ครม.สั่งเข้มควบคุม ตรวจสอบ “สภาผู้บริโภค” เบิกงบปีละกว่า 300 ล้าน เหตุ “สภาพัฒน์” ติงแรงการใช้จ่ายไม่คุ้มค่า

ครม.สั่งเข้มควบคุม ตรวจสอบ "สภาผู้บริโภค" เบิกงบปีละกว่า 300 ล้าน เหตุ "สภาพัฒน์" ติงแรงการใช้จ่ายไม่คุ้มค่า

ครม.สั่งเข้มควบคุม ตรวจสอบ “สภาผู้บริโภค” เบิกงบปีละกว่า 300 ล้าน เหตุ “สภาพัฒน์” ติงแรงการใช้จ่ายไม่คุ้มค่า

กลับมาเป็นประเด็นน่าสนใจต้องติดตามอีกครั้ง กับบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภค หลังจากมีรายงานข่าวว่า ในช่วงการพิจารณางบประมาณ 2568 ทาง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำเสนอความเห็นผ่าน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบความเห็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มีความจำเป็นต้องให้ สภาองค์กรของผู้บริโภค ทบทวนวิธีการทำงาน

หลังจากสภาองค์กรของผู้บริโภค มีการยื่นขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปี ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อีกจำนวน 360 ล้านบาท และ เป็นปีทื่ 4 แล้ว ที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ยื่นขอรับการจัดสรรร ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562

แต่ครั้งนี้ที่ประชุมครม.มอบหมายให้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รับข้อเสนอของสภาพัฒน์ ไปพิจารณาประกอบการจัดสรรงบประมาณ ให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อทำให้การใช้งบประมาณดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับข้อเสนอของสภาพัฒน์ ซึ่งรายงานความเห็นประกอบการพิจารณา การยื่นขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปี ของ สภาองค์กรของผู้บริโภค ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

1. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณากำหนดและเพิ่มตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อน ผลลัพธ์ไปยังประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อาทิ หน่วยงานประจำจังหวัดต้องสามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคจนได้ข้อยุติเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากแค่การกำหนดเพียงจำนวนสมาชิกและหน่วยงานประจำจังหวัด รวมถึงต้องปรับตัวชี้วัดบางตัวให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น เช่น การเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำหนดค่าเป้าหมายไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง

2. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรม ในแผนงานพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมในลักษณะการประชุมสัมมนาหรือการประชุม หารือระยะสั้นเพียง 1-2 ครั้ง ในแผนงาน เพราะงบฯส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าเดินทาง ซึ่งอาจไม่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือด้านนโยบายที่กำหนดไว้

3.เนื่องด้วยงบประมาณกว่า 40% เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานในแผนงานสนับสนุนสมาชิก หน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตในพื้นที่ โดยเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกและหน่วยงานในพื้นที่

ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาประสานใช้กลไกการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีเครือข่ายหลัก กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 500 เครือข่าย

และหากจำเป็นต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัดเพิ่ม สภาองค์กรของผู้บริโภคควรต้องคำนึงถึงความซ้ำซ้อนกับกลไกอื่นที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ด้วย หรืออาจพิจารณาจัดตั้งในลักษณะของเขตพื้นที่ที่เป็นการรวมกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

และถึงแม้ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 จะมีมติเห็นชอบกรอบวงเงิน เพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวนทั้งสิ้น 360.10 ล้านบาท ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ

แต่ที่ประชุมระบุให้ สปน. กำกับ ติดตาม การใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

 

ซึ่งถ้ากลับไปดูข้อกำหนดว่าด้วย ภารกิจสภาองค์กรของผู้บริโภค ตาม พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 พบว่ามีอำนาจหน้าที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1)คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
2)ติดตามและตรวจสอบปัญหาที่กระทบสิทธิผู้บริโภค
3)ส่งเสริมองค์กรของผู้บริโภคในระดับพื้นที่และจังหวัด
4)ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
5)ช่วยเหลือสมาชิกในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งก่อนและในระหว่างการดำเนินคดี
6)สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิ
7)เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ภาครัฐ
8)จัดรวบรวม เผยแพร่ข้อมูลสินค้าหรือบริการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

อย่างไรก็ตามในช่วงการก่อตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อยื่นเรื่องขอรับเงินงบประมาณแผ่นดิน เมื่อปี 2564 TOP NEWS พบว่ามีการร้องเรียนให้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ตรวจสอบถึงที่มา การนำรายชื่อองค์กรผู้บริโภค ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มาใช้จัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ว่ามีการจดแจ้ง และคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่

