"แพ้อาหาร" คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้
ข่าวที่น่าสนใจ
ภาพ : Jeffrey Piccolo/Facebook
Drama-addict ระบุ เหตุเกิดที่อเมริกา แพทย์หญิงท่านหนึ่ง (เข้าใจว่าเป็น ชาวอเมริกาเชื้อสายไทย) ไปกินอาหารกับสามีที่ร้านอาหารของดิสนีย์เวิลด์ ในฟลอริดา แพทย์หญิงท่านนี้ “แพ้อาหาร” จำพวกถั่วและผลิตภัณฑ์จากนม ตอนสั่งอาหาร ทั้งสองคนกำชับทางร้านอาหารว่าแพ้สองอย่างนี้ ตอนทำอาหารมาเสิร์ฟขอให้ไม่มีอาหารที่แพ้เป็นส่วนประกอบ ทางร้านอาหารยืนยันว่า สามารถทำอาหารที่ไม่แพ้ให้ทานได้ หลังรับประทานอาหารได้ไม่นาน แพทย์หญิงเริ่มมีอาการไม่สู้ดี เธอรู้ตัวว่ากำลังเกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง จึงหยิบเข็มฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยฉีดเข้าร่างกาย แต่อาการไม่ดีขึ้น สุดท้ายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ผลชันสูตรพบว่า เสียชีวิตจากการแพ้อาหาร โดยพบโปรตีนจากถั่วและนมในร่างกายของเธอ ต่อมาสามีได้ยื่นฟ้องทางดิสนีย์เวิลด์ให้ชดเชยความสูญเสียของครอบครัวเขา เรื่องแพ้ อาหารเป็นอะไรที่น่ากลัวมากจริง ๆ
ภาพ : Vajiradhammapadip Temple Ltd./Facebook
การแพ้อาหารคืออะไร?
การแพ้ อาหารเป็นกลไกของระบบภูมิต้านทาน อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ หลังจากได้รับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ร่างกายได้มีการสร้างภูมิต้านทานชนิด อี (Immunoglobulin E: IgE) ออกมา และจะแสดงอาการเมื่อมีการรับประทานอาหารชนิดนั้นเข้าไปอีกครั้ง โดยอาหารนั้นจะไปกระตุ้น IgE ทำให้มีการหลั่งสารเคมีอย่างสารฮีสตามีน ที่ทำให้เกิดอาการแพ้แสดงออกมาในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความสามารถในการสร้าง IgE นั้น อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
- สาเหตุจากพันธุกรรม
- ปัจจัยทางสรีระและสุขภาพตอนที่รับประทานอาหารชนิดนั้น (ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว มีโอกาสแพ้ อาหารได้มากกว่าคนทั่วไป)
นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากการออกกำลังกายหลังจากเพิ่งรับประทานอาหาร สาเหตุนี้ยังไม่ทราบกลไกของการแพ้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า เป็นเพราะร่างกายถูกกระตุ้นมากขึ้นจากการออกกำลังกาย ทำให้มีการหลั่งสารฮีสตามีนออกมา ก็จะเริ่มมีอาการคัน รู้สึกเบาศีรษะ หรือหอบ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรเว้นระยะระหว่างการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ลักษณะอาการแพ้ อาหาร
- อาการเฉียบพลัน : จะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารนั้นไป 2 – 3 นาที ถึง 1 ชั่วโมง อาหารส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน คือ อาหารทะเล หลังรับประทานไปแล้วก็อาจจะเกิดการคันคอ ปาก จมูก และตา ปากบวม หนังตาบวม ลมพิษพุพอง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หมดสติ เป็นต้น เมื่อพบผู้เกิดอาการเช่นนี้ให้นำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
- อาการที่เกิดอย่างช้า ๆ : จะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารนั้นเข้าไปนานกว่า 1 – 24 ชั่วโมง อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างช้า ๆ ได้แก่ ไข่ นม ข้าวสาลี เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ลมพิษพุพอง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ เป็นต้น
แพ้อาหารทะเล?
- แพ้ อาหารทะเล คือ ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในสัตว์น้ำทะเล และสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ สัตว์น้ำมีเปลือกทั้งหลาย เช่น กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ เช่น หมึกยักษ์ หมึกกล้วย ซึ่งอาการแพ้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการแพ้ อาหารทะเล?
