วันที่ 11 ก.พ.67 ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ภาพผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich พร้อมข้อความระบุว่า
สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะอ้างว่าไม่มีระเบียบ ถอดถอนปริญญาได้เฉพาะกรณี plagiarism ได้อย่างเดียว ไม่สามารถถอดถอนกรณี Data Falsification กับ Data Fabrication ในกรณีของณัฐพล ใจจริงนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ตนเองมีอำนาจ ฟังไม่ขึ้น เป็นการไม่รับผิดชอบ และไม่ทำหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว
อธิบายแบบหลักรัฐศาสตร์หรือหลักนิติศาสตร์เบื้องต้น
ผู้ใดมีอำนาจสถาปนา ผู้นั้นมีอำนาจถอดถอน
Great power comes with great responsibility.
แล้วที่ในพ.ศ. 2554 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถอดถอนปริญญาเอกของ ศุภชัย หล่อโลหะการไปแล้วนั้น ก็ยังไม่มีระเบียบใดๆ เลยจึงได้สอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตอนนั้นไม่มีระเบียบเลยก็ยังถอดถอนได้ ประธานกรรมการสอบคือ ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ อุปนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ ศ. ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
วันนี้ พ.ศ. 2567 ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณเป็นประธานกรรมการสอบ
นอกจากจะมี
1. คำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในพ.ศ. 2554 ว่าสามารถถอดถอนปริญญาได้
2. คำพิพากษาศาลอาญา กรณี ณัฐพล ใจจริง ฟ้องหมิ่นประมาท ศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ก็ตัดสินออกมาแล้วมี data falsification และ data fabrication จริงจึงยกฟ้อง
3. ผลการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง ก็ออกมาแล้วและฟันธงว่าผิดจริง
ทางสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหลังพิงสามอย่างแล้ว ในการที่จะถอดถอนปริญญาของณัฐพล ใจจริง
รออะไรอยู่ครับ
มีอำนาจหน้าที่ก็ทำหน้าที่สิครับ