“หมอเหวง-ธิดา” โผล่เชียร์แก้ ม.112-116 ล้มศาลรธน. ปฏิรูปกองทัพ

“หมอเหวง-ธิดา” สองผัวเมีย 3 นิ้วตกรุ่น เหิมหนัก จี้รัฐบาล-ฝ่ายค้าน ช่วยกันเข็นแก้กฎหมาย ม.112-116 ล้มศาลรธน. ยกเลิกสภาสูง พ่วงปฏิรูปกองทัพ

“หมอเหวง-ธิดา” โผล่เชียร์แก้ ม.112-116 ล้มศาลรธน. ปฏิรูปกองทัพ
Top News รายงาน

 

ม.112

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หายหน้าหายตาไปนาน สำหรับสองสามีภรรยา 3 นิ้วรุ่นดึกดำบรรพ์ อย่าง นพ.เหวง โตจิราการ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช. ล่าสุด ได้ออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว อ่านจดหมายเปิดผนึก ที่พากันร่างขึ้นมา เนื้อหาสาระนี่อ่านแล้วก็แทบไม่น่าเชื่อว่า อายุอานามขนาดนี้แล้ว แต่แนวคิดก็ไม่ได้ไปในทางที่ดีงามขึ้นเลยแม้แต่น้อย

โดยบางช่วงบางตอนของจดหมายระบุว่า ในนาม คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 (คปช.53) ถึงพรรคการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง (14 พ.ค. 2566) ในฐานะสมาชิกรัฐสภาและรัฐบาล ผลการเลือกตั้ง 2566 ได้เปิดเผยถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ให้เป็นสังคมแบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้า และเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสากล โดยประชาชนกว่า 25 ล้านคน จาก 39 ล้านคน ที่มาออกเสียงเลือกตั้ง แม้ในที่สุดเราจะได้รัฐบาลผสม ที่มีทั้งขั้วเสรีนิยมเดิม ร่วมกับขั้วอนุรักษ์นิยม ที่เป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจจากการทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม คณะประชาชนผู้ต้องการความยุติธรรม ที่ผ่านการต่อสู้ครั้งสำคัญในปี 53 จนถึงเวลาปัจจุบัน ประสงค์ให้หน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ที่ก้าวหน้าของประชาชน ได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง จากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล

จึงใคร่ทวงถามข้อเรียกร้องเดิม ที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านเวลานั้น ก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 66 ได้รับเรื่อง และให้คำมั่นไว้ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 66 ที่รัฐสภาและวันที่ 10 เมษายน 66 ในงานรำลึก 13ปี เมษา-พฤษภา 53 ในข้อเสนอต่อพรรคการเมืองฝ่ายค้านเวลานั้น เรามีข้อเสนอ 8 ข้อ เป็นข้อเสนอกรณีความยุติธรรมปี 53 มี 3 ข้อเรียกร้องที่เรายังขอยืนยัน คือ

 

1. ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และตัวแทนฝ่ายผู้สูญเสีย, นักวิชาการ, นักสิทธิมนุษยชน, นักกฎหมาย เพื่อตรวจสอบคดีความกรณีปี 53 ที่ถูกแช่แข็ง บิดเบือน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐไทย ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม รวมทั้งคดีความที่ปฏิบัติต่อเยาวชน/ประชาชน หลังปี 63 เป็นต้นมา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่ได้ลงนามหลักสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ เร่งรัดคดีความที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชน และยังค้างคาอยู่ที่หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ , กระทรวงยุติธรรม, และอัยการ

 

2. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระธรรมนูญศาลทหาร, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีที่ทหารและนักการเมือง ทำความผิดทางอาญาต่อประชาชน ให้ขึ้นศาลพลเรือน ไม่ใช่ทหารขึ้นศาลทหาร นักการเมืองขึ้นศาลนักการเมือง ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทำให้ทหารและนักการเมือง ไม่ได้ถูกดำเนินคดีเฉกเช่นประชาชนทั่วไป

 

3. ขอให้ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะกรณีเหตุการณ์ 53 ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แต่ประการใด เพื่อให้เป็นไปตามที่อัยการศาล ICC ได้มาแจ้งไว้กับรัฐบาลเพื่อไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 55

 

ส่วนข้อเสนออื่นๆ อีก 5 ข้อ จะเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจแท้จริง และการทวงความยุติธรรมให้คนรุ่นใหม่ ในสถานการณ์จากปี 63 เป็นต้นมา ไปจนถึงสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทย

1. ดำเนินการเพื่อแก้ไขให้ได้รัฐธรรมนูญของประชาชน ให้ได้ระบอบประชาธิปไตยแท้จริง โดยการใช้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ตามสัดส่วนประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค โดยคำนึงถึงสนธิสัญญา ตามหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ สังคม ที่ได้ลงนามไว้ในสหประชาชาติ รวมทั้งสนธิสัญญากรุงโรมที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ก็ควรให้สัตยาบันในอนาคต หลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว

2. แก้ไขกฎหมายอื่น อันเป็นผลพวงการทำรัฐประหาร รวมทั้ง พ.ร.บ.องค์กรรัฐซ้อนรัฐ กอ.รมน. กฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 ที่กลายเป็นเครื่องมือจัดการผู้เห็นต่างทางการเมือง

3. ดำเนินการเพื่อปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกองทัพ และองค์กรอิสระอย่างจริงจัง เพราะ 3 แหล่งนี้ เป็นกระบวนการกลุ่มอภิชน ที่ยึดครองประเทศไทย ยึดอำนาจจากประชาชน ไม่ยึดโยงกับประชาชน อำนาจกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นถึงปลาย อำนาจองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ล้วนต้องยึดโยงกับประชาชน รวมทั้งกองทัพ โครงสร้างการบริหารขององค์กรเหล่านี้ ต้องให้อำนาจประชาชนควบคุมได้ ไม่ใช่สมคบกันจัดการประชาชน ผู้เห็นต่างทางการเมือง

4. กระจายอำนาจบริหาร จากส่วนกลางไปยังภูมิภาค แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ เจ้าขุนมูลนาย และการคอรัปชั่นส่งนายใหญ่ตามลำดับ ให้ผู้บริหารผ่านการเลือกตั้งของประชาชน และถูกตรวจสอบได้ง่าย

5. ให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด หรือมาจากประชาชนโดยอ้อม ผ่านการคัดสรรตามโควต้า สส.ในรัฐสภา ของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งทั่วไป หรือมิฉะนั้น ก็ไม่ต้องมีวุฒิสมาชิกเลย เพราะตราบเท่าที่องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง วุฒิสมาชิก ถูกแต่งตั้งจากรัฐทหารจารีต อำนาจประชาชนก็ถูกจัดการทำลาย ยุบพรรคการเมืองโดยง่าย จับกุมคุมขัง ลงโทษประชาชนผู้เห็นต่าง เหมือนเช่นทุกวันนี้

 

อนึ่ง ใน 8 ข้อนี้ จะยึดโยงกับการได้รัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน ซึ่งจะต้องได้มาจากประชาชนใช้อำนาจโดยตรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น