“โรคแอนแทรกซ์” คืออะไร อาการรุนแรงโอกาสเสียชีวิตสูงร้อยละ 80

โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร อาการรุนแรงโอกาสเสียชีวิตสูงร้อยละ 80

รู้จัก "โรคแอนแทรกซ์" โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 5 อาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80 ระวังการติดต่อ เช็คด่วน วิธีป้องกัน

TOP News ชวนรู้จัก “โรคแอนแทรกซ์” โรคติดต่อร้ายแรง พบได้ทั่วโลก แต่เร็ว ๆ นี้ มีข่าวการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านของไทย หลายคนสงสัย คืออะไร ติดต่อได้อย่างไร ถ้าเป็นแล้วจะมีอาการอะไรบ้าง รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือเปล่า และเราจะป้องกันได้หรือไม่ ที่นี่ มีคำตอบ

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 5 อาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80 ระวังการติดต่อ เช็คด่วน วิธีป้องกัน

ภาพ : wikipedia

“โรคแอนแทรกซ์” ?

  • ชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า โรคกาลี โรคนี้มีมาแต่โบราณ เป็นโรคติดต่ออันตราย จากเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างเป็นเส้นยาวรี (Gram positive rod) มักพบในดิน เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด อาทิ ช้าง เก้ง กวาง หรือสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว ที่สำคัญกว่านั้น เชื้อแอนแทรกซ์ สามารถติดต่อมาสู่คนได้

คนเราติดได้อย่างไร?

  • คนเราสามารถติดโรค แอนแทรกซ์ ได้เมื่อสปอร์ของแบคทีเรียเข้ามาในร่างกาย และได้รับการกระตุ้น จนเกิดการแบ่งตัว และกระจายไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แบคทีเรียจะผลิตสารพิษ (toxins) และทำให้เกิดอาการที่รุนแรงได้ สปอร์สามารถเข้าร่างกาย ทั้งทางการหายใจ การโดนบาดหรือมีแผลที่ผิวหนัง ดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ นอกจากนี้ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ก็มีความเสี่ยงสูง

แอนแทรกซ์ แบ่งเป็น 4 ชนิด ซึ่งมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกัน เนื่องจากสปอร์ของแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง จึงสามารถแบ่งได้ ดังนี้

แอนแทรกซ์ ในทางเดินหายใจ

  • มักเกิดจากที่สูดดมเชื้อแบคทีเรียเข้าไป มักพบในคนที่สัมผัสผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีการปนเปื้อน เช่น ในอุตสาหกรรมที่มีการตัดขนสัตว์ หรือแปรรูปขนสัตว์ให้เป็นเสื้อผ้า มีรายงานในคนที่ตีกลองขนสัตว์ (animal hide drums) มักมีอาการไข้ หนาวสั่น อึดอัด แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน สับสน มึนหัว ปวดหัว เหงื่อออกมากจนชุ่ม อ่อนเพลียมาก และปวดเมื่อยตามตัว

แอนแทรกซ์ ที่ผิวหนัง

  • มักเกิดจากการปนเปื้อนที่ผิวหนังที่รอยตัด หรือแผลถลอก มีตุ่มหนอง ซึ่งมักจะคัน รอบแผลจะมีอาการบวมมาก ต่อมามักพบแผลลึกที่มีศูนย์กลางเป็นสีดำ และระยะนี้มักจะไม่คัน ส่วนมากแผลมักพบที่บริเวณหน้า คอ แขน หรือมือ เพราะมักเป็นส่วนที่สัมผัสนอกร่มผ้า

แอนแทรกซ์ ในทางเดินอาหาร

  • มักเกิดจากการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือน้ำนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศที่อาจไม่ได้มีการฉีดวัคซีนต้านแอนแทรกซ์ในปศุสัตว์อย่างสม่ำเสมอ หรือไม่ได้มีการตรวจก่อนทำการชำแหละเนื้อมาขายหรือบริโภค ผู้ติดเชื้อมักมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอเวลากลืน เสียงแหบ คอบวม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต คลื่นไส้อาเจียน บางครั้งอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้ หน้าแดง ตาแดง ปวดท้อง ปวดศีรษะ ถ่ายเหลว บางครั้งอาจถ่ายเป็นเลือด ท้องบวม อาจมีหมดสติเป็นลมได้

แอนแทรกซ์ จากการฉีดยาเข้าเส้น

  • พบได้น้อย แต่มีรายงานในยุโรป ในผู้ติดยาเสพติดแบบฉีดเข้าเส้น เช่น เฮโรอีน อาจมีไข้ หนาวสั่น ที่ผิวหนังบริเวณที่ฉีดมักพบเป็นกลุ่มฝีหนองขนาดเล็ก หรือผิวที่บวมขึ้นมา ต่อมา ค่อยมีแผลตรงกลางสีดำที่ไม่เจ็บ แต่บวมรอบแผล ถ้าฉีดลึกอาจมีฝีหนองขนาดใหญ่ใต้ชั้นผิวหนังได้ แม้อาการจะคล้ายกลุ่มแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง แต่อาจจะทำให้เกิดการกระจายได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อเข้ากระแสเลือด

รู้จัก โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 5 อาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80 ระวังการติดต่อ เช็คด่วน วิธีป้องกัน

อาการพึงสังเกต?

“โรคแอนแทรกซ์” หากเกิดขึ้นในสัตว์ มักพบว่ามีไข้สูง ไม่กินหญ้า มีเลือดปนน้ำลายไหลออกมา หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก แล้วตายในที่สุด

บางตัวอาจมีอาการบวมน้ำ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เมื่อสัตว์ตายจะพบว่ามีเลือดออกทางปาก จมูก ทวารหนัก อวัยวะเพศ เป็นเลือดสีดำ ไม่แข็งตัว ซากสัตว์ที่ตายมีลักษณะนิ่ม และเน่าเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้

สำหรับ แอนแทรกซ์ ในคน จะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง มีแผลคล้ายบุหรี่จี้ หายใจขัด หายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80

  • การป้องกัน?

สำหรับการป้องกันโรค แอนแทรกซ์ มีหลักการง่าย ๆ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัส โค กระบือ แพะ แกะ เป็นต้น
  2. ล้างมือ ชำระล้างร่างกาย หากสัมผัสสัตว์
  3. เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ได้รับการรับรอง อาหารปลอดภัย
  4. หากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที
  5. หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์

การรักษา?

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนนิซิลลิน ด๊อกซีไซคลิน หรือกลุ่มควิโนโลน นอกจากนี้ ยังมียาที่ต้านพิษที่สร้างจากเชื้อและเป็นยาปฏิชีวนะด้วย คือ คลินดาไมซิน ลิเนโซลิด

บางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะหลายขนาน หากมีอาการรุนแรง เช่น ถ้าติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง ต้องใช้ยาอย่างน้อย 3 ตัว

โมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) และอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ที่จำเพาะกับเชื้อก็มีการนำมาใช้ด้วย

ผู้ป่วยบางรายแม้ว่าจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้แล้ว แต่พิษจากเชื้ออาจยังมีผลรุนแรงที่ต้องนอนในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจ

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยโรค แอนแทรกซ์ ในไทยมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ยังปรากฏข่าวที่เกี่ยวข้องกับโรคอันตรายนี้อยู่ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การป้องกันในเรื่องสุขอนามัยเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อไม่ให้โรคร้ายแรงนี้มาระบาดในประเทศของเรา

รู้จัก โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 5 อาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80 ระวังการติดต่อ เช็คด่วน วิธีป้องกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น