มา “กินงู” กันมั้ย นักวิจัยชี้ 2 ชนิดนี้ คือที่สุดแหล่งอาหาร

มา กินงู กันมั้ย นักวิจัยชี้ 2 ชนิดนี้ คือที่สุดแหล่งอาหาร

วิจัยพบ "กินงู" หนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

TOP News รายงานประเด็น “กินงู” นักวิจัยกลุ่มหนึ่งเข้ามาศึกษา งูหลามงูเหลือม ที่ฟาร์มในประเทศไทยและเวียดนาม เป็นเวลากว่า 1 ปี พบว่า งูใหญ่ไร้พิษ 2 ชนิดนี้ มีศักยภาพเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อ ได้ยั่งยืนกว่าปศุสัตว์หลายชนิด ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ งูหลาม หรือ งูเหลือม กลายเป็นเมนูเด็ดร้านดัง คุณจะลองลิ้มชิมรสมั้ย

ข่าวที่น่าสนใจ

วิจัยพบ กินงู หนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

“กินงู” งูเหลือม – งูหลาม?

  • หลายคนยังสับสนว่า งูเหลือม กับ งูหลาม แตกต่างกันอย่างไร ก็ต้องบอกว่า
  1. งูหลาม มีลำตัวที่ใหญ่กว่า งูเหลือม แต่มีความยาวน้อยกว่า โดย งูหลาม นั้นมีความยาวอยู่ที่ 1 – 3 เมตร ส่วน งูเหลือม นั้นยาว 1 – 5 เมตร
  2. ถ้าสังเกตจากลายบนหัวของงูทั้ง 2 ชนิดที่สุดหัวของ งูหลาม ลายจะดูคล้ายหัวลูกศรสีขาว หัวของ งูเหลือม จะเป็นหัวลูกศรเหมือนกันแต่สีจะออกดำ ซึ่งหากจะสังเกตงูประเภทนี้ ให้มองที่หัวก่อนเป็นอันดับแรก
  3. ในเรื่องความดุร้าย งูหลาม ไม่ดุร้ายเท่า งูเหลือม และมักจะออกล่าเหยื่อบนบก หากพบเห็นงูแบบนี้หากินในน้ำ สันนิษฐานได้เลยว่าเป็น งูเหลือม
  4. แต่ถ้าพบเห็นงูประเภทนี้บริเวณภาคใต้ สันนิษฐานได้เลยว่าเป็น งูเหลือม เพราะถิ่นกำเนิดของ งูหลาม ไม่ได้อยู่ในบริเวณภาคใต้ แต่จะพบได้ในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย และ งูเหลือม นั้นพบได้ทั่วไป
  5. สำหรับระยะเวลาการฟักไข่ งูหลาม นั้นจะใช้เวลาฟักไข่ 2 เดือน แต่ งูเหลือม จะใช้เวลาฟักไข่ 3 เดือน
  6. หากพบเห็นงูประเภทนี้บนต้นไม้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น งูเหลือม เพราะนิสัยของ งูหลาม ไม่ชอบหากินบนต้นไม้

วิจัยพบ กินงู หนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

มา “กินงู” กันเถอะ?

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร ไซแอนทิฟิก รีพอร์ตส์ (Scientific Reports) ระบุว่า การทำฟาร์ม งูหลาม อาจเป็นหนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับ ไคลเมท เชนจ์ (Climate Change) หรือภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว โดยจากการศึกษา งูเหลือม และ งูหลามพม่า (Burmese and reticulated python) กว่า 4,600 ตัว พบว่า มันโตไวมากในช่วงปีแรก ใช้อาหาร สำหรับกระบวนการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักเนื้อ (feed conversion) น้อยกว่าสัตว์เลี้ยงในฟาร์มชนิดอื่นอย่าง ไก่ วัว หมู แซลมอน หรือจิ้งหรีด

