“โรคหัด” คืออะไร เตือนคนไทยในญี่ปุ่น ระวัง 14 วัน เสียชีวิต

โรคหัด คืออะไร เตือนคนไทยในญี่ปุ่น ระวัง 14 วัน เสียชีวิต

"โรคหัด" คืออะไร สาเหตุและอาการ ต้องระวังรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา แนะคนไทยในญี่ปุ่น ล้างมือ ใส่แมสก์ พบแพทย์

TOP News รายงาน “โรคหัด” ระบาด นครโอซากา ออกคำเตือน เรื่องการแพร่ระบาดของโรคหัด สถานกงสุลใหญ่ แนะนำให้ประชาชนชาวไทยในญี่ปุ่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ สังเกตอาการของตนเอง ซึ่งทั่วไปแล้ว จะเกิดอาการ ภายใน 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อ พบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการรับวัคซีน หรือรับการรักษาเมื่อมีอาการ

ข่าวที่น่าสนใจ

โรคหัด คืออะไร สาเหตุและอาการ ต้องระวังรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา แนะคนไทยในญี่ปุ่น ล้างมือ ใส่แมสก์ พบแพทย์

“โรคหัด” ระบาด?

ด้วยนครโอซากาได้ออกคำเตือนเรื่องการแพร่ระบาดของโรค หัด (Measles) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ขอประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนไทยทราบ ดังนี้

  • ญี่ปุ่นสามารถทำให้โรค หัด ภายในประเทศหมดไปตั้งแต่ปี 2558 อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 ทางการญี่ปุ่นพบว่า มีผู้โดยสารสายการบิน เอทิฮัด (Etihad) เที่ยวบิน EY 830 จากกรุงอาบูดาบีสู่นครโอซากา เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2567 ติดเชื้อดังกล่าว จึงมีประกาศคำเตือนให้ผู้โดยสารเที่ยวบินดังกล่าว ผู้เดินทางไปสนามบินคันไซ ผู้โดยสารรถไฟสาย นันไค (Nankai Electric Railway) และผู้ที่ใช้บริการห้าง ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ ไทออล ริงกุ ทาวน์ สโตร์ (Super Center TRIAL Rinku Town Store) ในวันดังกล่าว เฝ้าสังเกตตนเองหากมีอาการ เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศาฯ ไอ น้ำมูกไหล และผื่น ให้รีบพบแพทย์ โดยสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
  • ล่าสุด นครโอซากา ยืนยันว่า มีผู้ติดเชื้อโรค หัด ในจังหวัด รวม 2 คน และสื่อญี่ปุ่นรายงานยอดรวมผู้ติดเชื้อหัดในญี่ปุ่น รวม 8 คน ทั้งในภูมิภาคคันไซและภูมิภาคอื่น ๆ เช่น นครโอซากา จ.เกียวโต จ.ไอจิ จ.กิฟุ และกรุงโตเกียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดที่เริ่มขยายวงออกไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในญี่ปุ่น โดยมีผู้ติดเชื้อ 744 คน และในกรณีที่มีความรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนให้ครบถ้วน
  • กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลโรค หัด ว่า โดยทั่วไปแล้ว จะเกิดอาการภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อ ดังนี้
  1. อาการเป็นไข้ตัวร้อน ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มักตัวร้อนและอาจมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาฯ ซึ่งจะเริ่มเป็นไข้ประมาณ 10 – 12 วัน หลังได้รับเชื้อ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีอาการน้ำมูกไหล ไอบ่อย เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง และตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม
  2. อาการผื่นขึ้นตามร่างกาย เมื่อผู้ป่วยออกอาการได้ 3 – 5 วัน จะเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง โดยเกิดผื่นแดงหรือสีแดงออกน้ำตาลขึ้นเป็นจุดบนหน้าผากก่อน แล้วค่อยแพร่กระจายมาที่ใบหน้าและลำคอ ภายใน 3 วัน จะเกิดผื่นกระจายมาถึงมือและเท้า อาการผื่นคันนี้จะปรากฏอยู่ 3 – 5 วัน และหายไปเอง
  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอแนะนำให้ประชาชนไทยสวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะหรืออยู่ในที่ชุมชน หมั่นรักษาสุขอนามัยโดยเฉพาะการล้างมือ สังเกตอาการของตนเอง และให้พบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการรับวัคซีน หรือรับการรักษาเมื่อมีอาการด้วย

โรคหัด คืออะไร สาเหตุและอาการ ต้องระวังรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา แนะคนไทยในญี่ปุ่น ล้างมือ ใส่แมสก์ พบแพทย์

“โรคหัด” (Measles) ?

