“ละเมอเดิน” อีก 1 อันตรายใกล้ตัว ภาพตัด ตื่นที่ไหน ทำอะไรไว้

ละเมอเดิน อีก 1 อันตรายใกล้ตัว ภาพตัด ตื่นที่ไหน ทำอะไรไว้

ทำไมถึง "ละเมอเดิน" 1 ใน 3 กลุ่มการนอนละเมอในทางการแพทย์ ความผิดปกติที่อันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรปลุกให้ตื่นหรือไม่

TOP News ชวนรู้จัก “ละเมอเดิน” หลายคนคงรู้จักกับอาการละเมอพูด พอรู้ว่าภาพตัด ไปตื่นที่ไหน ทำอะไรไว้บ้าง อาจมองเป็นเรื่องขำขัน แต่ที่จริงแล้วเป็นความผิดปกติที่อันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด โดยเฉพาะการละเมอ เดิน เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุมาจากอะไร มีทางรักษาหรือไม่ มาดูกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ทำไมถึง ละเมอเดิน 1 ใน 3 กลุ่มการนอนละเมอในทางการแพทย์ ความผิดปกติที่อันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรปลุกให้ตื่นหรือไม่

อาการละเมอ?

อาการละเมอ “ละเมอเดิน” เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงคุณภาพการนอน ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีนัก เกิดขึ้นในขณะที่สมองของคนเราหลับลึกและมีการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน โดยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นคือ มีคลื่นไฟฟ้าแบบการตื่นเข้ามาผสม ทำให้เวลาละเมอเป็นภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น มักเจอได้บ่อยในเด็ก จึงคาดว่าสาเหตุของการละเมอนั้นอาจมาจากสมองที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงที่จะละเมอ

นอกจากเรื่องของพัฒนาการทางสมอง ในส่วนของพันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมอ หากพ่อแม่มีอาการละเมอ เด็กคนนั้นจะมีโอกาสละเมอมากกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว ส่วนปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการละเมอทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่ ความเจ็บป่วยบางอย่างทางกาย การใช้ยาบางชนิด ความเครียด รวมถึงโรคบางอย่างที่ทำให้การนอนหลับไม่เสถียร และมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ

โดยปกติแล้วขณะนอนหลับ ร่างกายคนเราจะเข้าสู่วงจรการนอน สู่การหลับลึกและหลับฝัน แต่เมื่อมีการละเมอเกิดขึ้น ภาวะการนอนจะเปลี่ยนแปลงเป็นการตื่น ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลง

สำหรับการนอนละเมอในทางการแพทย์ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

ละเมอหลับฝัน (REM Parasomnia)

  • การละเมอรูปแบบนี้สมองยังคงทำงานอยู่ มักจะเกิดขึ้นขณะกำลังฝัน เชื่อมต่อมาจากเหตุการณ์ในฝัน เช่น เดิน ยืน เต้น เป็นต้น ไม่ใช่เพียงเด็กเท่านั้นที่จะเกิดอาการละเมอแบบนี้ ในผู้ใหญ่เองก็พบอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน ที่สำคัญถ้าเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพราะอาจจะเกิดจากความผิดปกติของสมองและอาจเกิดอันตรายตอนละเมอได้

ละเมอหลับเงียบ (Non-REM Parasomnia)

  • การละเมอรูปแบบนี้สมองไม่ได้ทำงานเพิ่มขึ้นมากนักจากการนอน เพราะมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลับลึก อาการละเมอรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในเด็ก มีอาการลุกขึ้นมานั่ง กรีดร้อง แต่พอตื่นขึ้นมาจะจำอะไรไม่ได้

ไม่ใช่ทั้งละเมอหลับฝัน หรือละเมอหลับเงียบ

  • มีอาการทั้ง ละเมอพูด ละเมอสบถคำต่าง ๆ เป็นอาการที่เกิดได้กับทุกช่วงอายุ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคำที่คนส่วนใหญ่พูดออกมาจะเป็นคำสบถ คำปฏิเสธ คำพูดเชิงลบ และคำหยาบคายที่มุ่งว่าร้ายผู้อื่น โดยการสบถในระหว่างนอนหลับพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สันนิษฐานว่าเกิดจากความเครียด และจิตใต้สำนึกตอนนอน

ทำไมถึง ละเมอเดิน 1 ใน 3 กลุ่มการนอนละเมอในทางการแพทย์ ความผิดปกติที่อันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรปลุกให้ตื่นหรือไม่

“ละเมอเดิน” ?

