“อ.ไชยันต์” เติมกระจ่าง รธน.ฉบับ ร.7 พระราชทาน ไม่ใช่อย่าง “ส.ศิวลักษณ์” พยายามด้อยค่า

"อ.ไชยันต์" เติมกระจ่าง รธน.ฉบับ ร.7 พระราชทาน ไม่ใช่อย่าง "ส.ศิวลักษณ์" พยายามด้อยค่า

อ.ไชยันต์” เติมกระจ่าง รธน.ฉบับ ร.7 พระราชทาน ไม่ใช่อย่าง “ส.ศิวลักษณ์” พยายามด้อยค่า

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กตอบโต้นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ กรณีวิจารณ์หนังแอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยศ.ดร.ไชยันต์ ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญ อาจารย์สุลักษณ์กับ2475แอนิเมชั่น ในคลิปวิดีโอเรื่อง “คู่มือรับชม อนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ” ท่านอาจารย์สุลักษณ์ได้กล่าวว่า “หนังเรื่องนี้ไม่เคยบอกเลย รัฐธรรมนูญที่ในหลวงเตรียมพระราชทานนั้น คืออะไร ถ้าเราอ่านดู รัฐธรรมนูญที่ในหลวงจะพระราชทานนั้น มีเพียงเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีเท่านั้นเอง อำนาจทั้งหมดยังอยู่ที่ในหลวงทั้งหมด”

อ.ไชยันต์ เติมกระจ่าง รธน.ฉบับ ร.7

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ศ.ดร.ไชยันต์ กางข้อมูลตอบกลับว่า หากเราอ่านเอกสาร “An Outline of Changes in the Form of Government” หรือ เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศและพระยาศรีวิศาลวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศยกร่างเป็นเค้าโครงรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 เราจะพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มิได้เพียงเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีเท่านั้นตามที่ท่านอาจารย์สุลักษณ์กล่าว แต่ได้กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งไว้ด้วย

 

 

โดยศ.ดร.ไชยันต์ ได้ยกเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญของในหลวง รัชกาลที่ 7 ที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนของ “นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี” ,สภานิติบัญญัติ ,ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ,การเลือกตั้ง ,คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ,คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ,วาระของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี 4-5ปี,วาระของสภานิติบัญญัติ 4-5ปี ,อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ ตัวเอย่างเช่น

-นายกรัฐมนตรี ร่างรัฐธรรมนูญของในหลวง รัชกาลที่ 7 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้คัดสรรและแต่งตั้ง บุคคลที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์หรือมีตำแหน่งขุนนางเสนาบดี ซึ่งการที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกในระยะแรกเริ่ม เพราะหลายประเทศในยุโรปที่เริ่มเข้าสู่ระบอบการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับแรกล้วนกำหนดให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามพระบรมราชวินิจฉัย และให้อำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์

 

 

-สภานิติบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญของในหลวง รัชกาลที่ 7 บัญญัติว่า จำนวนที่ประมาณไว้น่าจะอยู่ไม่เกิน 75 และไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็ได้ หรือแต่งตั้งทั้งหมดก็ได้ หรือผสมทั้งสองแบบ แต่ในร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอให้ใช้แบบผสม นั่นคือ ให้มีทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งในจำนวนที่เท่าๆกัน โดยผู้แต่งตั้งคือ พระมหากษัตริย์ และครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติประเภทแต่งตั้งนี้ จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งข้าราชการในเวลาเดียวกัน ส่วนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยตำแหน่ง

-การเลือกตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญของในหลวง รัชกาลที่ 7 บัญญัติว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้กำหนดให้เป็นการเลือกตั้งแบบทางอ้อม นั่นคือ ให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในแต่ละอำเภอเลือกบุคคลจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ไปทำหน้าที่เลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติอีกทีหนึ่ง โดยบุคคลดังกล่าวนี้จะมาประชุมกันและเลือกตัวแทนของแต่ละมณฑล ดังนั้นแต่ละมณฑลจะมีตัวแทนเข้าไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

 

 

-อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ อาทิ พิจารณาเห็นชอบร่างกฎหมายที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี ,พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี ,ตั้งกระทู้อภิปรายซักถามรัฐมนตรีในเรื่องใดๆก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อการปกครอง และรัฐมนตรีจะต้องตอบคำถามยกเว้นในกรณีที่จะขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะ

ศ.ดร.ไชยันต์ ระบตอนท้ายว่า ที่กล่าวไปคือ สาระสำคัญบางประการของเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทานแก่พสกนิการของพระองค์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรีครบ 150 ปี แต่เมื่อถึงวันดังกล่าว มิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด โดยเหตุผลจากคำบอกเล่าของบุคคลต่างๆในสมัยนั้น ต่างได้กล่าวตรงกันว่าเป็นเพราะอภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วย ต่อจากนั้นอีก 3 เดือน คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน

พร้อมระบุแหล่งอ้างอิง: แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475), หน้า 164-165, 198-201.)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น