“รทสช.” งัดสถิติสาวกหลงผิดติดคดี112น้อยนิดไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรมจุดชนวนความขัดแย้งรอบใหม่

"รทสช."งัดสถิติสาวกหลงผิดคลั่งการเมืองติดคดี112น้อยนิดไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรมจุดชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ ผงะตัวเลขแค่หยิบมือ ศูนย์ทนายฯ 3 นิ้วแจงสถิตินักโทษคดี 112 อดข้าวประท้วง 8 ปี 30 ครั้ง

เหมือนตอกหน้า “พรรคก้าวไกล” สะเทือนสาวก 3 นิ้วหลงผิดคลั่งการเมืองคล้อยตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อล้มล้างการปกครองยกเลิกมาตรา 112 ที่กำลังติดคุกหรือต้องเดินขึ้นศาลในคดี 112 เมื่อได้เห็นตัวเลขเชิงสถิติที่ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) งัดออกมาโชว์

“นายพงศ์พล” ในฐานะรองโฆษก รทสช. และ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร นำออกมาเปิดเผยถึงกับต้องตะลึงเนื่องจากพบว่า คดี 112 หมิ่นสถาบัน กับ คดี 116 ยุยงปลุกปั่น มีเพียงน้อยนิดคิดเป็น 2% เท่านั้น ดังนั้นจึงแทบไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรม แต่อย่างใด พร้อมกับกล่าวว่า เรื่อง “นิรโทษกรรมล่าสุด ตัวเลขไม่หลอกใคร จากสัปดาห์ก่อน ที่ผมบอกว่าคณะกรรมาธิการจะตัดสินอย่างตั้งธงอย่างไรว่าจะเลือกนิรโทษกรรม คดีใดบ้าง ต่างพรรคต่างความคิด เถียงกันไม่รู้จบ โดยเฉพาะคดีอย่าง อาญาม.112 และ ได้เสนอที่ประชุมให้มีการเริ่มพิจารณาจากตัวเลขข้อมูลจริง เรียงตามรายคดี ซึ่งที่ประชุมมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด และสืบเพิ่มข้อมูลอัพเดท ตามกรอบที่คณะกมธ.ชุดใหญ่วางไว้คือ ตั้งแต่ มค. 2548 – ปัจจุบัน ครอบคลุมทั้ง 4 เหตุการณ์ชุมนุม พันธมิตรฯ นปช. , กปปส และกลุ่มเยาวชน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ค้นพบว่า ข้อมูลจากคณะกรรมการสมานฉันท์ปี 66 เลขาธิการสภาฯ รายงานว่า คดีจูงใจทางการเมืองมีทั้งสิ้น (ถึงมีนาคม พศ.2563) จำนวน 57,966 คดี ประกอบด้วย

1.พรก. สถานการณ์ฉุกเฉิน พศ.2548 จำนวน 43,966คดี
2. พรบ. ความสะอาด พศ.2535 จำนวน 8,452คดี
3. อาญา ม.368 ขัดคำสั่งจนท. จำนวน 3,072คดี
4. อาญา ม.215 มั่วสุม จำนวน 336คดี
5. อาญา ม.385 กีดขวางการจราจร จำนวน 260คดี
6. พรบ. กระจายเสียงและโทรทัศน์ พศ.2551 จำนวน 238คดี
7. อาญา ม.112 หมิ่นสถาบัน จำนวน 1,206คดี
8 . อาญา ม.116 ยุยงปลุกปั่นจำนวน 150คดี

จากทั้งหมดมี 3 คดี ที่มีการดำเนินคดีมากที่สุด ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน , พรบ.ความสะอาด และ ขัดคำสั่งจนท. รวมกันมากถึง 55,490 คดี หรือคิดเป็น 96.2%ของทั้งหมด ขณะที่ มาตรา112 มีการดำเนินคดีต่ำมาก คิดเป็น 2.08% จากทั้งหมด