แหล่งอาหารของงู ก็หาได้จากในท้องถิ่น เช่น สัตว์ฟันแทะจับในธรรมชาติ ผลพลอยได้จากหมู หรือปลา น้ำหนักงูจะเพิ่มเฉลี่ยวันละ 1.6 ออนซ์ หรือประมาณ 45 กรัม งูตัวเมียจะโตไวกว่าตัวผู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินเป็นเวลานาน โดยที่น้ำหนักตัวไม่ได้ลดมากนัก นั่นหมายความว่า การใช้แรงงานคนเพื่อให้อาหาร จะน้อยกว่าฟาร์มสัตว์ทั่วไป นอกจากนี้ งูยังกินน้ำน้อยมาก ในตอนเช้า แค่กินน้ำค้างเกาะบนเกล็ดก็เพียงพอ กล่าวในทางทฤษฎี งูอยู่ได้โดยไม่ต้องให้อาหารเลยเป็นปี

แดเนียล นาทัช (Daniel Natusch) ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า ในโลกที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ไคลเมท เชนจ์ จะทำให้สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว จนสภาพแวดล้อมปรับตัวไม่ทัน สัตว์ที่สามารถทนร้อน อยู่ได้ในภาวะอาหารขาดแคลน และยังสร้างโปรตีนได้อีก งูคือสัตว์ที่ให้ประสิทธิผลมากกว่าชนิดใด ๆ เท่าที่มีการศึกษามา

 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

 

โพสต์ที่แชร์โดย Donna Kalil (@donnakalil)

สำหรับรสชาติเนื้องู ในระหว่างทำการศึกษา นาทัช ได้ลองกินทั้ง งูบาร์บีคิว งูย่าง งูผัด ตลอดจนแกงงู และงูแดดเดียว ได้ข้อสรุปว่า รสชาติคล้ายเนื้อไก่ แต่มีกลิ่นมากกว่าเล็กน้อย ข้อดีอีกอย่างของเนื้องู คือมันไม่มีแขนขา เวลาแล่แทบไม่มีของเหลือทิ้ง นักวิจัยท่านนี้บอกว่า แค่นำมีดมา 1 เล่ม กรีดกลางก็จะได้เนื้อสัตว์ 1 ชิ้นความยาว 4 เมตรไปเต็ม ๆ

กระนั้น นักวิจัยยอมรับว่า คงไม่ง่ายที่เนื้องูจะเป็นเมนูของชาวตะวันตก และเขาไม่ได้มองไปถึงว่าจะเป็นทางออกของปัญหา งูหลามพม่า ขยายพันธุ์ในบึงเอเวอร์เกลด รัฐฟลอริดา กลายเป็นสัตว์รุกรานต่างถิ่นจับกันไม่หวาดไม่ไหวในทุกวันนี้ แต่อาจเป็นทางออกของเกษตรกรในประเทศแถบแอฟริกา ที่ความไม่มั่นคงทางอาหาร เป็นปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกที และเทคโนโลยีก้าวตามไม่ทันกับสภาพอากาศแปรปรวนสุดขีด อย่างถ้าเกษตรกรที่นั่น จับหนูที่กัดกินข้าวโพดในไร่ เอาไปเลี้ยงงูหลามสักตัว ก็อาจจะได้โปรตีนชั้นดีสำหรับรับประทาน

ส่วนประเทศไทยก็คงไม่ง่ายเช่นกันที่เนื้องูจะเป็นวัตถุดิบจานเด็ดในร้านดัง แต่อาจถูกใจสายเปิบพิสดารที่อยากลิ้มลองของแปลก แล้วถ้าเป็นคุณล่ะจะลองชิมหน่อยมั้ย

วิจัยพบ กินงู หนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัจฉริยะ" เข้าให้การตำรวจกองปราบ แฉพฤติกรรม "ทนายตั้ม" สร้างพยานเท็จนาน 6 ปี
รองผู้ว่า ฯเมืองคอนสั่งลุยหารือคณะทำงานร่วมพิจารณารับรองคุณภาพสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เป็นศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูก่อนลงพื้นที่ตรวจกองร้อย อสจ.นครศรีธรรมราชที่ 1 เปิดดำเนินการสถานพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพิ่มอีก 1 แห่ง
กรมที่ดิน ชี้แจงรายละเอียดที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน ตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
"ศาลรธน." แจงเหตุผล ลงมติไม่รับคำร้อง 6 ประเด็น เอาผิด "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไว้พิจารณา
MEA ชูพลังงานสะอาด เปิดสถานีชาร์จ EV ณ MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางไร้มลพิษ
สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น