  • โรค หัด คือ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้ร่วมด้วย โดยโรค หัด เกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โรค หัด ถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่พบการแพร่เชื้อดังกล่าวในสัตว์

สาเหตุของโรค หัด ?

โรค หัด จัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง การติดโรคนั้นเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ จากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย ทำให้ป่วยเป็นโรค หัด โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค หัด มีโอกาสป่วยเป็นโรค หัด หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรค

โดยผู้ที่เสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโรค หัด นั้นมีอยู่หลายกลุ่ม โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคมักเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตมากที่สุด โดยเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินเอ อย่างเพียงพอจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้สูง นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนและได้รับเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ รวมทั้งผู้ที่ขาดสารอาหารนั้น จะป่วยเป็นโรค หัด อย่างรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ

การป้องกัน?

โรค หัด ป้องกันได้ หากได้รับวัคซีนป้องกันโรค หัด (Measles Vaccine) ครบตามกำหนด โดยทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9 – 12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4 – 6 ปี

ส่วนเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดย 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ 6 – 12 วันหลังจากได้รับวัคซีน และเด็กอีก 5 เปอร์เซ็นต์มีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรค หัด และหายไปเอง

วัคซีนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น อาการชัก หูหนวก สมองถูกทำลาย และหมดสติไม่รู้ตัว แต่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม การรับวัคซีนนี้ก็มีข้อจำกัดสำหรับบุคคลบางกลุ่ม โดยกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรค หัด ได้แก่ สตรีมีครรภ์ เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แล้วยังไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ และเด็กที่มีประวัติแพ้เจลาตินหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) อย่างรุนแรง ถึงอย่างนั้น หากกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับเชื้อไวรัสโรค หัด เข้าไปก็สามารถฉีดแอนติบอดี้หรือสารโปรตีนที่มีชื่อว่าอิมมูนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพื่อป้องกันการป่วยได้ ซึ่งต้องฉีดสารดังกล่าวภายใน 6 วันหลังจากที่รับเชื้อ

การรักษา?

สำหรับการรักษาโรค หัด แม้จะยังไม่มีตัวยาหรือวิธีทางการแพทย์ที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาและกำจัดเชื้อไวรัสของโรค หัด ได้อย่างเฉพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย อยู่ในที่แห้งอุณหภูมิพอเหมาะ เพื่อลดอาการไอบ่อยและเจ็บคอ และอาจให้วิตามินเอ เสริมให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ดี แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดไข้ที่ไม่ใช่ยาแอสไพรินอย่าง ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรค หัด ที่เริ่มมีผื่นขึ้นควรอยู่ในบ้าน ไม่ไปโรงเรียน ทำงาน หรือพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน หลังจากผื่นเริ่มปรากฏเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

โรคหัด คืออะไร สาเหตุและอาการ ต้องระวังรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา แนะคนไทยในญี่ปุ่น ล้างมือ ใส่แมสก์ พบแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด สาวขับเบนซ์พุ่งชน จยย.กระเด็นเสียชีวิต 2 ราย กลางถนนเสนานิคม-จตุจักร
รัฐบาลเตือนมิจฉาชีพอ้างเป็น “กรมบัญชีกลาง” ลวงดูดเงินประชาชน
สายสีแดง ชวนเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ สูดอากาศบริสุทธิ์ สะดวก เดินทางง่าย ติดรถไฟฟ้า
“สาวไทย” โคตรแสบ! ช่วยแฟนผิวสีขนโคเคนเข้าเมือง โดนชาร์จคา ตม.สระแก้ว
‘ผอ.อผศ.’ จัดกิจกรรม นักรบ พบ รด. ปลุกจิตสำนึกเยาวชนต่อความเสียสละของทหารผ่านศึก
ผบช.น. สั่งเอาผิดขั้นเด็ดขาด เก๋งหัวร้อนพุ่งชนไรเดอร์ดับ แจ้ง 2 ข้อหาหนัก-ค้านประกันตัว
"ปอศ.-สรรพสามิต" บุกยึดบุหรี่เถื่อน ลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
"ตำรวจ" เตือน "Jagat" แอปฯล่าเหรียญ สัญชาติอินโดฯ ไม่ได้จดทะเบียนในไทย อันตรายหลายจุด
กรมอุตุฯ เผยไทยอุ่นขึ้น 1-2 องศาฯ อากาศยังเย็นอยู่  กทม.หนาวสุด 19 องศาฯ
"กรมวังฯ" ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจฯ ณ เรือนจำ จ.ภูเก็ต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น