ยอดโดนขังใกล้ครึ่งร้อยแล้ว “ก๊วน 3 นิ้ว” ลุ้นอาการ 4 ดราม่า ประท้วงอดอาหาร

ยอดโดนขังใกล้ครึ่งร้อยแล้ว "ก๊วน 3 นิ้ว" ลุ้นอาการ 4 ดราม่า ประท้วงอดอาหาร

ยอดโดนขังใกล้ครึ่งร้อยแล้ว “ก๊วน 3 นิ้ว” ลุ้นอาการ 4 ดราม่า ประท้วงอดอาหาร

วันที่ 5 มี.ค. 67 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า อดอาหาร อดน้ำประท้วงอาการน่ากังวล 4 คน เดือน ก.พ. ถูกขังเพิ่มอีก 5 คน ยังไม่ได้ประกันสักคน ทำยอดรวมแตะ 42 คน ‘มากที่สุด’ ในรอบหลายปี

ผ่านพ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีคนถูกคุมขังระหว่างสู้คดีเพิ่มอีกถึง 5 คน ได้แก่ “ก้อง” อุกฤษฏ์, “ตะวัน” ทานตะวัน, “แฟรงค์” ณัฐนนท์, อัฐสิษฎ และ “ไบร์ท” ชินวัตร ขณะที่ศาลยังไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องขังการเมืองคนใดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แล้วจากครั้งล่าสุดเมื่อ ธ.ค. ปีที่แล้ว

ทำให้ปัจจุบัน (5 มี.ค.) มีผู้ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก อย่างน้อย 42 คน นับว่าเป็นจำนวนผู้ต้องขังการเมืองในเรือนจำที่ ‘มากที่สุด’ ในรอบหลายปี อย่างน้อยในรอบ 3 ปี (2564 – 2566) ที่ไม่เคยมียอดรวมแตะ 40 คนมาก่อน

ในจำนวนผู้ต้องขังการเมือง อย่างน้อย 42 คนนี้ แบ่งออกเป็น ผู้ถูกคุมขังระหว่างสู้คดี 27 คน ผู้ต้องขังคดีสิ้นสุดแล้ว 13 คน และผู้ต้องขังเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวในสถานพินิจฯ ตามมาตรการแทนคำพิพากษาของศาล

ก๊วน 3 นิ้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

สถานการณ์โดยสรุป มีผู้อดอาหารประท้วง (Hunger Strike) 4 คน ได้แก่ บุ้ง ตะวัน แฟรงค์ และบัสบาส โดย ตะวันและแฟรงค์ อดน้ำร่วมด้วย (Dry Fasting) ส่วนบัสบาสตั้งใจจะอดน้ำร่วมด้วยในเร็ววันนี้ ผู้ต้องขังหลายรายมีปัญหาด้านสุขภาพจากทั้งโรคประจำตัวและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ผู้ต้องขังระหว่างสู้คดี อย่างน้อย 27 คน
-เป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 16 ราย
-เป็นคดีมาตรา 116 จำนวน 2 ราย
-เป็นคดีอื่น ๆ รวม 9 ราย

ผู้ต้องขังในคดีถึงที่สุด อย่างน้อย 13 คน
-คดีมาตรา 112 จำนวน 7 คน
-คดีอื่น ๆ จำนวน 6 คน

ผู้ถูกคุมขังที่เป็นเยาวชนในสถานพินิจฯ อีกอย่างน้อย 2 คน ในคดีตามมาตรา 112

‘ผู้ต้องขังคดีถึงที่สุด’ หรือ ‘นักโทษเด็ดขาด’ ในคดีการเมืองยังคงมีจำนวนเท่าเดิมกับช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา โดยไม่มีใครถูกขังเพิ่มเติมในคดีสิ้นสุดแล้ว หรือยังไม่มีผู้ต้องขังระหว่างสู้คดีคนใดขยับไปเป็นผู้ต้องขังคดีถึงที่สุดเพิ่มเติมอีก
.
เดือนที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 เอกชัย หงส์กังวาน ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ หลังถูกขังจนครบกำหนดโทษในคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์เล่าเรื่องเพศสัมพันธ์ในเรือนจำ ทำให้มีผู้ต้องขังคดีถึงที่สุดลดลง 1 ราย

โดยในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ (ยังไม่ทราบกำหนดวันที่แน่ชัด) มีผู้ต้องขังคดีถึงที่สุด 1 รายมีกำหนดได้รับปล่อยตัว นั่นคือ “ปริทัศน์” อายุ 33 ปี ผู้ต้องขังในคดีมาตรา 112 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. 2565 ภายหลังศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน

 

4 ผู้ต้องขังการอดอาหาร อดน้ำประท้วง จนถึงปัจจุบัน ยังคงมีผู้ต้องขังการเมืองประท้วงด้วยการอดอาหารตามข้อเรียกร้องของตนเอง 4 คน ได้แก่

1. “บุ้ง” เนติพร นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง อดอาหารและน้ำประท้วง (Dry Fasting) ในช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2567 นับเป็นผู้ประท้วงคนแรกในรอบปีนี้ ก่อนสภาพร่างกายรู้สึกทรมานและได้รับผลกระทบจากการประท้วงมากจึงตัดสินใจเริ่มจิบน้ำในปริมาณที่จำกัด แต่ยังคงอดอาหารประท้วงต่อไป โดยมี 2 ข้อเรียกร้อง ได้แก่
1) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2) จะต้องไม่ผู้เห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก

ปัจจุบันบุ้งยังคงถูกคุมขังอยู่ในคดีมาตรา 112 จากการถูกถอนประกันตัวคดีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ ที่สยามพารากอน เมื่อปี 2564 และเธอยังคงดำเนินการประท้วงต่อไปที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ อาการของบุ้งน่าเป็นกังวล อาทิ อาเจียนบ่อยครั้ง อ่อนเพลีย ค่าความปกติของเลือดและร่างกายผิดเพี้ยน น้ำหนักตัวลดลง รู้สึกทรมานมาก ฯลฯ

 

2. “ตะวัน” และ “แฟรงค์” นักกิจกรรมทางการเมือง อดอาหารและน้ำประท้วงตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. วันแรกที่ถูกคุมขังในคดี ม.116 กรณีขบวนเสด็จเรื่อยมาจนปัจจุบัน มี 3 ข้อเรียกร้อง โดย 2 ข้อแรกเหมือนกับของบุ้ง ส่วนอีก 1 ข้อเรียกร้องเพิ่มเติม คือ ประเทศไทยไม่สมควรเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN) ซึ่งจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงเดือน ต.ค. นี้

ปัจจุบันทั้งสองยังคงถูกคุมขังอยู่ในคดีมาตรา 116 จากการถูกฝากขังในชั้นสอบสวน โดยตะวันอยู่ที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ส่วนแฟรงค์ยังคงอยู่ที่ รพ.ราชทัณฑ์ ทั้งสองมีอาการที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดและน่าเป็นกังวลมาก เพราะทั้งคู่ยังคงยืนยันที่จะปฏิเสธการดื่มน้ำ ทำให้ปัสสาวะน้อยมาก ไม่ขับถ่ายแล้ว อ่อนแรงมาก อาเจียน ซูบผอม รู้สึกทรมาน รู้สึกร้อนมากจากข้างในร่างกาย ฯลฯ

 

3. “บัสบาส” นักกิจกรรมและพ่อค้าเสื้อออนไลน์ วัย 30 ปี อดอาหารประท้วงความอยุติธรรมและเรียกร้องสิทธิประกันตัวแก่ผู้ต้องขังการเมืองทุกคน เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา และเขาตั้งใจจะอดน้ำร่วมด้วยเมื่อประท้วงครบ 7 วัน (คาดว่าภายในวันที่ 5 ก.พ.)

