"อาบน้ำดึก" อันตรายกว่าที่คิด หมอยกเคส เด็กหนุ่มวัย 16 ปี ดับสลด แม้โอกาสต่ำมาก แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ก็ยังเกิดขึ้นได้ แล้วอาบน้ำอย่างไรดี ไม่ควรเกินกี่นาที
ข่าวที่น่าสนใจ
“อาบน้ำดึก” ดับสลด?
ดร. มานห์ กล่าวว่า การอาบน้ำสายเกินไปถือเป็นนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
“เพราะช่วงดึกเป็นเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อน การอาบน้ำสายเกินไป จะรบกวนจังหวะการพักผ่อนของร่างกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ”
นอกจากนี้ ดร.มานห์ ยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลมแดดเมื่ออาบน้ำร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่รุนแรงเช่นทุกวันนี้
“การอาบน้ำที่เย็นเกินไปจะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงกะทันหัน ส่งผลให้หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดแรงกดดันต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติปัญหาหัวใจและหลอดเลือด”
ในขณะเดียวกัน การอาบน้ำร้อนเกินไปยังสร้างแรงกดดันต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากการขยายตัวของหลอดเลือดอย่างกะทันหัน
ดร.มานห์ วิเคราะห์ว่า หากนักเรียนชายเพิ่งอ่านหนังสือเครียด ๆ หรือเพิ่งเล่นกีฬาเสร็จ และอาบน้ำทันที ความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เลือดออกในสมอง หรือภาวะสมองตาย เนื่องจากลิ่มเลือดอุดตันผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
และปัญหาหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอยู่แล้วหรือความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง
สำหรับเวลากลางคืน อุณหภูมิภายนอกจะลดต่ำลง ทำให้อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากอุณหภูมิของร่างกายอย่างมาก เมื่ออุณหภูมิของน้ำอาบไม่ตรงกับอุณหภูมิของร่างกาย ร่างกายจะปรับตัวเองโดยการหดตัวหรือขยายหลอดเลือด ดังนั้น หากอาบน้ำตอนดึก ๆ ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะ Heat Shock ได้ง่าย
การอาบน้ำตอนกลางคืนอาจทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่ออาบน้ำเย็นในเวลานี้ เลือดจะไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งอาจทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายและปวดศีรษะเรื้อรังได้ง่าย ในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น ผู้ป่วยอาจเป็นโรคหลอดเลือดสมองและเสียชีวิตขณะอาบน้ำ หรือแม้หลังจากอาบน้ำ ก็อาจมีอาการตัวแข็ง หน้าซีด หัวใจหยุดเต้น หรือเสียชีวิตกะทันหันขณะนอนหลับได้
สุดท้าย คุณหมอย้ำเตือนว่า ทางที่ดีควรอาบน้ำก่อน 3 ทุ่ม และควรอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น หลังจากอาบน้ำ จะต้องเช็ดตัวให้แห้งและสวมเสื้อผ้าที่อบอุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงการอาการไม่สบาย
อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม?
- การอาบน้ำอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและทำให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมิมีความสำคัญอย่างมากในการอาบน้ำ แบ่งเป็น
การอาบน้ำร้อน ที่มีอุณหภูมิประมาณ 37 – 42 องศาเซลเซียส
- จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และรู้สึกผ่อนคลาย เช่นเดียวกับการแช่ออนเซ็น แต่ไม่ควรอาบหรือแช่น้ำร้อนเกิน 15 นาที เนื่องจากอาจเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผิวแห้ง จึงควรทาครีมบำรุงผิวทุกครั้งหลังจากอาบน้ำ
การอาบน้ำอุ่น ที่มีอุณหภูมิประมาณ 27 – 37 องศาเซลเซียส
- ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการอาบน้ำ ช่วยขับของเสีย ทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการบวม มือเท้าเย็น เส้นเลือดขอด และช่วยในการไหลเวียนเลือด ทำให้ผ่อนคลาย สบายตัว และนอนหลับง่ายขึ้น ควรทาครีมบำรุงผิวทุกครั้งหลังจากอาบน้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นก็สามารถทำให้ผิวแห้งได้
การอาบน้ำเย็น ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส
- จะช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อตื่นตัว ทำให้รู้สึกสดชื่น มีงานวิจัยต่างประเทศ ระบุว่า การอาบน้ำเย็นยังสามารถลดอาการซึมเศร้า หดหู่ ได้อีกด้วย ควรทาครีมบำรุงผิวทุกครั้งเช่นกัน เพื่อลดอาการผิวแห้งแตก
ข้อควรระวัง?
- หลังจากอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรโดนลมหรือเข้านอนทันที ในขณะที่ศีรษะยังเปียกชื้นอยู่ เพราะความชื้นที่สะสมเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดอาการป่วยต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้อากาศ หวัดเรื้อรัง ปวดศีรษะ ผมร่วง เป็นต้น
- ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จและอิ่มใหม่ ๆ สาเหตุอันเนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยที่อยู่ตามผิวหนังเมื่อถูกน้ำอุ่นจะเกิดการขยายตัว และเลือดจะกระจายตัวไปสู่ผิวหนังเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการย่อยและระบบการดูดซึม
- หลังดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะร่างกายจะเกิดการสูญเสียกลูโคสมากขึ้น ทำให้เกิดอาการวิงเวียน ตาพร่า อ่อนเพลีย หรือหมดแรง ซึ่งในบางรายหากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป อาจจะร้ายแรงถึงขั้นทำให้หมดสติ
- ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังจากออกกำลังกายเสร็จ ควรพักสักครู่ ประมาณ 10 – 15 นาที เพื่อให้ร่างกายปรับอุณภูมิ หากอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกายเสร็จใหม่ ๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ ในบางรายอาจทำให้วูบ เป็นลม หมดสติได้
- การสระผม ควรเริ่มต้นทำให้ผมเปียกชุ่มก่อน โดยใช้น้ำอุ่น แต่ไม่ควรให้น้ำร้อนจนเกินไป จะทำให้เกิดผมร่วงได้ หลังจากนั้นใช้แชมพูทำความสะอาด ตามด้วยครีมนวด นวดศีรษะเบา ๆ นวดประมาณ 3 – 4 นาที ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหนังศีรษะและรากผมมากขึ้น ลดการหลุดร่วงของเส้นผมน้อยลง และช่วยลดอาการความเครียด
ทั้งนี้ การอาบน้ำในแต่ละครั้งไม่ควรใช้เวลานานเกินไป โดยทั่วไปควรอยู่ประมาณไม่เกิน 5 – 10 นาที และไม่ควร “อาบน้ำดึก” เกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลในการปรับอุณหภูมิ ทำให้เกิดผิวแห้งและผิวขาดความชุ่มชื้น
โดยแนะนำให้อาบน้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง ไม่ควรอาบน้ำบ่อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีอาการผิวแห้ง ระคายเคืองตามมาได้ และไม่ควรเว้นระยะห่างของอาบน้ำนานเกินไป เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ หิด เหา หรือ โลน เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง