“ดร.อานนท์” ชี้ถ้าสภาจุฬาฯยังรีรอ ไม่กล้าถอดถอนปริญญาบัตร “ณัฐพล” มีอีกวิธีลงโทษให้ลองทำ

"ดร.อานนท์" ชี้ถ้าสภาจุฬาฯยังรีรอ ไม่กล้าถอดถอนปริญญาบัตร "ณัฐพล" มีอีกวิธีลงโทษให้ลองทำ

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่าเรื่องวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง ที่มีทั้ง data falsification (การปลอมแปลงข้อมูล) และ data fabrication (สร้างข้อมูลเท็จ) นั้น
สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหลังพิงในการถอดถอนปริญญาบัตรแล้ว ดังนี้

1.ผลวินิจฉัยข้อหารือในการถอดถอนปริญญาของนายศุภชัย หล่อโลหะการในปี 2554 ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่าผู้ใดมีอำนาจสถาปนา ผู้นั้นมีอำนาจถอดถอน

2. คำพิพากษาศาลอาญา ที่นายณัฐพล ใจจริง ฟ้องหมิ่นประมาท ศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร

3. ผลการสอบสวนของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง มีมติ 3 ใน 4 ว่างานของณัฐพล ใจจริง เกินเลยต่อความเป็นจริงไปมาก น่าอัปยศอดสูทางวิชาการ มีการกระทำผิดจริง

สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจจะรอคำพิพากษาคดีที่ ม.ร.ว. ปรียนันทนา รังสิตฟ้องณัฐพล ใจจริง และท้ายฟ้องขอให้ศาลสั่งทำลายวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริงทุกเล่ม

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผศ.ดร.อานนท์ ระบุอีกว่า ระหว่างสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรอคำพิพากษาก่อนจะตัดสินใจลงมติถอดถอนปริญญาของณัฐพล ในประเทศไทยนั้นมีผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลจริยธรรมการวิจัยโดยตรง ดังมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยทั่วไป พ.ศ. 2565

เราจะพบว่านายณัฐพล ใจจริง ทำผิดระเบียบข้อ 13 และ 14 เพราะวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลนั้นมี data falsification (การปลอมแปลงข้อมูล) และ data fabrication (สร้างข้อมูลเท็จ) นอกจากนี้ยังกระทบต่อบุคคลอื่นคือ สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านและนำเสนออย่างมีธงในใจและมีอคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ข้อ 13 นักวิจัยต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือสร้างข้อมูลเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยตามที่ตนต้องการหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

ข้อ 14 ในการวิจัยที่มีเนื้อหาสาระกระทบถึงบุคคลอื่นไม่ว่าในทางเป็นคุณหรือเป็นโทษ นักวิจัยจะต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงรอบด้าน การใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงเพียงแหล่งเดียวย่อมไม่เป็นไปตามมาตรฐานการวิจัย

ในการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีเนื้อหากระทบถึงบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่ง นักวิจัยต้องนำเสนอโดยปราศจากอคติ ไม่ชี้นำไปในทางที่นักวิจัยต้องการ

หากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องการให้เกิดความรอบคอบและมีหลังพิงเพิ่มขึ้นไปอีก สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบนี้ข้อ 29 และมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตามข้อ 30 วงเล็บ 6 ทั้งยังมีอำนาจลงโทษตามข้อ 38

โดยข้อ 38 กำหนดว่า ในกรณีที่ผลงานวิจัยกระทำโดยฝ่าฝืน ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 19 ข้อ 20 หรือข้อ 26 คณะกรรมการอาจมีมติให้ดำเนินการตามลักษณะและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดจริยธรรม ดังนี้
(1) ถอดถอนผลงานวิจัย
(2) ประกาศการกระทำผิดดังกล่าวให้ทราบเป็นการทั่วไป
(3) ดำเนินการอื่นตามที่ กสว. ประกาศกำหนด

ขอให้สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลองพิจารณาดำเนินการต่อไปครับ ระหว่างนี้อาจจะมีผู้ที่ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปร้องเรียนให้คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย มีวินิจฉัยก็ได้ครับ

ตอนท้าย ผศ.ดร.อานนท์ ตั้งคำถามว่า มีใครพร้อมทำหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์บ้างหรือไม่ครับ?

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น