“พิชัย” ร่วมเปิดตัว “สมาคมสื่อไทย-จีน” โชว์วิชั่นนำปท.สู่การค้าโลก

"พิชัย" ร่วมเปิดตัว "สมาคมสื่อไทย-จีน" โชว์วิชั่นนำปท.สู่การค้าโลก

พิชัย” ร่วมเปิดตัว “สมาคมสื่อไทย-จีน” โชว์วิชั่นนำประเทศสู่การค้าโลก

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา “สมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน” นำโดย นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน ได้จัดงานเปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนไทย- จีน ณ ห้องพาโนรามา โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ พร้อมเชิญ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ อดีตรมว.พลังงาน เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยในมิติความร่วมมือกับจีน ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ระเบียบโลกใหม่และภูมิรัฐศาสตร์: ผลต่อเศรษฐกิจและการเมืองไทยจีน

ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ระบุว่า ความสัมพันธ์ไทย-จีน​ มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี​ และ ความสัมพันธ์ทางการทูตยุคใหม่ครบ 50 ​ปี ในปี 2568 นั้นจะมีเรื่องราวมากมายให้สื่อไทย-จีน​ ได้ติดตามนำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนสองฝ่าย​ โดยสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน​ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยกิจกรรมต่างๆ​ รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการค้าการลงทุนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนด้วย

“การจัดตั้งสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน เพื่อส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อไทย-จีน และ ส่งเสริมสร้างการรับรู้ที่ดีของทั้งสองฝ่ายในการนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ช่วยเหลือส่งเสริมในการทำข่าวที่ถูกต้อง แม่นยำเพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชนทั้งสองฝ่ายตามเจตนารมณ์ของสมาคมฯ”

"พิชัย" ร่วมเปิดตัว "สมาคมสื่อไทย-จีน"

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทางด้าน นายพิชัย เริ่มต้นกล่าวสรุปปัญหาของไทยก่อนเข้าสู่โหมดความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน ว่า ประกอบด้วย 10 เรื่องสำคัญ อาทิ 1.เรื่องของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้ามามีผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต และ ถือเป็นปัญหาค่อนข้างรุนแรงกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน 2. เรื่องสภาพอากาศที่มีความเปลี่่ยนแปลงอย่างรุนแรง จากอุณหภูมิร้อนในประเทศที่เคยอยู่ในระดับ 38-39 องศา ปัจจุบันขึ้นสูงไปถึง 45 องศา 3.การแบ่งขั้วฝ่ายทางสังคมในประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นปัญหาเกิดขึ้่นแล้วในอดีต และเมื่อเกิดขึ้นอีกครั้ง ต้องร่วมกันแก้ไขเพื่อไม่ให้กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.ความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Server Security ซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น 5.ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่เกิดขึ้นในหลายจุดของโลก ทั้งกรณี “รัสเซีย-ยูเครน” และ “อิสราเอ-ฮามาส” ไม่นับรวมจุดน่าวิตกที่สุด อย่างกรณีเหตุขัดแย้งระหว่าง “จีน-ไต้หวัน” เพราะปัญหานี้มีผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจ

 

 

6.ปัญหาว่าด้วยสถานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากในการทำให้ธุรกิจเติบโตเหมือนในอดีต เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น และประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้โอกาสเข้าถึงความก้าวหน้าทางสังคมเกิดขึ้นได้ยาก 7.ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งยังเป็นปัญหาหลักของไทย หลังจากมีตัวเลขยืนยันการติดลบต่อเนื่อง 5 เดือน และมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ถ้าไม่มีการแก้ไขให้ถูกจุด หรือมีมุมมองที่ถูกต้องจากฝ่ายเกี่ยวข้อง