โดย ตามมาตรา 9 ของ พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ระบุว่า

องค์กรของผู้บริโภคที่มีลักษณะตามมาตรา 5 ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบองค์กร มีสิทธิเข้าชื่อกันแจ้งต่อนายทะเบียนกลางเพื่อเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค

เมื่อได้แจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการรวบรวมองค์กรของผู้บริโภคที่ยินยอมเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขององค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนกลาง ได้ประกาศการรับแจ้งตามมาตรา 6 วรรคห้า ไว้ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่แจ้งตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งตามวรรคหนึ่ง

ในการดำเนินการตามวรรคสอง ผู้เริ่มก่อการจะขอให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ประกาศเชิญชวน ให้องค์กรของผู้บริโภคมาแสดงความยินยอมเข้าร่วมต่อนายทะเบียนกลางแทนผู้เริ่มก่อการก็ได้

ขณะที่ นายชัชวาลย์ คำไท้ ประธานเครือข่ายสื่อมวลชนปกป้องผลประโยชน์ชาติ ระบุในขณะนั้นว่า เครือข่ายองค์กรบางแห่งอาจไม่ได้ดำเนินการจดแจ้งให้ถูกต้องกฎหมาย

“เป็นที่สงสัยว่าองค์กรเหล่านี้ บางองค์กรอาจถูกจัดตั้งขึ้นมาลอยๆ เพื่อให้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคหรือไม่ จึงได้ทำการสุ่มตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคตามบัญชีรายชื่อที่ สปน.ประกาศในระดับจังหวัด แล้วพบว่า องค์กรผู้บริโภคที่แจ้งไว้กับทางราชการนั้น ชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเลย

และเมื่อตรวจสอบเชิงลึกโดยการพูดคุยกับผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน พบว่าบางองค์กรไม่มีที่ตั้งตามที่แจ้งไว้ หรือไม่มีการทำกิจกรรมตามที่จดแจ้ง ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รู้จักเลย อันอาจถือได้ว่ามีคุณลักษณะไม่เป็นไปตาม ม.6 ประกอบ ม.5 ของกฎหมายข้างต้น จึงนำหลักฐานทั้งหมดมอบให้กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายผลสอบ 152 องค์กรเพื่อเอาผิดบุคคลและหรือองค์กรผู้บริโภคนั้น ๆ และถือเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ผ่านมาไม่สมบูรณ์อาจถือเป็น “โมฆะ” ตามกฎหมาย การทำนิติกรรมใดๆขององค์กรดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะและจะกระทำมิได้”

 

ไม่เท่านั้นยังพบความไม่ปกติ ด้วยว่า ในช่วงการจดจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ปรากฎว่ามีตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค รวมตัวไปยื่นต่อนายทะเบียนกลาง เพื่อขอเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นที่สงสัยว่าองค์กรผู้บริโภคต่างๆ เหล่านั้น ได้ดำเนินการหรือมีผลงานในการคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือไม่ อย่างไร

เพราะถ้าองค์กรเพื่อผู้บริโภคต่างๆ เหล่านั้น มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงทุกองค์กร ก็คงไม่มีปัญหาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องมีสภาองค์กรผู้บริโภคก็ได้ เว้นแต่มีความพยายามที่จะจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 ระบุข้อกำหนดว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องมีการรวมตัว องค์กรเครือข่าย อย่างน้อย 150 องค์กรขึ้นไป โดยมีหลักการสำคัญคือต้องเป็นอิสระ ไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรใด , รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ผลงาน หลักฐาน เป็นที่ประจักษ์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีการขออนุญาตจดแจ้งกับนายทะเบียนจะส่วนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัดก็ได้

ประเด็นสำคัญ คือ ในขณะนั้น พบด้วยว่า นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ให้ดำเนินการตรวจสอบ 151 องค์กรผู้บริโภค ที่มาแจ้งขอจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2563 ว่ามีความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ กฎหมายกำหนดหรือไม่

รวมถึง วันที่ 1 มี.ค. 2565 นายศรีสุวรรณ ยังได้นำข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เพื่อคุ้มครองเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อระงับยับยั้งมิให้สภาองค์กรของผู้บริโภคนำเงินภาษีของประชาชน 350 ล้านบาทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้มาใช้จ่าย

เนื่องจากการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวอาจมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่สมาคมฯ ได้ยื่นฟ้องปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)ไว้ก่อนหน้า เรื่องการจดจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ มีอย่างน้อย 3 องค์กรผู้บริโภค มีคุณลักษณะต้องห้ามตามนัย ม.5(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562

