“วันไตโลก” 14 มี.ค. รู้จักหน้าที่ความสำคัญการป้องกันและรักษา

วันไตโลก 14 มี.ค. รู้จักหน้าที่ความสำคัญการป้องกันและรักษา

14 มีนาคม 2567 "วันไตโลก" ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

TOP News รายงาน “วันไตโลก” (World Kidney Day) มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2549 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีของสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันไตโลก เพื่อรณรงค์ให้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไต รวมถึงส่งเสริมให้ความรู้และความเข้าใจในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต

ข่าวที่น่าสนใจ

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

“วันไตโลก” ไตสำคัญ?

  • ไตเป็นอวัยวะภายในร่างกาย มี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว รูปร่างเป็นเม็ดถั่วแดง ไต ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า หน่วยไต (nephron) หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุขัย ไต เปรียบเสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษที่มีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต ทำหน้าที่
  1. กำจัดของเสีย
  2. ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
  4. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
  5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
  6. ควบคุมความดันโลหิต
  7. และสร้างฮอร์โมน

อาหารดีต่อไต?

ตัวอย่างอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อไต อาทิ

น้ำเปล่า

  • ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นตัวช่วยกรองสารพิษจากเลือดและขับสารพิษออกทางปัสสาวะ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการโรคไตอยู่แล้วและมีอาการบวมน้ำ ควรบริโภคน้ำตามความเหมาะสม เช่น 3 – 4 แก้วต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะลดลง ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้

ปลาทะเล

  • ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดการอักเสบ และสาร DHA ในกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังมีคุณสมบัติช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันเลว (LDL) ที่สะสมในหลอดเลือด ข้อมูลของมูลนิธิโรคไตแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งการมีความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคไต ดังนั้น ควรรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับดีเพื่อช่วยปกป้องสุขภาพไตอีกทางหนึ่ง

ลูกเดือย

  • เป็นธัญพืชที่มีสรรพคุณบำรุงไต บำรุงตับ จัดเป็นยาอายุวัฒนะตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ลูกเดือยมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้าง ลดอาการบวมน้ำ ทั้งยังมีสารสำคัญชื่อว่า สารคอกซีโนไลด์ (Coxenolide) ซึ่งมีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก และอาจลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้

กะหล่ำปลี

  • จัดเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ไม่เพิ่มภาระให้ไต ทั้งยังมีกรดฟอลิก วิตามินซี ไฟเบอร์ พร้อมสรรพคุณช่วยขับสารพิษและกรดยูริกออกจากร่างกาย

กระเทียม

  • เป็นแหล่งที่ดีของแมงกานีส ซัลเฟอร์ วิตามินซี วิตามินบี 6 และยังจัดเป็นเครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยให้อาหารอร่อย มีรสชาติเข้มข้นขึ้น ดังนั้น จึงช่วยลดการใส่เครื่องปรุงอาหารไปได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ กระเทียมยังมีสารอัลลิซิน สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา มีสรรพคุณลดความเสี่ยงโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต รวมทั้งช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ

สับปะรด

  • เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และคนที่ยังไม่ป่วยโรคไต สับปะรดก็จะช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ได้ เพราะมีเอนไซม์บรอมีเลน ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ลดการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง มีวิตามินซีสูง และมีแมงกานีสด้วย

แอปเปิล

  • เป็นผลไม้ที่มีเพกติน เส้นใยอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

“วันไตโลก” โรคไตคืออะไร?

  • โรคไต คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไตวาย ไตเสื่อม ไตทำงานลดลง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
  1. โรคไตเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
  2. โรคไตเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป รักษาไม่หายขาด และอาจดำเนินโรคต่อเนื่องจนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต

สัญญาณเตือนโรคไต?

  • หากคุณมีอาการโรคไตเหล่านี้ บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคไตแล้ว รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาโดยทันที โดยอาการเตือนมีดังนี้

อาการบวม หน้าบวม ขาบวม

  • เกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างปกติ จนเกิดการคั่งของน้ำและเกลือ ส่งผลให้เกิดอาการบวมตามร่างกายขึ้น เช่น อาการบวมบริเวณเปลือกตา ใบหน้า เท้า และหน้าแข้ง โดยจะเห็นได้ชัดเจนในตอนที่ยืน หรือเดินนาน ๆ สามารถตรวจง่ายด้วยการใช้นิ้วกดลงไปที่เท้า หรือหน้าแข้งค้างไว้ประมาณ 5 – 10 วินาที แล้วสังเกตว่ามีการบุ๋มลงไปหรือไม่ หากมีรอยบุ๋มอย่างชัดเจนแสดงว่าคุณอาจเป็นโรคไตแล้ว

ปัสสาวะมีฟอง

  • การขับปัสสาวะมีฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาว หรือโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง โดยสามารถสังเกตได้เวลาถ่ายปัสสาวะแล้วมีฟองเกิดขึ้น หรือเมื่อกดน้ำล้างแล้วแต่ก็ยังมีฟองหลงเหลืออยู่

ปัสสาวะเป็นเลือด

  • ในภาวะปกติ ปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเข้ม ขึ้นกับปริมาณน้ำที่รับประทานในขณะนั้น ๆ แต่ถ้ามีลักษณะที่ปัสสาวะมีเลือดปนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือลักษณะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ สีแดง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติเกิดขึ้นกับไต หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ

  • ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับปกติ จะไม่ได้ดื่มน้ำ การทำงานของไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะลดลงและถูกเก็บในกระเพาะปัสสาวะ จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ โดยปกติในแต่ละคืนจะลุกมาปัสสาวะไม่เกิน 1 – 2 ครั้ง แต่ถ้าไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ซึ่งไตจะไม่สามารถดูดกลับน้ำได้เท่าปกติ จะทำให้ผู้ป่วยต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยมากขึ้น หรือประมาณ 4 – 5 ครั้ง/คืน

ปวดเอว ปวดหลังมากผิดปกติ

  • อาการปวดนั้นอาจจะพบที่บริเวณเอว หรือหลัง เกิดจากรอยโรคที่บริเวณไต ซึ่งอยู่บริเวณหลังเอวทั้ง 2 ข้าง โดยสาเหตุมักเกิดจาก นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากโรคถุงน้ำที่ไต หรือเนื้องอกของไตก็ได้

ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ

  • ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี หรือความดันโลหิตสูงที่คุมได้ยากโดยจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการควบคุม สาเหตุอาจเกิดจากโรคไต เช่น ไตอักเสบ ไตวาย หรือ เส้นเลือดไปเลี้ยงไตตีบ เป็นต้น

คลื่นไส้อาเจียนมาก

  • หากคุณมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก เบื่ออาหารร่วมด้วย อาจเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง แต่ในโรคไตเรื้อรังนั้น จะทำให้มีอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน รวมทั้งอาการเหล่านี้มักเกิดในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตในที่สุด

สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว แนะนำต้องรีบเข้ารับการการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์อายุรศาสตร์โรคไต เพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยโรคไตนั้น ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อที่แพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค ควบคุมรักษาที่สาเหตุ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง หรือ โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น