“ปกรณ์ นิลประพันธ์” เปิดมุมมองต่อการพัฒนากฎหมายโลกร้อน

กดติดตาม TOP NEWS

การบังคับใช้กฎหมายและการปฎิบัติตามกฎหมายก็เป็นประเด็นสำคัญในการต่อสู้กับ climate change โดยเฉพาะในช่วงที่เรายังไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนของเราให้เป็น global citizen ได้ เพราะเป็นธรรมชาติของคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง และจะยกการ์ดสูงอยู่เสมอถ้าต้องเปลี่ยนอะไรก็ตาม ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างมีศิลปะเพื่อลดการต่อต้าน และมีมาตรการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในแง่นี้ การให้ incentive รูปแบบต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้คนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างยินยอมพร้อมใจ สร้างความร่วมมือ และเป็นพลังผลักดันในที่สุด

โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

หลายวันก่อนมีคนชวนผมไปอภิปรายเรื่องมุมมองต่อการพัฒนากฎหมายว่าด้วย climate change ผมก็บ่น ๆ ให้เขาฟังกันว่าบ้านเรานี้เอะอะก็บอกว่ายังไม่มีกฎหมาย ตั้งธงจะออกกฎหมายกันท่าเดียว นัยว่าพอมีกฎหมายแล้วปัญหามันจะหายไปง่าย ๆ เนื้อหาในกฎหมายก็ไม่มีอะไรมาก จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ตั้งกรรมการแล้วยังให้คณะกรรมการไปตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ที่ปรึกษา ฯลฯ กันอีก แล้วก็ให้ไปคิดมาว่าจะทำยังไง แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการ มีตั้งสำนักงานมารองรับ มีการตั้งกองทุนที่เอางบประมาณรายจ่ายมาสนับสนุน อ้างว่าเพื่อความคล่องตัวในการทำงาน

ผมก็หวังว่าถ้าจะมีกฎหมายเรื่อง climate change คงจะไม่มีหน้าตาและโครงสร้างอย่างนี้นะ เพราะที่มีอยู่นั้นมันพิสูจน์แล้วว่าไม่ค่อยได้ผลเท่าไร

ส่วนตัวผมแอบคิดว่ามันมีกระทรวง ทบวง กรม ที่รับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ อยู่แล้ว ถ้ากฎหมายจะกำหนดเป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงตามเป้าที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปี 2030 และ 2050 แล้วให้ทุกหน่วยงานไปคิดว่าจะ deliver ยังไงในแต่ละปีน่าจะดีกว่า แต่ที่สำคัญทุกหน่วยงานต้องสร้าง climate change literacy ให้กับทั้งข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างในสังกัด รวมทั้งช่วยกันสร้างคนของเราให้มีความตระหนักรู้ในเรื่องclimate change อย่างจริงจังในฐานะที่ทุกคนเป็น global citizen ด้วย

แค่เพียงเปลี่ยนมาใช้รถ ev หรือใช้ solar roof เพราะเหตุประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย หรือขายไฟฟ้าคืนเข้ากริดเป็นรายได้ได้ด้วยนี่ ไม่ได้หมายความเขาตระหนักรู้ ตื่นรู้ ในอันตรายที่จะเกิดขึ้นจาก climate change คือถ้ามี climate change literacy จริง เป็น global citizen จริง ๆ เขาต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะเขามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะลดต้นทุนหรือให้ดูทันสมัยเท่านั้น

ในทัศนะผม ชาวยุโรปเหนือมี climate change literacy ที่ชัดเจนมาก เราต้องการให้พลเมืองมีทัศนคติแบบนั้นในการผลักดันเรื่อง climate change ไม่งั้นออกกฎหมายอีกกี่ร้อยฉบับก็ไม่ได้ผล

นโยบายที่ต่อเนื่องและชัดเจนเป็นสาระสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ คือต้องถือเรื่องนี้เป็น national interest ทีเดียวเพราะถ้าไม่จริงจังและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะระดับรัฐบาล ระดับองค์กร ทั้งภาครัฐภาคเอกชน ก็ยากที่จะผลักดันบรรลุเป้าหมายได้ ทุกภาคส่วนต้องตระหนักว่าปัญหามันร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องสูญเสียงบประมาณ/ต้นทุนจำนวนมากในแต่ละปีเพื่อ mitigate ความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก climate change ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การบังคับใช้กฎหมายและการปฎิบัติตามกฎหมายก็เป็นประเด็นสำคัญในการต่อสู้กับ climate change โดยเฉพาะในช่วงที่เรายังไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนของเราให้เป็น global citizen ได้ เพราะเป็นธรรมชาติของคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง และจะยกการ์ดสูงอยู่เสมอถ้าต้องเปลี่ยนอะไรก็ตาม ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างมีศิลปะเพื่อลดการต่อต้าน และมีมาตรการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในแง่นี้ การให้ incentive รูปแบบต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้คนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างยินยอมพร้อมใจ สร้างความร่วมมือ และเป็นพลังผลักดันในที่สุด

นอกจากนี้ การประเมินผลต้องมีความชัดเจนและกระทำสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของมาตรการและกลไกต่าง ๆ

สำหรับผม การออกแบบกลไกตามกฎหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องนี้ไม่ง่ายเลย เพราะต้องเข้าใจพฤติกรรมและบริบทที่เป็นอยู่จริง ๆ มาตรการต้องสมดุล เป็น stick ที่เข้มข้น เกรงกลัว และเป็น carrot ที่ใคร ๆ ก็อยากได้ เรามีโมเดลอยู่เยอะในฐานข้อมูล https://climate-laws.org/ ต้องศึกษาให้ดี เอาที่เหมาะสมกับบริบทเรามาปรับใช้

ไม่ใช่แค่โยนให้คณะกรรมการไปคิด แล้วคณะกรรมการก็โยนให้คณะอนุกกรมการหรือคณะทำงานไปคิดต่อ

อันนี้ไม่ได้เรื่องมาเยอะแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น