“คดีพรากผู้เยาว์” แม้เด็กไม่เกิน 18 เต็มใจก็เจอคุกเหมือนกัน?

คดีพรากผู้เยาว์ แม้เด็กไม่เกิน 18 เต็มใจก็เจอคุกเหมือนกัน?

"คดีพรากผู้เยาว์" คืออะไร มีกี่ประเภท โทษเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเด็กไม่เกิน 18 ปี ยินยอมหรือเต็มใจไปด้วย ต้องติดคุกหรือไม่

TOP News รายงานประเด็น “คดีพรากผู้เยาว์” หลังจากที่ หยก ประกาศยุติการเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง โดยระบุว่า ขณะนี้ ตนกลับไปอยู่กับที่บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังคงสนับสนุนวงการดนตรี และการศึกษานอกระบบ หรือ กศน. ปรากฏว่า ในโลกออนไลน์มีการแฉแบบจัดหนัก ภาพ หนุ่มใกล้ชิดหยก โยง บุ้ง ทะลุวัง ถูกสวมเขา ด้านชาวเน็ตคอมเมนต์กันสนั่น พร้อมคำถามน่าสนใจ พรากผู้เยาว์ หรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

คดีพรากผู้เยาว์ คืออะไร มีกี่ประเภท โทษเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเด็กไม่เกิน 18 ปี ยินยอมหรือเต็มใจไปด้วย ต้องติดคุกหรือไม่

“คดีพรากผู้เยาว์” ?

พรากผู้เยาว์ คือ การพาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ ออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา

การพรากผู้เยาว์ถือเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งมักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยความผิดฐานพรากผู้เยาว์ที่ขึ้นสู่ชั้นศาลเป็นจำนวนมาก มักเป็นคดีพรากร่วมกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา พาไปเพื่อการอนาจาร หรือพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย

โดยความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้น ถือเป็นความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำต่อเสรีภาพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นความผิดอาญา ไม่สามารถยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้เป็นผู้ฟ้องหรือร้องทุกข์เอาผิดด้วยตัวเอง แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถจับตัวผู้กระทำให้มารับโทษได้ ทั้งนี้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 318 และ 319 ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

มาตรา 317

  • ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 300,000 บาท ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น และถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 400,000 บาท

มาตรา 318

  • ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 200,000 บาท ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น และถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 300,000 บาท

มาตรา 319

  • ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 200,000 บาท ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

สรุปความผิดฐานพรากผู้เยาว์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
  2. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย
  3. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย นั่นเอง

คดีพรากผู้เยาว์ คืออะไร มีกี่ประเภท โทษเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเด็กไม่เกิน 18 ปี ยินยอมหรือเต็มใจไปด้วย ต้องติดคุกหรือไม่

“คดีพรากผู้เยาว์” คำว่า พราก แปลว่า?

สำหรับคำว่า พราก ตามมาตรา 317 318 และ 319 แปลว่า พาเอาไปเสีย ซึ่งต้องกระทบกระเทือนอำนาจปกครองของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองของเด็ก ดูจากการใช้อำนาจปกครองตามความเป็นจริง ผู้ปกครองของเด็กไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย (ที่จดทะเบียนสมรสกัน) หรืออาจเป็นพ่อแม่บุญธรรม เด็กอาจอยู่อาศัยกับปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ขณะที่ถูกพรากก็ได้ โดยไม่จำกัดวิธีพรากหรือระยะทางว่า เด็กถูกพาไปห่างไกลจากผู้ปกครองมากน้อยเพียงใด ขอเป็นเพียงการกระทำที่กระทบต่ออำนาจปกครองก็เป็นความผิดฐานนี้ เด็กที่ถูกพรากไม่จำเป็นต้องอยู่กับผู้ปกครองตลอดเวลา เพราะกรณีเด็กหนีออกจากบ้านและถูกพาตัวไปนั้น ถ้าปรากฏว่า

ผู้ปกครองยังติดตามตัวเด็กถือว่ามีความหวงแหนกันอยู่ ถือว่าเด็กยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้ปกครอง อันจะถูกพรากได้ กลับกัน… หากพ่อแม่ผู้ปกครองทอดทิ้งเด็ก ตัดขาดเด็ก เลิกตามหาเด็กที่หายไปและเด็กถูกพาตัวไป คนพาไปก็ไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ ผู้พรากต้องกระทำผิด โดยปราศจากเหตุอันสมควร

กล่าวคือ ไม่ได้รับความยินยอมหรือไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้พาตัวเด็กไป ผู้กระทำนอกจากต้องรู้ว่า ตนพรากเด็กไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้ว ต้องรู้อายุของเด็กที่ตนพรากว่าอายุเท่าไรด้วย เพราะอายุเด็กที่พรากเป็นข้อเท็จจริงอันสำคัญที่จะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลในความผิดฐานนี้

ยกตัวอย่าง กรณีที่เป็นการพาตัวเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นพรากผู้เยาว์ เช่น

  • กรณีพ่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่ของเด็ก) ประสงค์จะพาตัวเด็กไปอุปการะเลี้ยงดู ไม่ถือเป็นการพาไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่ผิดพรากผู้เยาว์
  • ชายผู้ที่จะพาเด็กสาวไปเลี้ยงดูอยู่กินฉันสามีภริยา ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่จะพาไป แต่ต้องปรากฏว่า ชายที่พาตัวไปขณะนั้น ไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว เป็นต้น

เด็กเต็มใจก็เจอคุก?

จากรายละเอียด ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 318 และ 319 เท่ากับว่า เด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ยังไม่เกิน 18 ปี หากถูกล่วงละเมิด ไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ผู้ล่วงละเมิดจะถูกดำเนินคดีในข้อหา “พรากผู้เยาว์” ซึ่งแต่ละมาตราจะมีอัตราโทษและความรุนแรงที่ต่างกันออกไป แต่โดยสรุปก็คือ มีโทษทั้งปรับและจำคุกนั่นเอง

คดีพรากผู้เยาว์ คืออะไร มีกี่ประเภท โทษเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเด็กไม่เกิน 18 ปี ยินยอมหรือเต็มใจไปด้วย ต้องติดคุกหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี
"ไผ่ ลิกค์" ลั่นได้คุยแล้ว ปมดาราดัง ยืมเงินเพื่อน 20 ล้าน ปล่อยกู้ รอเจ้าตัวมาตอบ ย้ำเคยเตือนเรื่องใช้ชีวิตแพง
รองโฆษก รบ.เผย ‘กฎหมายฟ้องชู้’ ใหม่บังคับใช้แล้ววันนี้ ฟ้องหย่า-เรียกค่าเสียหายได้ทุกเพศ
"ตร.ทางหลวงเมืองกรุงเก่า" จับเมียนมา ขนเพื่อนร่วมชาติส่งทำงานในไทย สารภาพสิ้นทำมานาน 1 ปี วิ่งรถกว่า 100 เที่ยว
"ทนายเดชา" เปิดใจ หลังศาลสั่ง คุก 1 ปี รอลงอาญา คดีหมิ่น "อ.อ๊อด" ย้ำไม่มีร้องไห้ ใส่กุญแจมือ รอชำระค่าปรับตามคำพิพากษา
"จิรายุ" ย้ำ "เงินหมื่น" เฟส 2 มอบคนอายุุ 60+ โอนแน่ 27 ม.ค.นี้
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความ "คนสอนธรรม" เพิ่ม 1 ข้อหา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น