อาการของการละเมอ แบ่งตามระยะการหลับ ได้แก่ หลับไม่ลึกและหลับลึก

หากเป็นระยะจากหลับไม่ลึกไปสู่การหลับลึก เรียกว่า ระยะตาไม่กระตุก ส่วนระยะตากระตุกจะเป็นระยะหลับฝัน โดยการละเมอส่วนใหญ่เกิดในช่วงหลับลึกและหลับฝัน หากละเมอพูด ละเมอร้อง เหงื่อแตก ใจสั่น ละเมอ เดิน มักเกิดในระยะหลับลึก ส่วนการละเมอในช่วงหลับฝันมักเป็นเหมือนฝันร้าย โดยตื่นขึ้นมาแล้วจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ธรรมดาหากฝันว่าเดิน วิ่ง หรือต่อสู้ ร่างกายจะมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจริง แต่ถ้ารายไหนมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเดิน วิ่ง เตะ หรือต่อยเกิดขึ้นจริง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติขณะหลับ

โดยการละเมอ เดิน เป็นความผิดปกติระหว่างช่วงหลับลึกกับหลับตื้น กิจกรรมที่ทำมีตั้งแต่กิจกรรมง่าย ๆ ไปจนถึงกิจกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น ละเมอขับรถ ละเมอมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการจะน้อยลงกว่าวัยเด็ก ยกเว้นมีปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น เรื่องราวในชีวิต ความเครียด เป็นต้น ส่วนมากเกิดขึ้นขณะหลับลึก

ในส่วนใหญ่คนเราจะมีการหลับลึกเป็นรอบ ๆ จึงมีการละเมอเกิดขึ้นไม่เกินคืนละ 1 – 2 ครั้ง พบได้น้อยมากที่จะเกิด 3 ครั้งต่อคืน สำหรับอัตราการเกิดต่อสัปดาห์และเดือนจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย หากมีปัจจัยมากระตุ้นจะเกิดได้ค่อนข้างถี่ ผลกระทบที่ตามมาจากอาการละเมอคือ วิตกกังวล เพราะคนกลุ่มนี้จะกังวลเมื่อตนเองต้องไปนอนที่อื่นที่ไม่ใช่บ้าน เช่น กิจกรรมค่ายพักแรม ส่วนผลกระทบที่ตามมานอกจากนี้ก็คือ การมีปัญหากับคนในครอบครัว

ในคนที่มีอาการละเมอควรพบแพทย์ก็ต่อเมื่อสงสัยว่าอาการละเมอนั้นอาจไม่ใช่อาการละเมอที่แท้จริง แต่อาจเป็นอาการชักขณะหลับ สังเกตจากทั่วไป คนเราจะละเมอคืนละ 1 – 2 ครั้ง หากมากกว่านั้นอาจไม่ใช่การละเมอและควรพบแพทย์ นอกจากนี้ ในส่วนของการละเมอ เดิน จัดเป็นภาวะที่ควรพบแพทย์เช่นกัน เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายสูงมาก

การรักษา?

  • ในส่วนของการรักษา แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการละเมอ เช่น เครียด หรือการใช้ยา เป็นต้น แล้วรักษาตามสาเหตุ หากคนไข้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นร่วมด้วย เช่น อาการนอนกรน เกิดการอุดกั้นการหายใจขณะหลับ ที่เป็นสาเหตุของการละเมอ ควรได้รับการประเมินและได้รับการรักษา อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจการนอนหลับร่วมด้วย หากพบว่าคนไข้มีอาการละเมอมาก แพทย์อาจให้ยาเพื่อลดการละเมอ

การป้องกัน?

  • การป้องกันสามารถทำได้โดยการส่งเสริมสุขนิสัยการนอนที่ดี การนอนหลับที่เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา เพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการละเมอลง ทั้งนี้ การรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของการนอนให้เหมาะกับการนอน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนและช่วยลดความเสี่ยงต่อการละเมอได้
  • หากพบว่าสมาชิกในบ้านมีอาการละเมอ ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เช่น การล็อกประตูเพื่อไม่ให้เปิดประตูออกไปข้างนอกได้เมื่อเกิดการละเมอ หรือแขวนกระดิ่งไว้ที่ประตู เพื่อเตือนคนในบ้านเมื่อมีอาการละเมอ และถ้าหากอาศัยอยู่คนเดียวและสงสัยว่าตนเองมีอาการละเมอ ควรพบแพทย์ ที่สำคัญที่สุด ห้องนอนทุกห้องต้องปลอดภัย ไม่มีของมีคมหรือไม่มีอันตรายใด ๆ ช่วยลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ละเมอไม่มากและนาน ๆ ครั้ง ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ และไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่น คนในบ้านอาจใช้วิธีกล่อมและพาไปนอนต่อได้ แต่ถ้าหากพบว่ามีอาการละเมอมาก เช่น ละเมอเดินหรืออื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวบุคคลนั้นได้ ควรรีบพบแพทย์

ทำไมถึง ละเมอเดิน 1 ใน 3 กลุ่มการนอนละเมอในทางการแพทย์ ความผิดปกติที่อันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรปลุกให้ตื่นหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น