ปลาส้มบัวเชด เมนูสุดแซ่บ สูตรเอกลักษณ์ความอร่อยเฉพาะตัว ต้องบอกต่อ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน

สุรินทร์ - ปลาส้มบัวเชด เมนูสุดแซ่บ สูตรเอกลักษณ์ความอร่อยเฉพาะตัวต้องบอกต่อ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน

วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 10.30. นางสุนัน ศรีสอาด หัวหน้าสำนักงานประมงอำเภอบัวเชด ได้มอบหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำบ้านออด ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายชนะชล มูลจันทร์ ประธานกลุ่มฯ เป็นผู้รับมอบ และนายทินกร เอ็นดู ผู้ใหญ่บ้านออด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร่วมให้การต้อนรับ

นางสุนัน ศรีสอาด หัวหน้าสำนักงานประมงอำเภอบัวเชด ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า กรมประมงได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงปลากินพืชทุกชนิด โดยเฉพาะ ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว เนื้อจะมีรสชาติดี แต่เป็นปลาที่มีก้างเยอะ แถมยังเป็นก้างรูปตัว Y ซึ่งหากติดคอคนกินได้หากไม่ระวัง ชาวบ้านจึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นเมนูปลาส้ม เพราะเมื่อนำปลามาหมักร่วมกับข้าวและกระเทียม จะทำให้เกิดจุลินทรีย์ขึ้น ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์นี้จะช่วยย่อยแคลเซียมในก้างปลาให้อ่อนนิ่มลง ทำให้เวลา กินปลาส้มนั้น กินได้อร่อยโดยไม่ต้องกังวลเรื่องก้างปลา ความพิเศษของปลาตะเพียนที่บ้านออด คือชาวบ้านเลึ้ยงปลาแบบธรรมชาติ ให้อาหารเสริมก็คือ รำข้าวอ่อน ซึ่งจะทำให้เนื้อปลามีรสชาดอร่อย พอนำมาทำเป็นปลาส้ม ในแบบปลาตะเพียนทั้งตัว หรือแบบฟักปลาส้ม(แบบห่อใบตอง)ก็ได้ สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ได้ให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย เพื่อผลักดันให้เป็นสินค้า GI ของฝากประจำอำเภอบัวเชด

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายทินกร เอ็นดู ผู้ใหญ่บ้านออด กล่าวว่า ได้จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาตะเพียนโดยเฉพาะ ซึ่งมีชาวบ้านที่ให้ความสนใจมาสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 15 ราย มีบ่อที่ขุดแล้วจำนวน 15 บ่อ และจะขุดเพิ่มอีกจำนวน 2 บ่อ ที่ผ่านมานั้นได้รับพันธุ์ปลาพระราชทานฯ นำมามอบให้กับชาวบ้าน และชาวบ้านก็ได้รับความรู้การเลี้ยงปลาตะเพียนจากสำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ บ้านตะเพียนที่ชาวบ้านเลี้ยงจะเป็นปลาที่เลี้ยงแบบธรรมชาติและเสริมด้วยรำข้าวอ่อน ทำให้ปลาโตเร็วและมีรสชาดดี และที่สำคัญคือชาวบ้านไม่ต้องนำไปเร่ขาย เพราะทางกลุ่มฯรับซื้อไว้เองทั้งหมด

 

 

นายชนะชล มูลจันทร์ ประธานกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำบ้านออด กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า การจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำบ้านออด ก็เพื่อรับซื้อปลาตะเพียนจากชาวบ้านโดยตรง เป็นการสนับสนุนส่งเสริมอาชีพ และที่สำคัญคือเวลาจับปลาแล้วชาวบ้านไม่ต้องเอาไปเร่ขาย หรือไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้หรือไม่มีคนรับซื้อ เพราะทางกลุ่มเราจะรับซื้อปลาตะเพียนทั้งหมด แล้วนำมาแปรรูปเป็นปลาส้ม มีทั้งแบบที่เป็นตัว และแบบที่ห่อใบตอง ที่สำคัญก็คือ เราไม่ใส่ดินประสิว ไม่ใช้สารกันบูดหรือเครื่องปรุงอะไรเลย เราทำแบบโบราณจริงๆ ก็คือ ใส่แค่เกลือ กระเทียม ข้าวเหนียว หมักไว้2วัน ก็เริ่มให้รสเปรี้ยวนิดหน่อย รสชาดกำลังดี ปัจจุบันทางกลุ่มได้จำหน่ายผ่านออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งมียอดขายที่ดี

 

 

 

ผมเชื่อว่าต่อไป ปลาส้มบัวเชด จะกลายเป็นสินค้าที่ขายดี ด้วยความสะอาดถูกหลักอนามัย ผ่านการหมักที่ควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลา จนก้างนิ่ม อร่อยลงตัว รสนัวถึงใจ ร่วมกันส่งต่อพลังใจให้ชุมชนได้ด้วยการ “ช้อปช่วยชุมชน” ซื้อสินค้าชุมชน ผลิตโดยชุมชน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 064-446-4949.

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว พูนสิน ยั่งยืน ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น