เรื่อง”
  1. การเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมซึ่งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน
  2. การเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงแบ่งเขตแดนสำหรับทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะในพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต โดยให้ถือเอาเส้นละติจูด 11 องศาเหนือเป็นเส้นแบ่ง
  • สมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประเด็นร้อนเรื่องเขตแดนเขาพระวิหารได้กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ยิ่งเมื่อ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ขณะนั้น แต่งตั้ง ทักษิณ ชินวัตร ให้เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ การเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา จึงมาถึงทางตัน รัฐบาลไทยตอบโต้กัมพูชาด้วยการประกาศบอกเลิก “MOU 2544” แต่เนื่องจากเป็นการบอกเลิกแบบไม่เป็นทางการ การบอกเลิกจึงไม่มีผลอะไร
  • สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามสานต่อความตั้งใจเดิมด้วยการยืนยันว่าจะดำเนินการตาม “MOU 2544” ต่อไป แต่ยังไม่ทันที่เรื่องจะคืบหน้าไปไหน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ถูก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจเสียก่อน
  • ช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้มีการนำประเด็นนี้มาปัดฝุ่นอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นการประชุมลับ ข้อมูลที่ทางรัฐบาลเปิดเผยต่อสื่อมีเพียงว่า กัมพูชาส่งสัญญาณพร้อมรื้อฟื้นการเจรจาพื้นที่ไหล่ทวีปที่ทับซ้อนกัน โดยจะไม่แตะเรื่องการแบ่งเขตพื้นที่ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จะเน้นแค่การเจรจาเพื่อนำทรัพยากรในทะเลมาแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน แต่สุดท้ายเรื่องก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรไปมากกว่านั้น
  • ล่าสุด ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเดินทางมาเยือนไทยของ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะมีการหยิบยกเรื่องการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย – กัมพูชา มาเป็นหัวข้อหนึ่งในการหารือกันด้วย

เกาะกูดของใคร?

กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปของตนเอง โดยอาศัยหลักเขตแดนทางบกหลักที่ 73 เป็นจุดตั้งต้น จากนั้นลากเส้นตรงไปทางตะวันตกค่อนลงไปทางใต้เล็กน้อยผ่าน เกาะกูด ถึงประมาณกลางอ่าวไทย แล้วหักลงใต้เกือบสุดอ่าวไทย แล้วหักขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือโอบล้อมเกาะภูกว๊อก แล้วไปบรรจบเส้นเขตแดนกัมพูชา – เวียดนาม

ประเด็นเรื่อง เกาะกูด จึงยังมีความคลุมเครืออยู่ ในเอกสารการประกาศไหล่ทวีป ปรากฏว่า มีการลากเส้นผ่านกลาง เกาะกูด เป็นการแสดงเจตนาอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือบางส่วนของเกาะกูด เจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชาเคยอ้างระหว่างการเจรจากับฝ่ายไทยเนือง ๆ ว่า เกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง แต่หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดตามแผนที่แนบท้ายแล้วจะพบว่า เส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้เว้นเกาะกูดเอาไว้ และในแผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจปี 2544 ได้มีการเว้นเส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตแดนทางทะเลในลักษณะที่เป็นตัว U เว้าอ้อมเกาะกูด ทำให้ฝ่ายไทยตีความว่า กัมพูชาไม่ได้อ้างอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด

ข้อโต้แย้งอีกประการหนึ่งของฝ่ายไทยคือ เกาะกูดนี้ถูกระบุเอาไว้ใน สนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส ปี 1907 ชัดเจนแล้วว่า อยู่ในเขตไทย เนื่องจากถ้อยคำในสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาใช้อ้างอิงในการกำหนดเขตทางทะเล ระบุว่า “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล”

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส ปี 1907 นั้น ให้ใช้เกาะกูดเป็นจุดเล็งเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ไม่ใช่สนธิสัญญาที่กำหนดเขตแดนทางทะเลแต่อย่างใด ฝ่ายไทยใช้ประโยชน์จากข้อความนี้เพื่ออ้างอิงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด ไม่ใช่การกำหนดเขตไหล่ทวีป

ประเทศไทยประกาศเขตไหล่ทวีปของตัวเอง หลังกัมพูชาเกือบ 1 ปี โดยอาศัยหลักเขตทางบกหลักที่ 73 เป็นจุดตั้งต้นเช่นกัน โดยลากเส้นจากจุดที่ 1 ที่ ละติจูด 11 องศา 39 ลิปดา เหนือ และ ลองติจูด ที่ 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ไปยังจุดที่สอง ละติจูด 9 องศา 48.5 ลิปดา เหนือ และ ลองติจูด ที่ 101 องศา 46.5 ลิปดาตะวันออก ถ้าพิจารณาตามภูมิประเทศแล้วจะพบว่า เส้นของไทยเริ่มจากบริเวณระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ลากเป็นเส้นตรงไปทางตะวันตกเฉียงใต้แล้วหักลงใต้ค่อนไปทางตะวันออกเล็กน้อยตามแนวเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามแล้วเฉียงใต้ไปบรรจบเส้นเขตแดนไทย – มาเลเซีย

ย้อนรอย พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา จากอดีตทางบกสู่ปัจจุบันทางทะเล บทสรุปการเจรจา 5 รัฐบาล จับตาเดิมพันเกาะกูด? แบ่งขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาเดิมพันเกาะกูด?

ล่าสุด วันนี้ (27 ก.พ.) ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการเจรจาแบ่งผลประโยชน์พื้นทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจบอย่างไร กระทรวงกลาโหมก็รักษาแนวเขตนั้นให้ โดยกระทรวงกลาโหมไม่ใช่ฝ่ายไปเจรจา

เมื่อถามว่า ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมก็อยู่ในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ด้วย นายสุทิน กล่าวว่า ในส่วนนั้นจะมีบางเรื่องที่เราคิดว่ามีเรื่องความมั่นคงเข้าไปด้วย อาจต้องรวมความคิดเห็นของกระทรวงกลาโหมด้วย ส่วนเรื่องเกาะกูดยังไม่มี

เมื่อถามว่า มั่นใจใช่หรือไม่ว่ากัมพูชาจะยกเกาะกูดให้ไทย และจะไม่นำเป็นประเด็นเข้ามาในการเจรจา นายสุทิน กล่าวว่า ตนเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่มีวาระซ้อนเร้น และน่าจะออกมาดี ทุกคนทำด้วยสุจริตใจ เพราะสังคมดูอยู่แล้ว

เมื่อถามย้ำว่า จะต้องคุยกับกัมพูชาอีกรอบหรือไม่ ว่าเขาจะไม่เอาพื้นที่เกาะกูดไปเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา นายสุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามทางกระทรวงการต่างประเทศ

แบ่งผลประโยชน์?

  • อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชานั้น อาจมีก๊าซธรรมชาติมากถึง 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นมูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมันอีก 500 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท บางแหล่งข้อมูลก็ประเมินว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่นี้ น่าจะมีมูลค่ามากถึง 10 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว ซึ่งหากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น