ฮ่องกง สภาบริหารผ่านกม.ความมั่นคงฉบับใหม่

ฮ่องกงผ่านกม.ความมั่นคงใหม่ กำหนดการลงโทษเข้มงวด คดีกบฏอาจถูกจำคุกตลอดชีวิต และโทษจำคุกสูงสุด 20 ปีฐานขโมยความลับรัฐ

สภานิติบัญญัติของฮ่องกงมีมติเป็นเอกฉันท์ผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่เมื่อวันอังคาร ซึ่งนายจอห์น ลี ผู้นำฮ่องกง กล่าวยกย่องความเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่าเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของฮ่องกง และเสริมว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม

กฎหมายดังกล่าวคือการบังคับใช้มาตรา 23 ซึ่งถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง หลังถูกยกเลิกไปในปี 2546 เพราะชาวฮ่องกงกว่าครึ่งล้านออกมาเดินขบวนประท้วงตามท้องถนน และจะบังคับใช้ควบคู่กับกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับรัฐบาลปักกิ่งปี 2563 ที่ประกาศใช้ ภายหลังการปราบปรามการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ ซึ่งครั้งนั้น มีผู้ถูกจับกุมเกือบ 300 คน และมีการกดดันให้ยุบพรรค นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และบุคคลสาธารณะอื่นๆ หลายสิบคนถูกจำคุก หรือถูกบังคับให้ลี้ภัย

ลีกล่าวถึงความรับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญของฮ่องกงหลายครั้ง ในการบัญญัติกฎหมายความมั่นคงให้เป็นหมวดหมู่หนึ่งในกฎหมายพื้นฐานซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับย่อของเกาะแห่งนี้ นับตั้งแต่การส่งมอบจากอังกฤษไปยังจีนเมื่อปี 2540 และว่า จำเป็นต้องอุดช่องว่างทางกฎหมายที่ยังไม่สมบูรณ์ในฉบับของรัฐบาลปักกิ่ง โดยมุ่งเป้าไปที่การยุยงส่งเสริม, การบ่อนทำลาย, การก่อการร้าย และการสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติ

กฎหมายฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษฐานความผิดหลายสิบรายการใน 5 หมวดหมู่ ได้แก่ การกบฏ, การก่อจลาจล, การขโมยความลับของรัฐและการจารกรรม, การก่อวินาศกรรมที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ และการแทรกแซงจากภายนอก

การกบฏ ก่อจลาจล และการก่อวินาศกรรม โดยสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังภายนอก มีโทษจำคุกสูงสุดตลอดชีวิต ในขณะที่การขโมยความลับของรัฐและการจารกรรมหรือการกระทำบ่อนทำลาย เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ มีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี คำว่าการทำงานร่วมกับ “กองกำลังภายนอก” หมายรวมถึง รัฐบาลหรือธุรกิจต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ

กฎหมายดังกล่าวยังขยายขอบเขตความผิดฐานยุยงปลุกปั่นที่มีอยู่ โดยรวมถึงการยุยงให้เกิดความเกลียดชังต่อผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเพิ่มโทษสูงสุดเป็นจำคุก 10 ปี อีกทั้งกฎหมายยังเปิดช่องให้ผู้บริหารฮ่องกงมีอำนาจในการบัญญัติโทษต่อความผิดใหม่ โดยใช้คำว่ากรณีเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ซี่งสามารถลงโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี

การบังคับใช้กฎหมายใหม่หมายถึง ตำรวจสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้นานถึง 16 วันก่อนตั้งข้อหา จากเดิมสูงสุดที่ 48 ชั่วโมงในปัจจุบัน อีกทั้งตำรวจยังสามารถห้ามไม่ให้ผู้ต้องสงสัยเข้าพบทนาย และจำกัดการเคลื่อนไหวและการสื่อสารของพวกเขาเป็นเวลาหลายเดือน หากพวกเขาได้รับการประกันตัว รวมถึงขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดีบางอย่างสามารถตัดออกได้เพื่อเร่งรัดคดีให้เร็วขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ต้องสงสัยจะเผชิญกับขั้นตอนการดำเนินคดีที่เข้มงวดมากขึ้น

นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังสามารถบังคับใช้กับประชาชนและภาคธุรกิจนอกเกาะฮ่องกง ซึ่งหมายถึงรัฐบาลสามารถตามจับนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในต่างประเทศ ซึ่งนักเคลื่อนไหวเหล่านั้นอาจถูกมาตรการลงโทษ เช่น การยกเลิกหนังสือเดินทาง ในขณะที่ใครก็ตามที่ให้เงินสนับสนุนพวกเขา รวมถึงผู้ปกครอง อาจเสี่ยงต่อการถูกจำคุก

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สมาคมผู้อาสาสมัครช่วยการศึกษา และ คัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ร่วม ลงนามถวายพระพร หน้าพระรูปสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
สารวัตรชาติ นายตำรวจน้ำดี เจ้าของแหวนอัศวิน นำคณะจัดอบรม หนี-ซ่อน-สู้ เอาตัวรอดเมื่อเผชิญเหตุร้าย
"แพนเค้ก" ร่วมชมการแสดง​โขนมรดกชาติ ได้รับรองจาก UNESCO ฉลองครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่รอด จนท.สกัดจับ "พ่วง 18 ล้อ" ดัดเเปลงเสริมถังน้ำมัน "ลอบขนน้ำมันเถื่อน" จากประเทศเพื่อนบ้าน
ระทึก ม้าเหล็กขยี้รถเก๋ง โค้ชฟุตบอลอะคาเดมี่รอดปาฏิหาริย์
"พิพัฒน์" ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก "ระบบบำนาญสวีเดน" สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน-รองรับสังคมสูงอายุ
คลังเลือดสำรองไม่พอ! "สภากาชาดไทย" เชิญชวนบริจาคเลือด ช่วยชีวิตผู้ป่วยทั่วประเทศ
ตร.จ่อเชิญ ‘เจ๊อ้อย’ สอบปากคำเพิ่ม ปมตั้ง ‘ทนายตั้ม’ จัดการมรดก
บอร์ดกลั่นกรอง เคาะโผนายพล ชงก.ตร.พรุ่งนี้
กอ.รมน.พาเปิดประวัติ ชมเครื่องปั้นดินเผา ณ ศูนย์ศิลปาชีพ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ นราธิวาส ร่วมต่อยอดช่างฝีมือไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น