“ที่ราชพัสดุ” 2567 ใครมีสิทธิเช่า สืบทอดทายาท – เรียกคืนได้?

ที่ราชพัสดุ 2567 ใครมีสิทธิเช่า สืบทอดทายาท - เรียกคืนได้?

"ที่ราชพัสดุ" หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

TOP News รายงานประเด็น “ที่ราชพัสดุ” ที่ดินประเภทที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างที่จะมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน หลักเกณฑ์เป็นอย่างไร สามารถสืบทอดถึงทายาท – เรียกคืน ได้หรือไม่ เช็ค ๆ ให้หายข้องใจ ที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

ที่ดินของรัฐ “ที่ราชพัสดุ” คืออะไร?

ความหมายของที่ ราชพัสดุ (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554)

  • คำว่า ที่ ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของแผ่นดินบางชนิด

ความหมายของที่ ราชพัสดุ (ตามพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518)

  • มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้
  1. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
  2. อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ

“ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ไม่ถือว่าเป็นที่ ราชพัสดุ”

ส่วนพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 นั้น มิได้ให้ความหมายของที่ ราชพัสดุ ไว้ แต่ได้จำแนกที่ ราชพัสดุ ออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด
  2. ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
  3. ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย

และได้กำหนดว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดที่ไม่เป็นที่ ราชพัสดุ อันได้แก่

  1. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือสงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย
  2. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน
  3. อสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. อสังหาริมทรัพย์ขององค์การมหาชน ซึ่งได้มาโดยมีมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินขององค์การมหาชนนั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  5. อสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินของสถานศึกษานั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  6. อสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐนั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  7. อสังหาริมทรัพย์ที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้ถือเป็นที่ราชพัสดุ

“เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้มีการจำแนกประเภทของที่ ราชพัสดุ เพิ่มขึ้น โดยรวมที่ดินที่สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการเข้าไว้ด้วย”

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ “ที่ราชพัสดุ” ?

  • มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ ราชพัสดุ และให้กรมธนารักษ์เป็นผู้มีหน้าที่ในการปกครอง ดูแล และบำรุงรักษาที่ ราชพัสดุ ส่วนการใช้และการจัดหาประโยชน์ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
  • นอกจากนี้ พระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้กรมธนารักษ์มีหน้าที่ ดังนี้
  1. จัดทำทะเบียนที่ ราชพัสดุ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการที่ ราชพัสดุ กำหนดตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
  2. เรียกคืนที่ ราชพัสดุ ในกรณี ดังนี้
  • เลิกใช้ที่ ราชพัสดุ
  • ครอบครองที่ ราชพัสดุ โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือแจ้งจากกรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตามข้อ 21
  • ไม่ใช้ที่ ราชพัสดุ ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ทำความตกลงกับกรมธนารักษ์

วัตถุประสงค์ในการนำที่ ราชพัสดุ ไปใช้

  • มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 กำหนดให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะขอใช้ที่ ราชพัสดุ ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ ราชพัสดุ และขอทำความตกลงกับกรมธนารักษ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การใช้ที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2563

การได้มาซึ่งที่ ราชพัสดุ

  1. โดยการซื้อ ส่วนราชการต่าง ๆ ที่ทำการจัดซื้อมาต้องดำเนินการโอนเปลี่ยนชื่อมาเป็นกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
  2. โดยการแลกเปลี่ยน เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ ราชพัสดุ เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบุคคลอื่น เช่น รัฐวิสาหกิจที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ราษฎร วัด เป็นต้น
  3. โดยการรับบริจาคหรือมีผู้ยกให้ เช่น ที่ดินที่บริจาคเพื่อให้ใช้เป็นสถานพยาบาล สถานีตำรวจ มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ดังนั้น ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นที่ ราชพัสดุ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
  4. โดยผลของกฎหมาย เช่น ในการจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่า ประเภทการให้เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารโดยยกกรรมสิทธิ์อาคารที่ปลูกสร้างให้แก่กระทรวงการคลัง
  5. โดยการหวงห้าม หรือดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ เมื่อส่วนราชการหรือทบวงการเมืองได้เข้าใช้ประโยชน์แล้วที่ดินที่หวงห้ามนั้นก็จะตกเป็นที่ ราชพัสดุ
  6. โดยการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ตั้งสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้มาด้วยการเวนคืนเพื่อสร้างสนามบินพาณิชย์ เป็นต้น
  7. โดยการริบทรัพย์สิน เป็นการได้มาโดยบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ริบทรัพย์สินนั้นมาเป็นของแผ่นดิน เช่น ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นต้น

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

“ที่ราชพัสดุ” โบราณนานมา ?

ในสมัยโบราณเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีการปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งราชอาณาจักรแต่เพียงผู้เดียว พระองค์จะพระราชทานให้ผู้ใดหรือริบเสียเมื่อใดก็ย่อมได้ ราษฎรไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เว้นแต่เพื่ออยู่อาศัยหรือทำกินเท่านั้น จนกระทั่งยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยมากขึ้น ราษฎรเริ่มมีการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และเริ่มมีการแบ่งประเภทของที่ดินออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ที่ดินของรัฐ และ ที่ดินที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์

ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ ร.ศ. 109 ขึ้น โดยให้กรมการราชพัสดุเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ มีการจัดเก็บค่าเช่า แล้วนำเงินที่ได้เข้าท้องพระคลัง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สยามประเทศได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น และมีการตราพระราชกำหนดหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ขึ้น แต่เนื่องจากการจัดการทางทะเบียนในสมัยนั้นยังไม่มีความรอบคอบ รัดกุมเพียงพอ ทะเบียนที่ดินส่วนใหญ่จึงเป็นที่ดินประเภทสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ร่วมกัน การสงวนหวงห้ามที่ดินเพื่อใช้ในราชการจึงเป็นไปตามพระบรมราชโองการหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจเท่านั้น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการหวงห้ามที่ดินเพื่อประโยชน์ของทางราชการจึงไม่มีการระบุไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด อีกทั้ง พระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ ร.ศ. 109 ก็มิได้กล่าวไว้ว่ากรมราชพัสดุมีอำนาจในการดูแลที่ดินประเภทใด

ดังนั้น ที่ดินที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของกระทรวงต่าง ๆ จึงยังมิได้มีการนำมาขึ้นทะเบียน จนมาถึง ร.ศ. 140 (พ.ศ. 2464) รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ว่าสมควรจะรวบรวมบรรดาที่ดินของหลวงที่กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนราชพัสดุไว้ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติที่เดียว หากกระทรวงและกรมต่าง ๆ มีความประสงค์ต้องการที่หลวงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ ก็ให้ยืมไปใช้เพื่อการนั้นได้ และเพื่อให้การจัดการปกครองที่หลวงนี้มีหลักฐานในการจัดเก็บ จากคำกราบบังคมทูลดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงมีพระบรมราชโองการที่ 65/507 วันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2464 ว่าเห็นชอบให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดการกับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อรวบรวมบรรดาที่ดิน ของหลวงที่อยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนไว้ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเสียทางเดียว เพื่อเป็นหลักฐานสืบไป

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับ เช่น ร่างระเบียบการปกครองจัดประโยชน์ที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2477 แต่มิได้มีการนำมาใช้ จึงมิได้มีการนำมาอ้างอิงเพื่อการปฏิบัติงานด้านที่ราชพัสดุ ต่อมา ได้มีการออกระเบียบการปกครองและจัดประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พ.ศ. 2485 ซึ่งวิวัฒนาการมาจากร่างระเบียบดังกล่าวข้างต้น จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการตราพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ขึ้น โดยมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ ราชพัสดุ ทั้งหมด โดยมีคณะกรรมการที่ ราชพัสดุ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์อันเกี่ยวกับที่ ราชพัสดุ หากกระทรวงและกรมต่าง ๆ ต้องการที่หลวงเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางราชการก็สามารถยืมไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการนั้น ๆ ได้ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติบางประการให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้การบริหารจัดการที่ ราชพัสดุ มีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 320.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร โดยมีที่ดินของรัฐที่เป็นที่ ราชพัสดุ ประมาณ 12.727 ล้านไร่ แบ่งออกเป็นที่ ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์บริหารจัดการประมาณ 10.575 ล้านไร่ และที่ ราชพัสดุ ที่ใช้ในราชการเพื่อความมั่นคงประมาณ 2.152 ล้านไร่ โดยที่ดินที่กรมธนารักษ์บริหารจัดการนี้ยังแบ่งออกเป็น ที่ ราชพัสดุ ที่ใช้ในราชการประมาณ 9.659 ล้านไร่ หรือประมาณ 91.31% และที่ ราชพัสดุ ที่นำมาจัดหาประโยชน์ประมาณ 0.919 ล้านไร่ หรือประมาณ 8.69% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565)

ผู้มีสิทธิขอเช่าที่ดินราชพัสดุ?

