"ไทยร้อนพุ่ง" กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุ 5 - 6 มี.ค. ร้อนถึงร้อนจัด ค่าดัชนีความร้อนทะลุ 50 องศาฯ อยู่ในระดับอันตราย
ข่าวที่น่าสนใจ
“ไทยร้อนพุ่ง” ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2567
ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นรูปแบบลักษณะอากาศของฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าจนถึงประมาณกลางเดือนมีนาคม และคาดว่า ฤดูร้อน จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
พยากรณ์อากาศ 7 วันรายภาค ระหว่างวันที่ 4 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2567
ในช่วงวันที่ 4 – 7 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ข้อควรระวัง
“ไทยร้อนพุ่ง” ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในช่วงวันที่ 5 – 8 มี.ค. 67
โดยในช่วงวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ภาคเหนือ
- ในช่วงวันที่ 4 – 8 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
- อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 40 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตก ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
- ส่วนในวันที่ 9 – 10 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค
- อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ในช่วงวันที่ 4 – 7 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
- อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
- ส่วนในวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก
- อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคกลาง
- ในช่วงวันที่ 4 – 7 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่
- อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 40 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
- ส่วนในวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
- อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
- ในช่วงวันที่ 4 – 7 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่
- อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 39 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- ส่วนในวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
- อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
- ในช่วงวันที่ 4 – 8 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
- คลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- ส่วนในวันที่ 9 – 10 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่
- ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณฝนที่มีฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
- อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
- อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง
- ในช่วงวันที่ 5 – 8 มี.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- ส่วนในวันที่ 9 – 10 มี.ค. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
- ในช่วงวันที่ 4 – 7 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
- อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
- ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 10 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก
- อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
“ไทยร้อนพุ่ง” คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน (4 – 6 มี.ค. 67)
วันที่ 4 มี.ค. 67 ระดับอันตราย
- ชลบุรี 48.3 องศาเซลเซียล
- กรุงเทพฯ 46.0 องศาเซลเซียล
- กระบี่ 44.8 องศาเซลเซียล
วันที่ 5 มี.ค. 67 ระดับอันตราย
- ตราด 50.6 องศาเซลเซียล
- กรุงเทพฯ 48.1 องศาเซลเซียล
- กระบี่ 42.5 องศาเซลเซียล
วันที่ 6 มี.ค. 67 ระดับอันตราย
- ชลบุรี 51.4 องศาเซลเซียล
- ภูเก็ต 48.3 องศาเซลเซียล
- กรุงเทพฯ 48.1 องศาเซลเซียล
ดัชนีความร้อน?
- ดัชนีความร้อน คือ ความร้อนที่ร่างกายมนุษย์ปกติรู้สึกได้ ณ ขณะนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศและความชื่นสัมพัทธ์ ที่ตรวจวัดได้ ณ เวลานั้น ๆ ซึ่งค่าดัชนีความร้อน มักจะมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้เสมอ เช่น ที่ เวลา 12.00 น. วัดอุณหภูมิได้ 33.0 องศาเซลเซียล วัดความชื้นสัมพัทธ์ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีดัชนีความร้อน 49 องศาเซลเซียล เป็นต้น
ดัชนีความร้อน ระดับอันตราย?
- สำหรับ ดัชนีความร้อน ระดับอันตราย คือ มีค่าดัชนีความร้อน 42.0 – 51.9 องศาเซลเซียล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสความร้อน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นตะคริวจากความร้อน และเกิดโรคเพลียแดดจากความร้อน (Heat exhaustion) และเพิ่มความเสี่ยงต่อต่อการเกิดโรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก (Heat stroke) ได้ หากสัมผัสความร้อนอย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง