“ดร.สามารถ” ทวงถามคมนาคม สัญญาปรับลดค่าโดยสารเครื่องบิน พร้อมเสนอวิธีทำให้ถูกลงได้จริง

"ดร.สามารถ" ทวงถามคมนาคม สัญญาปรับลดค่าโดยสารเครื่องบิน พร้อมเสนอวิธีทำให้ถูกลงได้จริง

“ดร.สามารถ” ทวงถามคมนาคม สัญญาปรับลดค่าโดยสารเครื่องบิน พร้อมเสนอวิธีทำให้ถูกลงได้จริง  Top News รายงาน 

 

เครื่องบิน

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

วันที่ 20 มี.ค. 67 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า ไหนว่าจะลดค่าตั๋วเครื่องบิน บ่นกันมากว่าค่าตั๋วเครื่องบินภายในประเทศแพงมาก แม้สายการบินโลว์คอสต์ก็ยังแพง รมว.คมนาคมบอกว่าจะให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ปรับวิธีคิดค่าตั๋วเครื่องบินให้ถูกลง ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าค่าตั๋วเครื่องบินจะถูกลงได้อย่างไร ? มีเพียงแค่เพิ่มเที่ยวบินตอนเช้ามืดและตอนดึกดื่นในช่วงสงกรานต์ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

 

1. ฟังคำชี้แจงของ กพท.
กรณีค่าตั๋วเครื่องบินภายในประเทศแพง กพท. ชี้แจงว่ายังต่ำกว่าค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตรหรือ “เพดาน” ตามประกาศของคณะกรรมการบินพลเรือน พ.ศ. 2561 อีกทั้ง สัดส่วนผู้ซื้อตั๋วแพงมีน้อยกว่าผู้ซื้อตั๋วถูก ซึ่งต้องซื้อล่วงหน้าก่อนการเดินทางนาน ในขณะที่ผู้โดยสารเห็นว่าตั๋วแพง แต่ กพท. แจงว่ายังต่ำกว่าเพดานค่าโดยสาร ดังนั้น จึงต้องหันมาดูเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรว่าเหมาะสมหรือไม่ ?
2. หลักเกณฑ์การคำนวณเพดานค่าโดยสารภายในประเทศในปัจจุบัน
คณะกรรมการการบินพลเรือนได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณไว้เมื่อปี 2561 ดังนี้
(1) ให้ใช้ต้นทุนรวมของผู้ประกอบการ (สายการบิน) ที่มีต้นทุนการให้บริการสูงสุด
(2) ให้ใช้อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) 60% ของเส้นทางบินรวมเป็นจุดคุ้มทุน
จากการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้คำนวณเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรได้ดังนี้

(1) เส้นทางบินที่ผู้ประกอบการให้บริการเต็มรูปแบบ (สายการบินปกติไม่ใช่โลว์คอสต์) ให้กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 13 บาทต่อกิโลเมตร
(2) เส้นทางบินที่ผู้ประกอบการให้บริการต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ให้กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 9.40 บาทต่อกิโลเมตร

 

จะเห็นได้ว่าเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรดังกล่าวเป็นอัตราเดียวเท่ากันตลอดเส้นทางบิน ไม่ว่าจะบินใกล้หรือบินไกล เพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรก็เท่ากัน (Flat Rate) การกำหนดเพดานค่าโดยสารแบบนี้ไม่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงของสายการบิน ซึ่งมีต้นทุนต่อกิโลเมตรในเส้นทางบินไกลถูกกว่าต้นทุนต่อกิโลเมตรในเส้นทางบินใกล้ ด้วยเหตุนี้ จึงควรกำหนดเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรตามระยะทางบิน ไม่ควรใช้อัตราเดียว

การใช้เพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรเพียงอัตราเดียวเท่ากันตลอด ไม่ว่าจะบินใกล้หรือบินไกล เป็นการไม่ส่งเสริมการเดินทางไกล เพราะต้องจ่ายแพงมาก จะทำให้การกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองซึ่งอยู่ห่างไกลไม่ประสบผลสำเร็จ
3. เปรียบเทียบการคิดค่าตั๋วเครื่องบินของไทยกับเพื่อนบ้าน

 

 

ประเทศเวียดนามเพื่อนบ้านของเราเพิ่งประกาศใช้เพดานค่าโดยสารล่าสุดไปเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมานี่เอง โดยไม่แบ่งประเภทสายการบิน พบว่ามีเพดาน 5 ขั้น แยกตามระยะทางบินดังนี้
(1) ระยะทางไม่เกิน 500 กิโลเมตร กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 2,336 บาท
(2) ระยะทาง 500-850 กิโลเมตร กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 3,285 บาท
(3) ระยะทาง 850-1,000 กิโลเมตร กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 4,219 บาท
(4) ระยะทาง 1,000-1,280 กิโลเมตร กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 4,964 บาท
(5) ระยะทางเกิน 1,280 กิโลเมตร กำหนดค่าโดยสารได้ไม่เกิน 5,840 บาท

 

ถ้าคำนวณเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรของเวียดนามดู จะพบว่าเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะลดลงเมื่อบินไกลขึ้น การกำหนดเพดานค่าโดยสารของเวียดนามที่คำนึงถึงระยะทางบิน ทำให้ผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินในราคาที่เป็นธรรม เป็นผลให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวเวียดนามกันมากขึ้น

ผมลองใช้เพดานค่าโดยสารของเวียดนามมาคิดเพดานค่าโดยสารเครื่องบินในไทยจากกรุงเทพฯ ไปสู่สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ และอุบลราชธานี เปรียบเทียบกับการใช้เพดานค่าโดยสารของไทยมาคิด ได้ผลดังนี้

 

(1) กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ระยะทาง 698 กิโลเมตร หากใช้เพดานค่าโดยสารของเวียดนามมาคิดจะได้เพดานค่าโดยสาร 3,285 บาทต่อเที่ยว ในขณะที่ใช้เพดานค่าโดยสารของไทยมาคิดจะได้เพดานค่าโดยสาร 9,074 บาทต่อเที่ยวสำหรับสายการบินปกติ (ให้บริการเต็มรูปแบบ) และ 6,561 บาทต่อเที่ยวสำหรับโลว์คอสต์ นั่นคือบนเส้นทางกรุงเทพฯ-ภูเก็ต เพดานค่าโดยสารของไทยแพงกว่าของเวียดนาม 176% สำหรับสายการบินปกติ และ 100% สำหรับโลว์คอสต์

(2) กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 566 กิโลเมตร หากใช้เพดานค่าโดยสารของเวียดนามมาคิดจะได้เพดานค่าโดยสาร 3,285 บาทต่อเที่ยว ในขณะที่ใช้เพดานค่าโดยสารของไทยมาคิดจะได้ 7,358 บาทต่อเที่ยวสำหรับสายการปกติ และ 5,320 บาทต่อเที่ยวสำหรับโลว์คอสต์ นั่นคือบนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพดานค่าโดยสารของไทยแพงกว่าของเวียดนาม 124% สำหรับสายการบินปกติ และ 62% สำหรับโลว์คอสต์

(3) กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ระยะทาง 484 กิโลเมตร หากใช้เพดานค่าโดยสารของเวียดนามมาคิดจะได้เพดานค่าโดยสาร 2,336 บาทต่อเที่ยว ในขณะที่ใช้เพดานค่าโดยสารของไทยมาคิดจะได้ 6,292 บาทต่อเที่ยวสำหรับสายการปกติ และ 4,549 บาทต่อเที่ยวสำหรับโลว์คอสต์ นั่นคือบนเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เพดานค่าโดยสารของไทยแพงกว่าของเวียดนาม 169% สำหรับสายการบินปกติ และ 95% สำหรับโลว์คอสต์

4. ข้อเสนอแนะ
เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้โดยสาร และเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้ทั่วถึง ผมขอเสนอแนะให้กำหนดเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรโดยคำนึงถึงระยทางบินเช่นเดียวกับของเวียดนาม กล่าวคือเมื่อบินไกลขึ้นเพดานค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะต้องถูกลง ไม่ใช่เท่ากันตลอดระยะทางดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น