วันก่อนมีคนถามผมว่า ปัญหา “ติดกับดักค่าจ้าง” กล่าวคือ แหล่งรายได้เยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ทำงานอยู่ในโรงงาน ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1.ค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาทต่อวัน คิดเป็นรายได้ต่อเดือน 350 x 20 จันทร์ – ศุกร์ คิดเป็นเงิน 7,000 บาทต่อเดือน 2.ค่าแรงพิเศษในวันหยุด จะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ 350 ต่อวัน คิดเป็นเงิน 700 บาทต่อวัน 700 x 4 วัน/เดือน เท่ากับ 2,800 บาท/เดือน 3. ค่าล่วงเวลา (โอที)ต่อชั่วโมง สูตรคิดค่าโอที ค่าแรงขั้นต่ำ 350 x 1.5 ÷ 8 เท่ากับ 65 บาทต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม “ค่าโอที” เป็นรายได้ที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนายจ้างสั่งให้ทำงานวันละกี่ชั่วโมง และ 4.เบี้ยขยันต่อสัปดาห์ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 500 บาท กล่าวคือ หากลูกจ้างทำงานโดยไม่ ป่วย ขาด ลา และ สาย ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ และ เสาร์แม้แต่วันเดียวตลอดทั้งสัปดาห์จึงได้รับเบี้ยขยัน ดังนั้นรายได้เฉลี่ยของเยาวชนนอกระบบการศึกษา จึงอยู่ที่ระหว่าง 7,000 – 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่มีความแน่นอนแต่อย่างใด
คำถาม น้อง ๆ เยาวชนแรงงานหรือผู้ใช้แรงงาน ที่มีรายได้ระหว่าง 7, 000 ถึง 12,000 บาทต่อเดือนรายได้เท่านี้ยากจนไหม?
คำตอบ
1. อาชีพลูกจ้างโรงงาน มีความไม่มั่นคงสูงมากครับ เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ถ้านายจ้างบริหารไม่เป็น ความสามารถในการแข่งขันต่ำ ก็จะเจ๊งในที่สุด และคนงานก็จะถูกเลิกจ้าง
2. ในระหว่างทำงาน แรงงานจะมีทักษะเดียวในการทำงาน ยิ่งทำงานมานาน อายุมาก ยิ่งเปลี่ยนทักษะได้ยาก จะมีความเสี่ยงสูงที่หากตกงานไม่ว่าด้วยเหตุใด จะดำรงชีวิตต่อไปได้ยากเพราะไม่มีทักษะอาชีพอื่นเลย
3. ในระหว่างทำงาน ถ้าขาด financial literacy จะก่อหนี้เกินตัว และเข้าสู่วงจรหนี้นอกระบบ ที่แทบไม่มีโอกาสหลุดพ้นจากหนี้เลย และถ้ายิ่งติดในอบายมุขด้วย จะเกิดปัญหาครอบครัว ส่งผลกระทบต่อความอบอุ่นในครอบครัว การดูแลอบรมบุตร การให้การศึกษาบุตร เป็นปัญหาใน generation ต่อ ๆ ไป
4. ปัญหาสุขภาพอันเกิดจากการทำงานหนักยังคงมีอยู่ และถ้าอาการป่วยรุนแรง ต้องหยุดทำงาน จะกระทบต่อรายได้ทันที
ประมาณนี้ครับ