ซวยแล้ว “เรืองไกร” ยื่นกกต.ชงศาลรธน.ฟัน “หมออ๋อง” บุกทำเนียบ พ้นสถานะ สส.หรือไม่

ซวยแล้ว "เรืองไกร" ยื่นกกต.ชงศาลรธน.ฟัน "หมออ๋อง" บุกทำเนียบ พ้นสถานะ สส.หรือไม่

นายเรืองไกร ลีกิจ​วัฒนะ​ กล่าวว่า เห็นข่าวเรื่องนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร บุกทำเนียบรัฐบาล จนมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายไปคนละทิศละทาง โดยไม่ได้อ้างอิงบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มติคณะรัฐมนตรี

นายเรืองไกร กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว พบว่า นายปดิพัทธ์ ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 แล้ว และก่อนหน้านั้นได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รวม 2 ฉบับ คือ หนังสือที่สภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ 0001.03/18 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 และหนังสือที่สภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ 0001.03/26 ลงวันที่ 21 ก.พ. 2567 ด้วย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องนี้จึงควรพิจารณาถึงหน้าที่และอำนาจของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 ที่ได้มีมติรับทราบแนวทางป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ

นายเรืองไกร กล่าวว่า ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/152 วันที่ 23 พ.ย. 2566 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบนั้น หน้า 4 ข้อ (2.2) ระบุว่ากรณีสงสัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา กระทำการอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 185 (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอาจเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (7) หรือมาตรา 111 (7) แล้วแต่กรณี ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้มีหน้าที่เพื่อดำเนินการให้มีการวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ ตามนัยมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ต่อไป”

นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า ยังไม่พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 หรือไม่ อย่างไร ดังนั้น ตนจึงมีเหตุอันควรทำหนังสือไปถึง กกต. แทน เนื่องจาก มาตรา 82 วรรคสี่ ให้อำนาจ กกต. ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้ด้วย

นายเรืองไกร กล่าวว่า วันนี้ (2 มี.ค.)​ ตนจึงได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึง กกต. เพื่อขอให้ตรวจสอบและพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงนามออกหนังสือไปถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับและการเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ดังกล่าว เข้าข่ายขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 หรือไม่ และเข้าข่ายอันควรสงสัยตามข้อ (2.2) ตามหนังสือของสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/152 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หรือไม่ และการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายจะทำให้สมาชิกภาพของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (7) เพราะเข้าข่ายกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 185 (1) หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น
“เทพไท” เชื่อ 44 อดีตสส.ก้าวไกล ลงชื่อรื้อ แก้ 112 ถูกตัดสิทธิ์ กระทบหนักยิ่งกว่าถูกยุบพรรค

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น