  • อ้างอิง กฎหมาย กฎ ระเบียบ และคำสั่งเกี่ยวกับการเช่าที่ ราชพัสดุ : อ่านทั้งหมด…คลิกที่นี่ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 หมวด 3 วิธีการจัดให้เช่าและระยะเวลาเช่า ข้อ 19 การจัดให้เช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ให้ดําเนินการ ดังนี้

(2) ให้จัดการให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยตามลําดับก่อนและหลัง ดังนี้

(2.1) ผู้ที่อยู่อาศัยในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต
(2.2) ผู้เดือดร้อนที่อยู่อาศัยเพราะถูกขับไล่หรือถูกไฟไหม้ที่อยู่อาศัย
(2.3) ข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการของส่วนราชการ
(2.4) พนักงาน ลูกจ้างประจําและพนักงานราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2.5) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ
(2.6) ผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

และ ข้อ 20 การจัดให้เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขึ้นใหม่ให้ดําเนินการ ดังนี้

(2) ให้จัดการให้เช่าเพื่อเกษตรกรรมตามลําดับก่อนและหลัง ดังนี้

(2.1) ผู้ที่ประกอบการเกษตรในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต
(2.2) ผู้ที่รัฐมีนโยบายให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ดินทํากิน
(2.3) ผู้มีอาชีพเกษตรกรซึ่งยากจนไม่มีที่ดินทํากิน
(2.4) ผู้มีอาชีพเกษตรกรซึ่งมีที่ดินไม่พอทํากิน

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

สิทธิประโยชน์จากระบบเช่า “ที่ราชพัสดุ” ?

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึง สิทธิประโยชน์จากระบบเช่าที่ดินราชพัสดุ โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนโยบายมอบสิทธิการเช่าที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและทำกินในการดูแลของกรมธนารักษ์ ผมขออนุญาตเพิ่มเติมรายละเอียดสิทธิประโยชน์ในการเข้าสู่ระบบเช่าของกรมธนารักษ์ ดังนี้ครับ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

  • พื้นที่ ราชพัสดุ ถูกจัดสรรให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และยังไม่เคยเรียกคืนสิทธิการเช่า เว้นพื้นที่ติดภารกิจสำคัญทางราชการ เช่น ภารกิจทางทหารที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ก็จะไม่สามารถให้เช่าได้
  • ระบบสิทธิการเช่า 3 ปี เป็นการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ หากจัดให้เช่ามากกว่าสามปี เช่น 30 ปี จะมีการต่ออายุสัญญาเช่าอย่างต่อเนื่องคราวละ 3 ปี เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิการเช่าจำนวนมาก (ในกรณีเช่าคราวละเกิน 3 ปี)
  • สิทธิในการเช่าที่ดินราชพัสดุสามารถสืบทอดไปยังทายาทได้ ตั้งแต่ดำเนินการมารัฐยังไม่เคยเรียกคืนสิทธิการเช่า

อัตราค่าเช่าที่ดินราชพัสดุ ดังนี้

  1. สำหรับการเช่าเพื่ออยู่อาศัย เนื้อที่เช่าทั้งหมดไม่เกิน 100 ตารางวา คิดอัตรา 25 สตางค์/ตารางวา/เดือน เกินกว่า 100 ตารางวา คิดอัตราค่าเช่า 50 สตางค์/ตารางวา/เดือน
  2. หากเช่าเพื่อการเกษตร เนื้อที่เช่าทั้งหมดไม่เกิน 50 ไร่ คิดอัตราค่าเช่า 20 บาท/ไร่/ปี เกินกว่า 50 ไร่ คิดอัตราค่าเช่า 30 บาท/ไร่/ปี กรมธนารักษ์จะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าทั้งหมด ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการรังวัดทั้งหมด และเรียกเก็บหลักประกันสัญญาเช่าเท่ากับอัตราค่าเช่าเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

แก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐและประชาชนอย่างยั่งยืน?

  • เมื่อทำสัญญาเช่าที่ดิน จะมีการยกเว้นค่าเสียหายฐานบุกรุกที่ดินราชพัสดุให้ผู้ได้สิทธิเช่า
  • ผู้เช่าจะได้รับการอำนวยความสะดวกและการดูแลจากรัฐในฐานะที่ดินเช่า มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขอทะเบียนบ้าน และการช่วยบรรเทาความเสียหายเมื่อเกิดเหตุอุบัติภัยต่าง ๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ในการกำกับดูแลของรัฐโดยตรง
  • ผู้เช่าสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เพราะสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุสามารถนำไปเป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อจากธนาคารที่ดำเนินการโดยรัฐได้

จากความสำเร็จของหนองวัวซอโมเดล ที่จังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรี ผมในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในความร่วมมือของกรมธนารักษ์และกระทรวงกลาโหม ขอเชิญชวนพี่น้องที่สนใจมาเข้าร่วมโครงการกับกรมธนารักษ์กันครับ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนและดูแลผู้เช่าที่ดินราชพัสดุ เราตั้งใจจะขยายพื้นที่โครงการเพื่อมอบสิทธิในที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและทำกินแก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไปครับ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์
“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น