ซึ่งรายละเอียดส่วนนี้ Top News กำลังตรวจสอบเพิ่มเติมจากศาลปกครองกลาง ว่า ผลการวินิจฉัยคำรองในขณะนั้น มีผลเป็นอย่างไร จึงมีการอนุมัติเงินงบประมาณให้กับ สภาองค์กรของผู้บริโภค ต่อมาอีกถึง 2 ปี

รวมเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2564 – ปัจจุบัน สภาองค์กรผู้บริโภค ได้รับเงินอุดหนุนไปแล้ว 503 ล้านบาท แบ่งเป็น

ปี 2564 รัฐบาลอนุมัติทุนตั้งต้นประเดิม 350,000,000 บาท แต่ปลายงบประมาณสภาฯจึงใช้ไปเพียง 127,770,000 คงเหลือเงินอุดหนุนเมื่อ 30 ก.ย.64 จำนวน 222,230,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากการจัดตั้งองค์กร 51 ล้านบาท กลายเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับการประชุม สัมมนา และเงินสำรองฉุกเฉินกว่า 27 ล้านบาท

ปี 2565 รัฐบาลให้สภาฯใช้เงินทุนตั้งต้นที่เหลืออยู่ 222,230,000 ล้านบาท

ปี 2566 สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอขอเงินอุดหนุนจำนวน 395,147,098 บาท แต่ รัฐบาลอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนจำนวน 153 ล้านบาท
ต่อมาเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ที่ประชุมครม. เมื่อ 16 ต.ค.66 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางจัดทำงบประมาณปี 2568 ตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอขอ 360,094,000 บาท

โดยมีแผนงบประมาณ ประกอบด้วย

1.แผนสนับสนุนการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 32 ล้านบาท
2.แผนพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 48 ล้านบาท
3.แผนสนับสนุนสมาชิก หน่วยงานประจำจังหวัด 154 ล้านบาท
4.แผนสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 44.5 ล้านบาท
5.แผนบริหารจัดการสำนักงานและพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรของผู้บริโภค 81 ล้านบาท

และงบประมาณส่วนใหญ่ยังคงเป็นการประชุมสัมมนา ,จัดตั้งเครือข่ายในต่างจังหวัด สูงถึง 154 ล้านบาท และเฉพาะการใช้สื่อใช้จ่ายวงเงินไปรวม 44 ล้านบาท โดยมีข้อคำถามว่าเงินงบประมาณที่ใช้จ่ายไปทั้งหมดนั้น เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย ในฐานะผู้บริโภค อย่างคุ้มค่า ครบถ้วนแล้วหรือไม่

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คอหวยแตกตื่น!!แห่ร่วมพิธีและส่องเลขหางประทัดพิธีอัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นประดิษฐาน ณ วัดคงคาเลียบเมืองคอน
"เจ๊อ้อย" เปิดใจหลังให้ปากคำเป็นวันที่ 4 พร้อมเอาผิด "ทนายตั้ม" ยืนยันคำเดิม เงิน 71 ล้าน ไม่ได้ให้โดยเสน่หา
"สุสานเนอร์วาน่า" แจงชัดไร้ส่วนเกี่ยวข้อง พิธีซื้อที่ดินสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิตของ "หมอดูฮวงจุ้ย"
“อนุทิน” มอง “ปทุมธานี” เป็นเมืองต้นแบบกระจายอำนาจ ยินดี “บิ๊กแจ๊ส” นั่งนายกฯอบจ.
สุดเศร้า ลูกเศร้า กลับจากโรงเรียนเจอพ่อผูกคอดับ ขณะแม่ได้ข้อความขอโทษจากลูกชาย แต่ไม่ได้เอะใจ
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธรและงานประจำปีจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 134 ระหว่างวันที่ 12 - 24 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
‘ทนายไพศาล’ ยืนยันไม่ได้เป็นทนายให้ ‘ซินแสดัง’ขออีกฝ่ายอย่าเอารูปถ่ายคู่กันไปแอบอ้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 7 เปิดฉากแล้วที่จีน
ตร.เมืองชล ตั้งด่านป้องปรามอาชญากรรม-ยาเสพติดกลางดึก หนุ่มขนยาบ้า 3 แสนเม็ด ขับผ่านด่านแต่ไม่รอด สารภาพรับจ้างขนยา 3 หมื่น ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกจับเสียก่อน
เลือกตั้งสหรัฐเปิดฉากขึ้นแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น