ย้อนอดีต “วันหยุดราชการ” หยุดยาวต่อเนื่อง 19 วัน รวม 40 วัน?

ย้อนอดีต วันหยุดราชการ หยุดยาวต่อเนื่อง 19 วัน รวม 40 วัน?

"วันหยุดราชการ" ในอดีตของไทย หยุดวันอะไรบ้าง จริงหรือไม่ หยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน รวม 40 วันต่อปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 10 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

TOP News รายงานประเด็น “วันหยุดราชการ” จริงหรือไม่ ในอดีตประเทศไทย มีวันหยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน รวม 40 วันต่อปี แล้วหยุดวันอะไรกันบ้าง ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 – รัชกาลที่ 10 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ข่าวที่น่าสนใจ

วันหยุดราชการ ในอดีตของไทย หยุดวันอะไรบ้าง จริงหรือไม่ หยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน รวม 40 วันต่อปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 10 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

สำหรับมนุษย์เงินเดือน วันหยุดในแต่ละปีที่ชวนฝันที่สุด คงหนีไม่พ้น วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ แต่แม้บางคนจะต้องทำงาน ก็ยังมีค่าแรงและเบี้ยเลี้ยงเพิ่มให้ ก็ถือว่าดีสำหรับคนที่ไม่อยากไปแย่งกันกินแย่งกันเที่ยว ซึ่งวันหยุดยาว ก็มีตั้งแต่ 3 วัน 5 วัน ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน โดยเอกชนก็จะใช้ วันหยุดราชการ นี่แหละมาอ้างอิง แล้วรู้หรือไม่ ในอดีตที่ผ่านมา ราชการกำหนดวันอะไรเป็นวันหยุดกันบ้าง

เริ่มจากวันหยุดราชการสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริถึงวันหยุดว่า “การหยุดนั้นมี 3 อย่าง สำหรับได้ผ่อนร่างกายบ้างอย่างหนึ่ง หยุดเพื่อแสดงความเคารพต่อพระบรมราชวงศ์อย่างหนึ่ง เพื่อเคารพต่อพระศาสนาอีกอย่างหนึ่ง”

โดยมีวันหยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 15 เมษายน คือ พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แลนักขัตฤกษ์ ซึ่งรวมวันตรุษไทย หรือเทศกาลสิ้นปีของไทย วันขึ้นปีใหม่เดิมของไทย วันที่ 1 เมษายน และเทศกาลสงกรานต์ เข้าไปไว้ด้วยกัน

ส่วนวันหยุดอื่น ๆ ในปีนั้นก็ยังมี วิสาขบูชา หยุด 3 วัน เข้าพรรษา หยุด 7 วัน ทำบุญพระบรมอัษฐิพระพุทธเจ้าหลวง หยุด 1 วัน ทำบุญพระบรมอัษฐิ และพระราชพิธีฉัตรมงคล หยุด 4 วัน เฉลิมพระชนมพรรษา หยุด 5 วัน และ มาฆบูชา จาตุรงค์สันนิบาติ หยุด 1 วัน

แต่มาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 วันหยุดราชการ พ.ศ. 2468 อย่าง ตรุษสงกรานต์ กลับหยุดเพียง 4 วัน คือวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน ส่วนวันหยุดอื่น ๆ ก็มี วันที่ระลึกมหาจักรี วิสาขบูชา เข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา และ พระราชพิธีฉัตรมงคล

รัชกาลที่ 8 วันหยุดราชการ พ.ศ. 2480 ที่น่าสนใจ คือ มีวันหยุดเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ ถึง 3 รายการ คือ วันที่ 24 มิถุนายน วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันที่ 27 มิถุนายน วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว และ วันรัฐธรรมนูญ หยุด 3 วัน คือวันที่ 9 – 11 ธันวาคม

ส่วนวันตรุษสงกรานต์ ลดเหลือหยุดเพียง 3 วัน คือวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน วันหยุดอื่น ๆ เช่น วันจักรี วันวิสาขะบูชา วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา และเพิ่มวันหยุด วันมาฆบูชา

สมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศวันหยุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2493 ที่น่าสนใจคือ มีวันขึ้นปีใหม่ หยุด 3 วัน วันที่ 31 ธันวาคม – 2 มกราคม วันสงกรานต์ หยุด 3 วัน วันที่ 13 – 15 เมษายน วันชาติ วันที่ 24 มิถุนายน วันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม

ส่วนวันหยุดอื่น ๆ ได้แก่ วันมาฆบูชา วันจักรี วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันปิยะมหาราช วันเฉลิมพระชนมพรรษา และ วันรัฐธรรมนูญ

วันหยุดราชการ ในอดีตของไทย หยุดวันอะไรบ้าง จริงหรือไม่ หยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน รวม 40 วันต่อปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 10 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

โดยปัจจุบัน ปี 2567 “วันหยุดราชการ” มีการกำหนดโดยคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยวันหยุด ราชการ ตามปฏิทินไทยและวันหยุด ราชการ ตามปฏิทินสากล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • วันหยุด ราชการ ประจำปี เป็นวันหยุด ราชการ ที่ตรงกับวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันแรงงานแห่งชาติ วันรัฐธรรมนูญ
  • วันหยุด ราชการ เฉพาะกิจ เป็นวันหยุด ราชการ ที่ประกาศโดยคณะรัฐมนตรีเพื่อกรณีพิเศษ เช่น วันพระราชพิธีสำคัญ วันรัฐพิธีสำคัญ เป็นต้น

ซึ่งวันหยุดปี 2567 นี้ ที่ได้หยุดยาว 3 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ 24 – วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์

วันศุกร์ที่ 12 ถึงวันอังคารที่ 16 เมษายน หยุดยาว 5 วัน เนื่องในวันสงกรานต์ และเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ

เนื่องในวันฉัตรมงคล หยุดยาว 3 วัน วันที่ 4 – 6 พฤษภาคม

เดือนกรกฎาคม มีวันหยุดยาว 3 วัน 2 ช่วง เริ่มต้นด้วย เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา 20 – 22 และวันที่ 27 – 29 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

เนื่องในวันนวมินทรมหาราช หรือ วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หยุดยาว 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 12 – 14 ตุลาคม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วันหยุดราชการ นั้น สะท้อนสภาพบ้านเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละช่วงเวลา ที่ผ่านมา วันหยุดราชการ จึงมีการเพิ่ม การลด หรือคงไว้ ตามสถานการณ์

วันหยุดราชการ ในอดีตของไทย หยุดวันอะไรบ้าง จริงหรือไม่ หยุดยาวต่อเนื่องถึง 19 วัน รวม 40 วันต่อปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 10 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น