“ศธ.” พร้อมทำทันที ว่าจ้างภารโรงแบ่งเบาภาระครูอยู่เวร หลังครม.พิจารณาอนุมัติงบฯ

"ศธ." พร้อมทำทันที ว่าจ้างภารโรงแบ่งเบาภาระครูอยู่เวร หลังครม.พิจารณาอนุมัติงบฯ

ความคืบหน้ากรณีกระทรวงศึกษาธิการตั้งเรื่องของบประมาณปี 2567 ในการจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด เพื่อคืนครูให้นักเรียน โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีความต้องการนักการภารโรงจำนวน 14,210 อัตรา เป็นเงิน 639,450,000 บาท  (อัตราละ 9,000 บาท ต่อเดือน)

โดยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิกา ยืนยันว่า หากครม.อนุมัติงบประมาณก็สามารถเริ่มจ้างนักการภารโรงได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาดแคลนถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยหลังจากเกิดเหตุการณ์ครูที่จังหวัดเชียงรายถูกคนร้ายบุกทำร้ายหวังข่มขืนขณะเข้าเวรดูแลทรัพย์สินโรงเรียนเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567

 

 

อีกทั้งยังต้องการแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการเข้าเวรยามเพื่อคืนครูให้แก่นักเรียน จึงเป็นเหตุให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 มกราคม 2567ยกเลิกมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ที่มอบหมายให้ครูต้องเข้าเวรยาม นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดทำคำขออนุมัติคืนอัตรานักการภารโรงกว่า 14,000 ตำแหน่ง เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีนักการภารโรงประจำ จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงตั้งเรื่องของบประมาณในการจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาดจากครม.เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับการจ้างนักการภารทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 14,210 คน โดยเป็นการจ้งในอัตราละ 9,000 บาท ต่อเดือนถือเป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญ แต่การใช้งบประมาณจำนวนกว่า 600 ล้านบาท จำเป็นต้องให้ครม.อนุมัติจากงบกลาง เนื่องจากเหตุการณ์ครูจังหวัดเชียงรายถูกทำร้ายเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ทำให้กระทรวงศึกษาฯไม่สามารถตั้งงบประมาณในการจ้างนักการภารทั่วประเทศได้ทัน เนื่องจากได้มีการตั้งงบประมาณในส่วนของกระทรวงศึกษาไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

 

 

 

สำหรับร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 นั้น รัฐบาลตั้งวงเงินไว้จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 3.28 แสนล้านบาท โดยกระทรวงศึกษาธิการแบ่งการจัดสรรหน่วยรับงบประมาณ ภายใต้กำกับดูแลของศธ. 11 หน่วยงาน ดังนี้
1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.5 แสนล้านบาท
2.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3.7 หมื่นล้านบาท
3.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2.4 หมื่นล้านบาท
4.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 1 หมื่นล้านบาทเศษ
5.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.6 พันล้านบาท
6.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 419 ล้านบาท
7.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 250 ล้านบาท
8.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 164 ล้านบาท
9.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 160 ล้านบาท
10.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 128 ล้านบาท
11.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) 98 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าในงบประมาณปี 67 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณลงไปใน 11 หน่วยงานแล้ว ดังนั้นการใช้งบประมาณจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อจ้างนักการภารโรงทั่วประเทศ จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากงบกลางเท่านั้น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนขุดพบ 'ภาพวาดในเปลือกหอย' เก่าแก่ 2,000 ปี
“นายกฯ อิ๊งค์” บี้ผลสอบข้อเท็จจริงตึก สตง.ถล่ม ลั่นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด
"อิหร่าน" ตอกหน้า ไล่ "มะกัน" ไปคุยอ้อม หลัง "ทรัมป์" โวเจรจาตรงเสาร์นี้
จนท.รวบ 7 แก๊งคอลฯ สัญชาติจีน เดินเท้าข้ามน้ำหนีตายเข้าไทย
จนท.พบร่างผู้ติดค้างโซน B-C เพิ่มอีก 3 คน ใต้ซากตึก สตง.ถล่ม
"กรมอุตุฯ" เตือน 48 จว. รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง กทม.โดนด้วย
ทีมกู้ภัยยูนนานกลับจีน หลังเสร็จภารกิจในเมียนมา
โพลชี้คนไทยไม่เอากาสิโน หวั่นรัฐคุมไม่ได้ ประโยชน์ไม่ถึงคนไทย
โฆษกกทม. คาดภายในคืนนี้ สามารถลดระดับความสูงซาก "ตึกสตง." ถล่ม โซน E ได้ เปิดทางค้นหาต่อเนื่อง
นายกสุพิศ เปิดงานของดี อบต.รัตภูมิ สงขลา หวังต่อยอด เชิดชูอัตลักษณ์ประเพณีท้องถิ่น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น