“นักเขียนดัง” ยกฉากเด็ด 2475 ตบหน้า “3 นิ้ว” คณะราษฎรจับขัง-ประหาร คนเป็นปฎิปักษ์รบ.

"นักเขียนดัง" ยกฉากเด็ด 2475 ตบหน้า "3 นิ้ว" คณะราษฎรจับขัง-ประหาร คนเป็นปฎิปักษ์รบ.

นี่เป็นคำร้องของลิเก ปรากฎเรื่องราวอยู่ในหนังแอนิเนชั่น 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ในช่วงเวลาที่ 1 ชั่วโมง 45 นาที มาทบทวนเล่าเรื่องราวเหล่านี้กัน โดยนายปฏิพล อภิญญาณกุล นักเขียนชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความว่า หลังปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 และได้รัฐธรรมนูญมาไม่ถึงปี ลายของเสือ ขนของหมา สันดานของคน ก็เผยออกมา พอมีนาคม 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (หรือปรีดี พนมยงค์) ได้นำเค้าโครงเศรษฐกิจสมุดปกเหลือง เข้าที่ประชุมสภา เค้าโครงเศรษฐกิจที่เลียนแบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์จากรัสเซีย ด้วยการเอาที่ดินต่างๆ มาเป็นของรัฐ และให้ราษฎรเป็นลูกจ้างของรัฐ ได้ทำให้เกิดการแตกแยก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จึงได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ 2476 เพื่อป้องกันการเป็นคอมมิวนิสต์ขึ้น ทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ต้องถูกเนรเทศไปยังฝรั่งเศส แต่ใช้ข้ออ้างว่า ไปดูงาน เพราะยังคงได้รับงบค่าใช้จ่ายต่างๆ จากเงินหลวง

 

 

 

 

12 เมษายน 2476 ซึ่งเป็นวันเดินทาง มีคณะนายทหารที่ร่วมปฏิวัติ ได้ไปส่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยาพหลพลพยุหเสนา เดินไปกระซิบกับหลวงประดิษฐ์ฯว่า .. “แล้วเพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมา” ถัดมาแค่ 2 เดือน 20 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้นำกำลังเข้ารัฐประหารยึดอำนาจ จากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา . อันเป็นการรัฐประหารด้วยกำลังเป็นครั้งแรก นับจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี พันโทหลวงพิบูลสงคราม เป็นมือขวา และเป็นจุดเริ่มต้นของเปลี่ยนอำนาจทางการเมืองครั้งใหญ่

พันโทหลวงพิบูลสงคราม นับว่าเป็นคนเก่งในการใช้โอกาสอย่างเจนจัด เมื่อเริ่มต้นมีอำนาจ สิ่งแรกที่ต้องจัดการก็คือ เด้งพระยาทรงสุรเดช และเพื่อนทหาร สายพระยาทรงสุรเดช ตัดอำนาจในการคุมกำลัง ดีดไปไว้ที่ไกลๆ ครั้นพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐประหารยึดอำนาจได้แล้ว เพียงแค่ถัดมา 9 วันเท่านั้น รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้เรียกให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งเป็นหัวหน้าแนวคิดเศรษฐกิจสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ กลับจากฝรั่งเศสคืนสู่ประเทศไทย ในวันที่ 29 มิถุนายน 2476 คำกระซิบที่ว่า “แล้วเพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมา” ก็เป็นจริง การกลับมาคราวนี้ของหลวงประดิษฐ์ ยิ่งโหมความขัดแย้งและความหวาดระแวงลุกลามไปทั่ว

1 ตุลาคม 2476 รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา แต่งตั้งให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรี โดยไม่สนใจคำครหาใดๆ ส่วนทางด้านกองทัพบก พันโทหลวงพิบูลสงคราม ก็ได้โยกย้ายสี่นายทหารเสือ ออกไป แล้วย้ายเอาคนของตนเองเข้ามา โดยไม่สนใจเรื่องอาวุโส หรือคุณสมบัติใดๆ ค่าของคน จึงอยู่ที่คนของใคร

 

 

11 ตุลาคม 2476 เกิดกบฏบวรเดชขึ้น จากความไม่พอใจของกลุ่มนายทหารที่ถูกเด้ง เล่นพรรคเล่นพวก โยกย้ายโดยไม่เป็นธรรม ประกอบกับรัฐบาลพระยาพหลฯ เอานายปรีดี หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม กลับเข้ามาประเทศไทย และให้เป็นรัฐมนตรี

