ผลกระทบจากภัยแล้ง เกษตรกร ปลูกข้าวนาปรัง แต่ยืนต้นตาย เพราะน้ำไม่พอยอมปล่อยทิ้ง 13 ไร่ขาดทุนยับ

นครพนม : ผลกระทบจากภัยแล้ง เกษตรกร ปลูกข้าวนาปรัง แต่ยืนต้นตาย เพราะน้ำไม่พอยอมปล่อยทิ้ง13 ไร่ขาดทุนยับ

วันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่จังหวัดนครพนม จากสถานการณ์ปรากฏการณ์เอลณีโญ ร้อนจัด ฝนทิ้งช่วง น้ำโขง น้ำสงครามลดปริมาณอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่การเกษตรในการเพราะปลูกข้าวนาปรัง ในพื้นที่ บ้านนาหนองหวาย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งในขณะนี้พื้นที่นาข้าวของเกษตรกรที่ทำการปลูกข้าวนาปรังไว้ในช่วงที่ผ่านมานั้น ต้นข้าวเริ่มทยอยใบไหม้และยืนต้นตาย เนื่องจากประสบกับปัญหาขาดน้ำประกอบกับในส่วนพื้นที่ท้ายน้ำยังไม่ได้รับน้ำที่ถูกปล่อยส่งลงมาจึงทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหายจำนนวนมาก ทำให้การทำนาปรังปีนี้เกษตรกรที่ทำนาปรังต่างได้รับความเสียหาย ซึ่งหากรวมความเสียหายจากการทำนาของทั้งทั้งหมู่บ้าน อำเภอแล้วคาดว่าไม่ต่ำกว่า 100 ไร่

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนางทรัพย์ทวี ดีบุดชา อายุ 41 ปี ชาวบ้านนาหนองหวานหนึ่งในเกษตรกรชาวนาปรังซึ่งทำนา 13 ไร่ ได้รับผลกระทบน้ำไม่มี ปกติทุกปีพอได้ข้าวถึงไม่มากแต่ปีนี้ไม่ได้เลยต้องยอมทิ้งให้เสียหาย ผลกระทบก็คือน้ำไม่มี ขนาดน้ำใต้บาดาลก็ไม่มี แห้งแล้งมาก ทำมา 13 ไร่ ปกติเราจะได้ผลผลิต ถึงไม่ได้มากก็ได้ ปีนี้ทิ้งหมดเลย ไม่มีน้ำเลย ระบบน้ำบาดาลใช้ไม่ได้เลย สูบขึ้นมาก็คือหมดเลย ปกติสูบขึ้นมาก็จะมีน้ำในดินซึมอยู่ ปีนี้ไม่มีเลย น่าจะเป็นอิทธิพลของแม่น้ำโขง น้ำสองคราม น้ำฝนไม่เพียงพอ เนื่องจากน้ำลดเยอะ น่าจะมีปัญหาน้ำมาเป็นที่หนึ่ง ปกติน้ำนาปรังอยู่ที่ชลประทาน จะขึ้นแค่ครั้งเดียว ปีนี้ใส่น้ำไป 4 ครั้ง ก็ต้องยอมเสี่ยง เนื่องจากเป็นอาชีพของเรา ทำนาปี นาปรัง แต่ในปีนี้มีผลกระทบมาก ไม่ได้เลย ค่าใช้จ่ายในการทำนา เช่น ค่าปุ๋ย ค่าแรง ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายเยอะ เราทำนาปีไว้กิน และขาย แต่ว่า ถ้าทำนาปรัง สามารถที่จะขายแล้วได้เงินก้อนไปใช้หนี้ได้ ปีที่แล้วได้ 75,000 บาท ลงทุนประมาณ 20,000 บาท ปีนี้ลงทุนเท่าเดิม แต่ปีนี้ขาดทุน

 

 

 

 

 

ซึ่งสรุปข้อมูลการเพาะปลูกนาปรัง ประจำปี 66 นั้นมีเกษตรกรทำการปลูกข้าวในพื้นที่ 12 ตำบล อำเภอ ศรีสงคราม จ.นครพนม รวมแล้วกว่า 19,000 ไร่ จากพื้นที่การทำนาจริงถึง 190,000 ไร่ ซึ่งถือว่าในปีนี้มีการลดปริมาณการทำนาลงมากเนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงหวั่นกับราคาข้าวและปัญหาน้ำทางการเกษตรและเริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อย่างเช่นถั่ว อ้อย แตงโมแทน.

 

 

 

ข่าว/ภาพ​ ประทีป​ วชิระธัญญากุล​ผู้สื่อข่าวภูมิภาค​ จังหวัดนครพนม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดีเอสไอ" รับคดี "ตึกสตง." ถล่ม เป็นคดีพิเศษ พุ่งเป้าสอบความผิด 3 ประเด็นหลัก
KEN by MEA ห่วงใย ยืนยันความปลอดภัยของระบบโซลาร์ พร้อมดูแลคุณทุกสถานการณ์
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ขับเคลื่อนการใช้บัญชีพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และกลุ่มอาชีพประชาชน
สภาฯลงมติเอกฉันท์ รับหลักการ "หวยเกษียณ" จูงใจคนออมเงิน ลุ้นโชค
นักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
โรงสีข้าวพิกุลทองตากใบ ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรกรรม เสริมสร้างวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"มารศรี" เลขาธิการ สปส. ลงพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือกระทรวงแรงงาน จตุจักร กำชับเจ้าหน้าที่ สปส. ชี้แจงสิทธิประโยชน์ พร้อมเยียวยาลูกจ้างเต็มที่
จนท.กู้ภัย นำกระดูก-เส้นผม จากซาก "ตึกสตง." ถล่ม ส่งนิติเวชตรวจสอบ เทียบดีเอ็นเอครอบครัว รอยืนยันตัวตน
ผู้ว่าการ MEA ย้ำความพร้อมระบบไฟฟ้า รับมือแผ่นดินไหว – สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มกำลัง
โลกระส่ำ "แผ่นดินไหว" เขย่าหลายชาติ "ไทย" ผวาทั้ง "เหนือ-ใต้"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น