 

บัสบาสถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกลางเชียงราย ในคดีมาตรา 112 หลังถูกศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาจำคุกสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 50 ปี จากการโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อปี 2564

 

“เวหา” อารยะขัดขืน การอารยะขัดขืนต่อกระบวนการยุติธรรมลักษณะอื่น ๆ นอกจากการอดอาหารประท้วงยังคงมีเกิดขึ้นในเรือนจำ อาทิ การยืนหยุดขังเป็นเวลา 112 นาทีในช่วงเย็นของแต่ละวัน ภายหลังเพลงสรรเสริญพระบารมีจบลง หรือการอารยะขัดขืนด้วยการเขียนป้ายประท้วงและยืนต่อหน้ากล้องวงจรปิดภายในห้องขังของ “เวหา” ซึ่งปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ในคดีมาตรา 112 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

“วุฒิ” ถูกย้ายเรือนจำ วุฒิ (นามสมมติ) พนักงานรักษาความปลอดภัย วัย 51 ปี ถูกคุมขังมาตั้งแต่ภายหลังถูกสั่งฟ้องในคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังถูกคุมขังนานกว่า 300 วัน หรือเกือบ 1 ปี โดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ล่าสุดเขาถูกเบิกตัวออกมาจากเรือนจำเพื่อฟังคำพิพากษาของศาลอาญามีนบุรี โดยศาลพิพากษาจำคุก 36 ปี ก่อนลดเหลือจำคุก 12 ปี 72 เดือน (หรือประมาณ 18 ปี) กรณีถูกกล่าวหาจากการโพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความ ในช่วงปี 2564 ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 วุฒิถูกย้ายตัวจากเรือนจำพิเศษมีนบุรีไปยังเรือนจำกลางคลองเปรมแล้ว โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด ตามระเบียบของเรือนจำพิเศษมีนบุรี เนื่องจากมีโทษจำคุกเกิน 15 ปี

 

 

ผู้ต้องขังหลายรายมีปัญหาด้านสุขภาพ

1) ภูมิ หัวลำโพง นักกิจกรรม ถูกควบคุมตัวอยู่ในคดี ม.112 ที่บ้านเมตตา สถานพินิจฯ ประสบอุบัติเหตุ ‘หัวไหล่หลุด’ ทำให้มีภาวะหัวไหล่หลวม แต่ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการปรึกษาและอนุมัติของผู้อำนวยการบ้านเมตตาเพื่อส่งต่อไปยัง รพ.ภายนอกเพื่อรับการผ่าตัดและรักษาต่อไป โดยแพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นว่าจะต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปี

2) กัลยา (นามสมมติ) ประชาชนจากกรุงเทพฯ ผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่เรือนจำจังหวัดนราธิวาสประสบกับความเจ็บป่วยหลากหลายอาการจากโรคลิ่มเลือดอุดตันตั้งแต่ช่วงแรกที่ถูกคุมขังจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าระยะหลังจะได้รับความช่วยเหลือจากเรือนจำพาไปตรวจและรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตันที่โรงพยาบาลด้านนอกเรือนจำแล้ว แต่ยังพบว่าต้องเผชิญอาการของโรคบางอย่างอยู่

3) ผู้ต้องขังหลายรายเป็นหวัดและเป็นไข้ในช่วงนี้ เนื่องจากตอนกลางคืนมีอากาศที่ค่อนข้างเย็น รวมถึงหลายรายยังคงประสบปัญหาความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากการถูกคุมขังเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีอาการนอนไม่หลับ หมดความหวัง หดหู่ และซึมเศร้า

 

จนถึงตอนนี้ พบว่า ยังคงไม่มีใครได้ประกันตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แล้ว และไม่มีผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 คนใดได้รับการประกันตัวต่อเนื่องหลายเดือนแล้วตั้งแต่ปี 2566 แม้ว่าเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาจะมีการยื่นประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง ‘ชุดใหญ่’ พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคมเปญนิรโทษกรรมประชาชน แต่ผลปรากฏศาลไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมืองแม้แต่สักคนเดียว แม้ว่าการยื่นประกันตัวผู้ต้องขังแต่ละคนนั้นจะมีเหตุผลประกอบการยื่นคำร้องที่มีน้ำหนักและมีเหตุผล รวมถึงมีการยื่นหลักทรัพย์เพิ่มเติมให้สูงขึ้นเพื่อการันตีว่าการจะไม่หลบหนีก็ตาม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น