“ศุภมาส” ชื่นชม “วศ.” วิจัยพัฒนาสำเร็จ นวัตกรรมเซรามิก “ดินโปร่งแสง” หนุนเพิ่มกำลังผลิต สร้างมูลค่า 1,000 ล้านต่อปี

"ศุภมาส" ชื่นชม "วศ." วิจัยพัฒนาสำเร็จ นวัตกรรมเซรามิก "ดินโปร่งแสง" หนุนเพิ่มกำลังผลิต สร้างมูลค่า 1,000 ล้านต่อปี

ศุภมาส” ชื่นชม “วศ.” วิจัยพัฒนาสำเร็จ นวัตกรรมเซรามิก “ดินโปร่งแสง” หนุนเพิ่มกำลังผลิต สร้างมูลค่า 1,000 ล้านต่อปี

วันที่ 26 มี.ค. 67 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกมิติ สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชน ล่าสุดขอชื่นชมความสำเร็จของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ที่ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเซรามิกจากดินโปร่งแสง “แร่หินผุ” ช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจากเดิมอุตสาหกรรมเซรามิกของไทยมักใช้เป็นแร่ดินขาว ซึ่งขณะนี้ทรัพยากรกำลังจะหมดไปภายใน 10 ปีนี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซรามิกของไทย

ศุภมาส

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น วศ.อว. ได้ศึกษาวิจัยนำแร่หินผุ ที่เดิมไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์และไม่มีมูลค่า นำมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเซรามิก โดยพบว่า แร่หินผุ นอกจากสามารถทดแทนดินขาวแล้ว ยังมีสมบัติโปร่งแสงและมีความพรุนตัวต่ำ ได้มีการนำมาพัฒนาเป็น โคมไฟและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นความต้องการของลูกค้าต่างชาติ หากมีการเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาเสริมมูลค่าผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกจะมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี

 

 

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายของ รมว.อว. ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชนด้วยการพัฒนานำแร่หินผุมาใช้ทดแทนวัตถุดิบดินขาว โดย วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตจากแร่หินผุและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดการใช้ประโยชน์ของแร่หินผุให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่นำร่องจังหวัดลำปาง และขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ

 

 

ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเซรามิกให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และครบวงจรมากว่า 20 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และ วศ. ได้นำองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตเซรามิกจากแร่หินผุไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผาและในระดับชุมชม เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาผลงานเซรามิกและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ซึ่ง วศ.อว. ได้ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งกระบวนการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน งานดีไซน์ที่เน้นทั้งความสวยงามคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบและการตลาดควบคู่กัน เพื่อส่งเสริมให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน

นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า การขยายความร่วมมือของ วศ.อว. หลังจากที่วิจัยพัฒนาสำเร็จ กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผา ทำให้เกิดการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะมีการขยายผลสร้างความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดความครอบคลุมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น