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้ระหว่างคนไทยด้วยกันเองมาโดยตลอด แต่ครั้งนี้ พระองค์ห้ามใครไม่ได้อีกแล้ว เพราะพระองค์ไม่ได้มีอำนาจ ทรงเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ร่างกัน
การต่อสู้ระหว่างคนไทยกันเองจึงเกิดขึ้น ฝ่ายรัฐบาล พยายามจะดึงเอาตัวพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเวลานั้นอยู่ที่วังไกลกังวล หัวหิน รัฐบาลพยายามให้ทหารไปนำพระองค์ให้เข้ามาในกรุงเทพ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายรัฐบาล

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกันฝ่ายกบฏบวรเดช ซึ่งใช้ชื่อคณะก่อการว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ก็ได้พยายามติดต่อรัชกาลที่ 7 ให้พระองค์ทรงมาอยู่กับคณะก่อการ เพื่อสร้างความชอบธรรมเช่นกัน 2 ฝ่ายต่างออกแรงกดดัน เพื่อหวังใช้พระบารมีของพระองค์ เป็นกระแสแห่งความชอบธรรม แต่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เข้าข้างฝ่ายใดเลย พระองค์ทรงเสด็จหนีไปยังสงขลา เพื่อหลีกเลี่ยงการดึงตัว ผลสุดท้าย ทหารฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมือง พ่ายแพ้แก่ทหารฝ่ายรัฐบาล พระยาศรีสิทธิสงคราม ปักหลักอยู่ที่สถานีรถไฟหินลับ สระบุรี ใช้ชีวิตของตนเองสู้ตาย เป็นแนวหลังให้พระองค์เจ้าบวรเดช และนายทหารคนอื่นๆ ถอยทัพไปยังโคราชอย่างปลอดภัย

ทหารฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมืองที่เหลือยอมแพ้ ถูกจับขังคุก 321 นาย พระองค์เจ้าบวรเดชและนายทหารที่หนีได้ จึงลี้ภ้ยไปที่เขมร เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ชาวบ้านร้านช่อง แถวพระนคร อยุธยา สระบุรี โคราช ซึ่งใกล้ชิดกับการเมืองและการเปลี่ยนแปลง ต่างรู้ดี
การรับรู้ของชาวบ้าน ทำให้มีคณะลิเก ได้นำมาแสดงร้องรำว่า “เจ้าคุณพหลเป็นต้นเหตุ พระองค์บวรเดชเป็นต้นเรื่อง ขับเจ้าเข้าป่า แล้วเอาหมามานั่งเมือง”

การร้องรำสะท้อนการรับรู้ของคณะลิเก ไม่สบอารมณ์ของรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้มีการสั่งจับคณะลิเก นี่คือจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยแบบฉบับบคณะราษฎร ก็คือการปิดปากชาวบ้าน ปิดหูปิดตาชาวเมือง ช่างเจริญพวง ดีแท้

 

 

 

นอกจากนี้ สิ่งที่นักเขียนชื่อดังได้สรุปความมาด้านบน ทีมข่าวท็อปนิวส์ยังได้สรุปเนื้อหาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในช่วงท้ายของหนัง มีการสรุปเรื่องราวไว้ได้อย่างน่าสะพรึงกลัวเลยทีเดียว เช่น

-คณะราษฎร ผ่าน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลพิเศษสำเร็จ เพื่อใช้ดำเนินคดีกับผู้เป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง โดยศาลนี้ จะไม่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกา

-พ.ศ.2481 หลวงพิบูลสงคราม ได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ และเริ่มทำการรวบอำนาจทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเอง จากนั้นมีการสั่งจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกบฎ 51 ราย สั่งประหาร 18 ศพ

-พ.ศ.2482 นักโทษการเมือง เชื้อพระวงศ์ และปัญญาชน ถูกส่งไปจองจำที่คุกตะรุเตา
โดยในหนังถึงขั้นทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ประเทศไทย ถูกปกครองด้วยระบอบ ฟาสซิสม์ ในช่วงเวลาหนึ่งเลยทีเดียว

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น