หากร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ตั้งใจสร้างความปรองดอง สู่สาธารณะ คือลดคู่ขัดแย้งทางการเมืองให้มากที่สุด การนิรโทษกรรม 3 คดีหลักเกี่ยวกับการชุมนุมเหล่านี้ ซึ่งล้วนเป็นคดีลหุโทษที่ยอมความง่าย เท่ากับแก้ปัญหาลดความขัดแย้ง ไปแล้วเกือบทั้งหมด 96.2% โดยไม่ต้องแตะคดีความ อย่าง ม.116 ปลุกปั่น, ม.112 หมิ่นสถาบัน หรือกระทั่งการผิด พรบ.โบราณสถานเพราะไปพ่นสี ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากเมื่อมองจากภาพใหญ่ ที่เมื่อมีการนิรโทษกรรมไปแล้ว อาจก่อความขัดแย้งครั้งใหม่ แต่หากต้องการจะทำจริงๆ กระบวนการสารภาพผิด, เยียวยา และลงนามไม่กระทำอีก จะมีบทบาทเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งผมจะมานำเสนอต่อไปครับ

 

ขณะที่ “ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน” เปิดเผยข้อมูลสถิติการอดอาหารประท้วงเรียกร้องในเรือนจำ โดยระบุว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากว่า 30 ครั้ง ตลอดเกือบ 8 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ปี 2559 โดย “ไผ่” จตุภัทร์ ผู้อดอาหารประท้วงในเรือนจำระหว่างถูกคุมขังคดีแจกใบปลิวประชามติที่ภูเขียว เรื่อยมากระทั่งตอนนี้ในช่วงต้นปี 2567 ที่มีการประท้วงของ “บุ้ง” เนติพร, “ตะวัน” ทานตะวัน “แฟรงค์” ณัฐนนท์ และ “บัสบาส” มงคล

โดยจากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์ทนายฯ ภายหลังการรัฐประหารปี 2557 จนถึงปัจจุบัน 5 มีนาคม 2567 มีการอดอาหารประท้วงโดยผู้ต้องขังทางการเมืองเกิดขึ้นในเรือนจำหรือระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว อย่างน้อย 30 ครั้ง โดยผู้ประท้วง 24 คน แบ่งเป็น
-ปี 2559 จำนวน 1 ครั้ง
-ปี 2560 จำนวน 1 ครั้ง
-ปี 2564 จำนวน 11 ครั้ง
-ปี 2565 จำนวน 7 ครั้ง
-ปี 2566 จำนวน 6 ครั้ง
-ปี 2567 จำนวน 4 ครั้ง

การประท้วงที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง สามารถขมวดประเด็นของข้อเรียกร้องออกเป็น 5 เรื่อง ได้แก่ 1. สิทธิประกันตัว ปล่อยตัวผู้ต้องขังการเมือง จำนวน 23 ครั้ง 2. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ประท้วงกระบวนการยุติธรรม ประท้วงความอยุติธรรม เรียกร้องความยุติธรรม จำนวน 15 ครั้ง 3. ความเป็นอยู่และสวัสดิภาพในเรือนจำ จำนวน 2 ครั้ง 4. ยุติการดำเนินการเมือง นิรโทษกรรม ยกเลิก ม.112 – ม.116 จำนวน 3 ครั้ง และ 5.ประเทศไทยไม่สมควรเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น จำนวน 2 ครั้ง

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุเพิ่มเติมอีกว่า ข้อเรียกร้องนี้ต่างจากข้อเรียกร้องอื่นๆ เป็นเรื่องใหม่ในปีนี้ สอดคล้องกับท่าทีทางการเมืองของรัฐบาลชุดนี้ที่นำโดยเศรษฐา ทวีสิน จากการเรียกร้องของ “ตะวัน” และ “แฟรงค์” ในการอดอาหารและน้ำประท้วงที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธฑ์ 2567 จนถึงปัจจุบัน 5 มีนาคม ยังไม่พบความคืบหน้าของข้อเรียกร้องนี้ หรือการให้ความเห็นใด ๆ จากฝั่งรัฐบาล

ดังนั้นสถิติคดี 112 เพียง 2% ที่นายพงศ์พล งัดออมาเหมือนตีแสกหน้า ขบวนการ 3 นิ้วที่ต้องการนิรโทษกรรมพวกตัวเอง แต่ไม่ยอมรับสารภาพผิด กระทำผิดซ้ำซากและยื่นเงื่อนไขสุดโต่งย้อนแย้งกับข้อเท็จจริง ควรจะได้รับการนิรโทษกรรม หรือ รับโทษในสิ่งที่ตัวเองทำผิดลงไปดีกว่าไหม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น