“สสรท.ผนึกสรส.” จี้รัฐบาลทบทวนขึ้นค่าจ้างเขตพื้นที่ ขอเป็นวันละ 400 ทั่วประเทศ

สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ยื่นหนังสือรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานคัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้างแบบเขตพื้นที่ 400 บาทต่อวัน ขอรัฐพิจารณาปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท/วัน เท่ากันทั่วประเทศ

27 มีนาคม 2567 สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมสมาชิกกว่า 300 คน ได้เดินทางมาที่กระทรวงแรงงาน ยื่นหนังสือแก่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อคัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้างรายพื้นที่ และต้องการให้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ โดยมีนายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับหนังสือ

 

 

 

 

 

 

 

 

นายสาวิทย์ ระบุว่า การเดินทางมายื่นหนังสือวันนี้ เพื่อต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาล ในเรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะรายพื้นที่ ซึ่งหลังจากที่ทราบข่าว ที่คณะกรรมการไตรภาคี มีมติให้ปรับค่าจ้างวันละ 400 บาทใน 10 จังหวัด ได้ถือเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่เลวร้ายและไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือรายเทศบาลจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของค่าจ้างและเกิดการย้ายฐานแรงงานจากพื้นที่ค่าจ้างต่ำไปยังพื้นที่ที่มีค่าจ้างสูงก่อให้เกิด ปัญหาด้านการจัดการแรงงานในอนาคต

 

ทั้งนี้ การเดินทางมาวันนี้ ไม่ได้ต้องการบอกว่ารัฐบาลจะแทรกแซงคณะกรรมการไตรภาคีไม่ได้ เพราะมติของไตรภาคีที่ออกมาขัดแย้งต่อความเป็นจริงและไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ที่พวกตนได้นำเสนอ จึงต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำสิ่งที่ได้เสนอไปทบทวน โดยตนเชื่อว่า มีอำนาจที่จะเข้ามาดูแล หากเป็นการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์คนส่วนใหญ่

 

 

 

 

 

 

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการไตรภาคี ได้นำเสนอเจตนารมย์ของพวกตน ส่งไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ พร้อมขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยกเลิกสูตรและแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติ พร้อมขอให้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ขอให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 492 บาทต่อวันหรือไม่ต่ำกว่า 400 บาทต่อวัน ตามที่รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแถลงก่อนหน้านี้ โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวกันทั่วประเทศ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าและให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเพื่ออนาคตของคนทำงานครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาคเอกชนและลูกจ้างภาครัฐ ขอให้มีการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินความเป็นจริง เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพมีงานมีงานทำมีรายได้ก็จะเกิดการผลิตการจำหน่ายผู้ประกอบการขายสินค้าได้ รัฐก็สามารถเก็บภาษีได้ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคงยั่งยืนและการปรับขึ้นค่าจ้างก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของทำงานรัฐบาลต้องทำควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไปป้องกันการผูกขาด

ข่าวที่น่าสนใจ

 

โดยนายสาวิทย์ ระบุอีกว่า สสรท. และ สรส. เคารพในหลักการไตรภาคีแต่ต้องเป็นไปภาคีที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ การลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคมจึงเป็นหน้าที่ของรัฐรัฐบาลที่ต้องดำเนินการ โดยหลังจากนี้จะติดตามดูท่าทีของรัฐบาลว่าเป็นเช่นไร หากไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะร่วมกันพิจารณามาตรการผลักดันต่อไป

 

ด้านนายสิรภพระบุว่า จะนำเรื่องนี้เสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

งามหน้า "นักเที่ยว" ส่งหลักฐานบดยาเค ใน "ร้านเหล้าดัง" ย่านบางใหญ่ หลังตร.ตรวจค้นไม่พบ
"ภูมิธรรม" ทานอาหารค่ำร่วม "ผบ.เหล่าทัพ-ผบ.ตร." ด้าน "ผบ.ทอ." ปรุงเมนูอาหารใต้เลี้ยง
"เอกนัฏ" ลุยจับโรงงาน ลอบขน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ที่ถูกอายัดจากปราจีนฯ พร้อมสั่งปิดกิจการ-ดำเนินคดีอ่วม 
สุดหดหู่ พบ "ร่างทารก" ห่อโสร่งยัดใส่กระเป๋า จุดธูปเทียนสะกดวิญาณ ก่อนโยนทิ้งคลอง
อย่าพลาด! 2 ทุ่มวันนี้ ร่วมส่งแรงใจเชียร์ “ทัพช้างศึก” เปิดบ้านดวล “เวียดนาม” ชิงเจ้าอาเซียน
“ทักษิณ” มั่นใจ ปี 68 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว จ่อรื้อรัฐราชการอุ้ยอ้าย
ระทึก "ศรภ.เกาะช้าง" รุดช่วย "6 นทท.ต่างชาติ" กลางทะเล หลังคลื่นลมแรง พัดเรือคายัคล่ม
จีนปิดฉากงาน ‘ประติมากรรมน้ำแข็ง’ นานาชาติฮาร์บิน ครั้งที่ 36
จนท.จับ "เขมร 6 ครอบครัว" ลักลอบปลูกหมู่บ้านอยู่ฝั่งไทย ตั้งแต่ช่วงโควิด
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ฝีมือจีน โชว์ลุกนั่งนอนท่ายาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น