ผู้เชี่ยวชาญ หวั่นพะยูนส่อสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลไทยเหลือพียง 36 ตัว

คณะทำงานแก้ไขปัญหาด้านการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล ลงพื้นที่หาสาเหตุ และแก้ไขปัญหาพะยูน หวั่นสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลตรังเหลือเพียง 36 ตัว คู่แม่ลูกเพียง 1 คู่ จากปีที่ผ่านมาพบพะยูน 194 ตัว แม่ลูก 12 คู่

ผู้เชี่ยวชาญ หวั่นพะยูนส่อสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลไทยเหลือพียง 36 ตัว – Top News รายงาน

สูญพันธุ์

(12 มีนาคม 2567) จากกรณีที่ พบพะยูน เพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี เกยตื้นตายในสภาพซูบผอม และ ตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงตอนนี้ พบพะยูนในทะเลตรังเกยตื้นตายแล้ว 4 ตัว ซึ่งทั้งหมดป่วย และซูบผอม คาดสาเหตุหลักเกิดจากปัญหาสภาพระบบนิเวศน์ในทะเล ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง พื้นดินปกคลุมด้วยตะกอนดิน หญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนทั่วทะเลตรังเสื่อมโทรมหนัก รวมไม่ต่ำกว่า 30,000 ไร่ นั้น

ล่าสุดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ส่ง คณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ซึ่งประกอบ ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก ด้านสมุทรศาสตร์  และตัวแทนกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ ลงพื้นที่อย่างเร่งด่วนตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมจนถึงสัปดาห์นี้ เพื่อหาสาเหตุของการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล และนำข้อมูลที่ได้มาออกมาตรการแก้ไขหรือฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยเร็วที่สุด

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยคณะทำงานได้แบ่งการทำงานทั้งภาคพื้นดิน ในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณแหล่งหญ้า ติดตามการเปลี่ยนแปลงของหญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดตรัง (Line Transect, เก็บตัวอย่างดินตะกอน) เก็บข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์กายภาพในพื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม เก็บตัวอย่างการปนเปื้อนของโลหะหนัก (Heavy metals) และ มลสารอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน(Persistent Organic Pollutants) ในตะกอนดินและหญ้าทะเล

รวมทั้งการสำรวจโดยใช้โดรน และการบินสำรวจพะยูนและสัตว์ทะเลหายากด้วย และวิธีการสำรวจทางเรือ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง / เบื้องต้น พบพะยูนเพียง 36 ตัว พบพะยูน คู่แม่-ลูก จำนวน 1 คู่ พบโลมาหลังโหนก 6 ตัว พบโลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่ และเต่าทะเล 38 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์

ผู้เชี่ยวชาญ

 

ส่วนโลมาหลังโหนก สุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้นำไปคำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดตรังต่อไป / จากการสำรวจสรุปได้ว่า ประชากรพะยูนในปีนี้ลดลงอย่างน่าใจหาย เหลือเพียงประมาณ 36 ตัวเท่านั้น พบคู่แม่ลูกเพียง 1 คู่ โดยในปี 2566 พบพะยูน 194 ตัว คู่แม่ลูกถึง 12 คู่ เชื่อว่าพะยูนทะเลตรัง กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติอย่างหนักมีโอกาสจะสูญพันธุ์ในอนาคต ทั้งนี้นักวิชาการ มองว่า สาเหตุหลัก เกิดจากปัญหาโลกร้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น