“พิพัฒน์” นำรำลึกในหลวง ร.9 “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” น้อมสำนึกพระราชดำรัสพัฒนาฝีมือแรงงานไทย

"พิพัฒน์" นำรำลึกในหลวง ร.9 "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" น้อมสำนึกพระราชดำรัสพัฒนาฝีมือแรงงานไทย

“พิพัฒน์” นำรำลึกในหลวง ร.9 “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” น้อมสำนึกพระราชดำรัสพัฒนาฝีมือแรงงานไทย

 

วันที่ 2 มี.ค. 67 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยภายในงานมีพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” มีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มสักการะ พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการที่เผยแพร่ข้อมูลภารกิจมาตรฐานฝีมือแรงงานที่จัดแสดงภายในงาน ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร ขณะที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ร่วมจัดพิธีดังกล่าว โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เพื่อน้อมรำลึกในพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติถวายพระราชสมัญญาแด่รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งวันนี้เมื่อปี 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า

 

 

“…ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้ง 3 ประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า” พระองค์ได้ฝากความคิดนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ

 

นายพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้น้อมนำพระราชดำรัสไปใช้ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานไทย ให้มีความรู้ความสามารถได้มาตรฐานเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่งเสริมให้มีงานต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระปรีชาสามารถด้านงานช่าง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และสนพระราชหฤทัยในงานช่างอย่างสม่ำเสมอ ทรงใช้ทักษะและความถนัด ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้วยพระองค์เองเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยอย่างอเนกอนันต์ อีกทั้ง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานฝีมือแรงงานด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น