8.การย้ายถิ่นฐานในลักษณะการบังคับให้มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราเห็นเกิดขึ้นในหลายประเทศ และ หากไม่สามารถยุติได้จะเป็นปัญหาของโลกต่อไป 9.ความตกต่ำของระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงอีกเหลือเพียง 2% ขณะที่จีดีพีไทยตลอด 5 ปีที่ผ่านมีอัตราขยายตัวต่ำกว่าเศรษฐกิจโลก และ 10 . ปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น จนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ เพราะสร้างปัญหาด้านสุขภาพให้กับคนไทย รวมถึงภาพลักษณ์ประเทศ ซึ่งทุกฝ่ายคาดหวังจะสามาถแก้ไขได้ในไม่ช้า

 

ช่วงท้าย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่า ขณะที่ไทยคาดหวังจะเห็นนักลงทุนจีนเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น การประสานระหว่างไทยและจีน ผ่านสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน จึงถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจากการติดตามข่าวจีนมาตลอดแต่กับพื้นที่สื่อของไทย ไม่ค่อยได้เห็นข้อมูลรายละเอียดเหล่านี้

โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาของจีนที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างต่อภาคธุรกิจไทย จึงอยากให้สมาคมสื่อฯถ่ายทอดความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ ของจีนให้คนไทยได้ร่วมศึกษาพัฒนาต่อยอดความรู้ความสามารถต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ส่วนตัวยังเชื่อว่าภายใต้ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและการค้าของชาติมหาอำนาจโลก ท้ายสุดอาจเป็นผลดีในการตัดสินใจของจีน สำหรับการเลือกไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้ามากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกีดกันทางการค้า

 

 

“ผมอยากเห็นการวางตัวของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในภาพรวมที่เราจะได้รับ เพราะจีนเป็นประเทศที่มีการส่งออกมาก ดังนั้นการที่ประเทศจีนมีปัญทางการค้ากับสหรัฐ จีนก็คงมีแผนจะเดินหน้ากระจายฐานการผลิตออกไปในหลาย ๆ ประเทศ และเราก็หวังว่าจีนจะเลือกไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่สำคัญในอนาคต ซึ่งทฤษฎี ไชน่า พลัส วัน และ อินเดีย พลัส วัน ทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นฐานการผลิตที่ 2 ของบริษัทในจีน หรือ อินเดีย ได้ ซึ่งถือเป็นปริมาณการผลิตที่ใหญ่มาก และเรื่องเหล่านี้ถือเป็นนโยบายของภาครัฐที่จะดำเนินการต่อไป”

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด สาวขับเบนซ์พุ่งชน จยย.กระเด็นเสียชีวิต 2 ราย กลางถนนเสนานิคม-จตุจักร
รัฐบาลเตือนมิจฉาชีพอ้างเป็น “กรมบัญชีกลาง” ลวงดูดเงินประชาชน
สายสีแดง ชวนเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ สูดอากาศบริสุทธิ์ สะดวก เดินทางง่าย ติดรถไฟฟ้า
“สาวไทย” โคตรแสบ! ช่วยแฟนผิวสีขนโคเคนเข้าเมือง โดนชาร์จคา ตม.สระแก้ว
‘ผอ.อผศ.’ จัดกิจกรรม นักรบ พบ รด. ปลุกจิตสำนึกเยาวชนต่อความเสียสละของทหารผ่านศึก
ผบช.น. สั่งเอาผิดขั้นเด็ดขาด เก๋งหัวร้อนพุ่งชนไรเดอร์ดับ แจ้ง 2 ข้อหาหนัก-ค้านประกันตัว
"ปอศ.-สรรพสามิต" บุกยึดบุหรี่เถื่อน ลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
"ตำรวจ" เตือน "Jagat" แอปฯล่าเหรียญ สัญชาติอินโดฯ ไม่ได้จดทะเบียนในไทย อันตรายหลายจุด
กรมอุตุฯ เผยไทยอุ่นขึ้น 1-2 องศาฯ อากาศยังเย็นอยู่  กทม.หนาวสุด 19 องศาฯ
"กรมวังฯ" ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจฯ ณ เรือนจำ จ.ภูเก็ต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น