อาการแพ้ อาหารทะเล มักจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาตั้งแต่หลายนาทีหรือเป็นชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เข้าไป และอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จากการได้รับสารก่อภูมิแพ้แต่เด็กจนค่อย ๆ ก่อให้เกิดอาการเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้บางคนอาจเพิ่งพบว่า มีอาการแพ้ในภายหลัง จากที่แต่ก่อนเคยรับประทานได้ปกติ อย่างไรก็ตาม อาการแพ้ที่สังเกตได้ มีดังนี้
- เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
- มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน หรือคล้ายจะเป็นลม
- ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก
นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้บางรายอาจมีอาการรุนแรงที่ส่งผลถึงชีวิต มักเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการรับประทานอาหารที่แพ้และถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน ด้วยการฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) และนำตัวส่งห้องฉุกเฉินทันที ทั้งนี้ อาการแพ้รุนแรงจะแสดงให้เห็น ดังนี้
- คอบวมหรือมีก้อนในลำคอ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและหายใจลำบาก
- ชีพจรเต้นเร็ว
- วิงเวียนศีรษะอย่างมาก หรือหมดสติ
- มีอาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมาก
สำหรับผู้ที่แพ้ อาหารทะเลรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการพกยาฉีดฉุกเฉินเอพิเนฟริน หรือสวมข้อมือที่บอกข้อมูลการแพ้ อาหาร เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า ตนมีอาการดังกล่าวและสามารถช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ส่วนความเชื่อที่ว่า ผู้ที่แพ้ อาหารทะเลจะเกิดอาการแพ้ต่อไอโอดีนหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่ประการใด ผู้ที่แพ้ อาหารทะเลสามารถทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสสารไอโอดีนหรือสารทึบรังสีได้ตามปกติโดยไม่ต้องเป็นกังวล
ข่าวดีผู้แพ้ อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่ หลังจากงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร NEJM ระบุว่า ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดในรูปแบบแอนติบอดี ชื่อว่า Omalizumab สามารถลดความรุนแรงจากอาการแพ้ อาหารเหล่านี้ได้
งานวิจัยได้แสดงผลการทดสอบในอาสาสมัคร 180 คน (เด็ก 177 และ ผู้ใหญ่ 3 คน) ที่ผ่านการยืนยันด้วยการให้รับประทานถั่วลิสง และอย่างอื่นอีกอย่างน้อย 2 อย่างจาก (นม ไข่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ ถั่วชนิดต่าง ๆ) ว่ามีอาการแพ้จริง ๆ โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาโดยการฉีดทุก ๆ 2 – 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 16 – 20 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก หลังจากนั้นทำการทดสอบอาสาสมัครด้วยถั่วลิสง และอาหารอื่น ๆ อีกครั้ง พบว่า 67% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับยา สามารถรับประทานถั่วลิสง และอื่น ๆ ในปริมาณเท่ากับก่อนทำการทดสอบได้โดยไม่มีอาการแพ้เหมือนก่อนการทดสอบ เทียบกับ 7% ในกลุ่มยาหลอก การได้รับยา Omalizumab เหมือนเป็นการเพิ่มระดับของร่างกายที่สามารถทนต่ออาหารที่ก่อการแพ้ได้ให้สูงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ได้รับยาหายจากการแพ้ อาหารนั้น ดังนั้น ถ้าผู้ได้รับยาคิดว่าสามารถทานถั่วลิสงได้แล้ว และเพิ่มปริมาณเกินกว่าที่ยาจะป้องกันได้ ก็จะสามารถเกิดอาการแพ้ได้อีกเช่นกัน
Omalizumab เป็นแอนติบอดีที่ออกแบบมาให้จับกับโปรตีน IgE ซึ่งเป็นโปรตีนของแอนติบอดีเช่นกัน แต่ IgE จะเป็นแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น จากอาหารที่รับประทานเข้าไป การฉีด Omalizumab ก็เป็นการควบคุมปริมาณ IgE ในร่างกายไม่ให้มีสูงจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อปริมาณสารก่อการแพ้มีมากเกิน Omalizumab จะเอาอยู่ IgE ก็จะสูงสร้างจนร่างกายตอบสนองในรูปของการแพ้นั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง