“โรคกลัวสังคม” คืออะไร 4 อาการ-สาเหตุ 7 วิธีรักษา เช็คด่วน ๆ

โรคกลัวสังคม คืออะไร 4 อาการ-สาเหตุ 7 วิธีรักษา เช็คด่วน ๆ

"โรคกลัวสังคม" คืออะไร ต่างกับ คนขี้อาย อย่างไร อาการแบบไหนถึงเรียกว่าใช่ สาเหตุคืออะไร วิธีรักษามีหรือไม่ เช็ค ๆ ด่วน

TOP News ชวนเช็ค “โรคกลัวสังคม” คืออะไร แตกต่างกับ คนขี้อาย หรือไม่อย่างไร อาการแบบไหนถึงเรียกว่าป่วย แล้วเราจะช่วยเหลือหรือมีวิธีรักษาแบบไหน ข้อมูลจาก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ครบจบที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

โรคกลัวสังคม คืออะไร ต่างกับ คนขี้อาย อย่างไร อาการแบบไหนถึงเรียกว่าใช่ สาเหตุคืออะไร วิธีรักษามีหรือไม่ เช็ค ๆ ด่วน

“โรคกลัวสังคม” คืออะไร?

โรค กลัวสังคม หรือที่เรียกว่า Social anxiety disorder คือ การที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจมีผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยกลัวว่าจะถูกผู้อื่นมองหรือตัดสินในทางลบ อาทิ ตลก น่าเบื่อ อ่อนแอ ไม่เก่ง จนกระทั่งต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่าง ๆ และส่งผลกับชีวิตประจำวัน

อาการ

  1. กลัว กังวล ทุกข์มาก หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องพบปะสื่อสารกับผู้คน
  2. มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ตัวสั่น ใจสั่น หายใจเร็ว
  3. คิดเชิงลบกับการมองหรือตัดสินจากผู้อื่น
  4. มีปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นร่วม เช่น ภาวะซึมเศร้า

ทั้งนี้ ความตื่นเต้นที่เกิดขึ้น บางครั้งเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกคนสามารถเจอได้ ไม่เฉพาะกับผู้ป่วยด้วยโรคกลัวสังคมเท่านั้น ความตื่นเต้นธรรมดามักเกิดเป็นครั้งคราว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวสังคม จะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นอาการ

แบบไหนถึงเรียกว่าเป็นโรค กลัวสังคม?

การพิจารณาว่าป่วยหรือไม่นั้น ให้สังเกตว่ามีอาการประหม่าทุกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ หรือไม่ หากในกรณีที่ต้องทำกิจกรรมบางอย่างในที่สาธารณะ หรือมีคนจำนวนมากจ้องมอง เช่น ขึ้นเวทีเพื่อพูดนำเสนอบางอย่าง ในคนปกติอาจมีความประหม่าในครั้งแรกที่ต้องทำ แต่เมื่อผ่านการฝึกฝน ซักซ้อม ก็สามารถก้าวผ่านไปได้ และไม่ได้เป็นทุกครั้งที่ต้องขึ้นเวที แต่จะเป็นเพียงบางครั้ง เช่น พิธีกร อาจเป็นเฉพาะเวลาที่ต้องพูดในงานที่มีคนเยอะมาก ๆ แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่หากต้องพูดในเวทีเล็ก ๆ ที่เคยเจอมาแล้วจะไม่มีอาการอะไร แบบนั้นถือเป็นความประหม่าปกติที่เกิดขึ้น ไม่ใช่โรค กลัวสังคม

แต่ในผู้ที่ป่วยเป็นโรค กลัวสังคม จะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สถานการณ์ที่มีคนจ้องมองเยอะ หรือสถานการณ์ที่ต้องทำบางอย่างในที่สาธารณะ ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่ป่วยด้วยโรค กลัวสังคม ยังมีอาการประหม่าเมื่อต้องสนทนากับคนที่ไม่คุ้นเคย แม้จะเป็นการสนทนาแบบสองต่อสอง มักมีความอึดอัด ไม่สบายใจ กังวลว่าคู่สนทนาจะสังเกตเห็นท่าทีที่ดูไม่ดีหรือน่าอับอายของตนเองตลอดเวลา และไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะพยายามเลี่ยงสถานการณ์นั้น ๆ หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็จะทุกข์ทรมานมาก โดยระยะเวลาของอาการป่วยมักเป็นต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป

โรคกลัวสังคม คืออะไร ต่างกับ คนขี้อาย อย่างไร อาการแบบไหนถึงเรียกว่าใช่ สาเหตุคืออะไร วิธีรักษามีหรือไม่ เช็ค ๆ ด่วน

คนขี้อาย และ ผู้ป่วย “โรคกลัวสังคม” นั้นต่างกันอย่างไร?

  • ผู้ป่วยโรค กลัวสังคม จะแตกต่างกับ คนขี้อาย โดยคนขี้อายจะมีอาการไม่มากเท่ากับผู้ป่วยโรค กลัวสังคม บางครั้งอาจมีอาการและบางครั้งอาจไม่มี ไม่ได้มีอาการตลอดเวลา เหมือนกับผู้ป่วยโรค กลัวสังคม และคนขี้อายมักมีอาการในสถานการณ์สำคัญหรือในสถานการณ์ที่มีคนที่เขาแคร์มากอยู่ด้วย

สาเหตุของโรค กลัวสังคม?

  • ที่พบบ่อย คือ บุคคลที่ป่วยด้วยโรคนี้มักเคยเจอกับสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้รู้สึกแย่ จนกลายเป็นความฝังใจ เช่น กรณีของผู้ป่วยรายหนึ่งที่เดิมทีไม่ได้ป่วยเป็นโรค กลัวสังคม แต่เมื่อถึงอายุ 16 ปี เริ่มโดนเพื่อนแกล้ง และเมื่อต้องพูดหน้าชั้นเรียน กลับไม่มีใครฟัง ไม่มีใครสนใจ เพื่อนในห้องคุยกันเอง หัวเราะกันเอง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่มากกับเหตุการณ์นั้น และกลายเป็นความกลัว จากนั้นจึงมีความกังวลที่จะต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมากมาตลอด
  • ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงวัยที่ให้ความสำคัญกับการประเมินของผู้อื่นต่อตนเองค่อนข้างมาก น้อยคนที่จะเริ่มต้นเป็นในช่วงวัยผู้ใหญ่ ส่วนในวัยเด็กสามารถเจอได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงพันธุกรรม การทำงานสมองส่วนอารมณ์และสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ

วิธีรักษา

  1. ฝึกสติให้เท่าทันความคิดตนเอง
  2. ปรับมุมมองในเชิงบวกและตามความจริง
  3. ฝึกกำหนดลมหายใจและผ่อนคลาย
  4. ฝึกซ้อมการสื่อสาร-การแสดง
  5. ไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้กังวล
  6. ชื่นชมและให้กำลังใจตนเองในความพยายาม
  7. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากอาการไม่ดีขึ้น

สาเหตุของโรคที่สำคัญเกิดจากความคิดของตัวผู้ป่วยเอง ทำให้พวกเขาประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวว่าคนอื่นจะมองไม่ดี กลัวดูไม่ดีในสายตาคนอื่น กลัวถูกจับจ้อง ซึ่งหลายครั้งเป็นการคิดไปเองของผู้ป่วย เพราะในความเป็นจริง ผู้อื่นอาจไม่ได้สนใจผู้ป่วยเลยก็เป็นได้

ดังนั้น จึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนที่ความคิดของผู้ป่วยเอง เพื่อประเมินตนเองให้น้อยลง เช่น การพูดหน้าชั้นเรียน ผู้ป่วยมักประเมินไปก่อนล่วงหน้าแล้วว่า ตนเองพูดน่าเบื่อ ไม่น่าฟัง พูดติดขัด บุคลิกภาพไม่ดี ทำให้ขณะที่ต้องพูดมีความกังวลและอึดอัด จึงต้องแก้ไขโดยการประเมินตนเองให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการคิดไปเองว่าผู้อื่นจะต้องสนใจหรือจับผิด

นอกจากนี้ กำลังใจจากคนรอบข้างสำคัญมาก หากผู้ป่วยเจอคำพูดกดดัน เช่น ทำไมทำไม่ได้ แค่นี้เองต้องทำได้สิ เป็นต้น จะทำให้อาการป่วยยิ่งแย่ลง แต่ถ้าเป็นคำพูดให้กำลังใจ จะช่วยผู้ป่วยได้มาก

โรคกลัวสังคม คืออะไร ต่างกับ คนขี้อาย อย่างไร อาการแบบไหนถึงเรียกว่าใช่ สาเหตุคืออะไร วิธีรักษามีหรือไม่ เช็ค ๆ ด่วน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น