“อ.ไชยันต์” เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ “ส.ศิวลักษณ์” ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

"อ.ไชยันต์" เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ "ส.ศิวลักษณ์" ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

อ.ไชยันต์” เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ “ส.ศิวลักษณ์” ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 67 ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กให้ข้อมูลตอบโต้นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวลักษณ์ อีกประเด็น หลังส.ศิวลักษณ์วิจารณ์โจมตีหนังแอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

โดยศ.ดร.ไชยันต์ ได้ระบุถึงประเด็น การเตรียมการไปสู่การมีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนที่ 1 หลังในคลิปวิดีโอเรื่อง “คู่มือรับชม แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ” ส.ศิวลักษณ์กล่าวว่า “คนที่บอกว่า ประชาธิปไตย ในหลวงเตรียมพระราชทานอยู่แล้วนั้น เป็นการพูดแบบกึ่งจริง กึ่งเท็จ เป็นการหลอกลวง มอมเมาคน”

อ.ไชยันต์ เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ ส.ศิวลักษณ์ ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งรศ.ดร.สนธิ เตชานันท์ ได้รวบรวมเอการหลักฐานต่างๆที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและพระราชกรณียกิจเตรียมการไปสู่การมีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย มาก่อนที่คณะราษฎรจะทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

หลักฐานต่างๆที่เป็นพระราชดำริและพระราชกรณียกิจนับตั้งแต่ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ถูกจัดหมวดหมู่ไว้ดังต่อไปนี้คือ

หนึ่ง: ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน

สอง: ร่างรัฐธรรมนูญ: แนวพระราชดำรที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง

สาม: สภากรรมการองคมนตรี: พระบรมราโชบายวางรากฐานการปกครองระบอบรัฐสภา

สี่: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อความเห็นของนายมุสโสลินี เรื่อง “การศึกษาของชาติ”

ห้า: พระบรมราโชบายที่จะฝึกฝนประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ซึ่ง ศ.ดร.ไชยันต์ได้ยกตัวอย่างในหมวดที่สองเรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญ: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง” ตามลำดับเวลา อาทิ

-23 กรกฎาคม 2469: พระราชบันทึกเรื่อง “ปัญหาต่างๆของสยาม ” ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระยากัลยาณไมตรี
ซึ่งทรงแสดงพระราชดำริและตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆที่ต้องมีในรัฐธรรมนูญ เช่น ที่มาของพระมหากษัตริย์, พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์, การมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชน, สภานิติบัญญัติ, การจัดการให้มีสภาประชาภิบาล เป็นต้น

-27 กรกฎาคม 2469: บันทึกความเห็นของพระยากัลยาณไมตรี กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบันทึกแสดงความเห็นต่อประเด็นต่างๆในปัญหาต่างๆของสยาม หรือ “Problems of Siam” โดยพระยากัลยาณไมตรีเห็นว่า สยามยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบรัฐสภาและมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชน แต่พระยากัลยาณไมตรีเห็นด้วยกับการให้มีการสภาประชาภิบาล ในฐานะที่เป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนาการเมืองเพื่อเป็นรากฐานไปสู่ประชาธิปไตยในอนาคต

-27 กรกฎาคม 2469: ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Outline of Preliminary Draft

-8 มีนาคม 2474: ร่างรัฐธรรมนูญโดยนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ กับ พระยาศรีวิศาลวาจา

สำหรับหมวดที่หนึ่งว่าด้วย “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน” ศ.ดร.ไชยันต์ ให้ข้อมูล อาทิ

 

-12 สิงหาคม 2469 : ร่างพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เรื่อง “คิดจะจัดการประชาภิบาล” สืบเนื่องจากที่ทรงมีพระราชดำริเรื่องสภาประชาภิบาลในปัญหาต่างๆของสยาม และพระยากัลยาณไมตรีเห็นด้วยกับพระราชดำริดังกล่าว

-13 ตุลาคม 2470: หนังสือราชการ: พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เรื่อง “ความเห็นของกระทรวงการคลังฯในเรื่อง จะโอนเงินรายได้ของแผ่นดินไปเพิ่มรายได้สุขาภิบาลท้องที่อีก”

-20 ตุลาคม 2470: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง “สุขาภิบาล” และเรื่อง “ความเห็นของ เซอร์ เอ็ดวาร์ด กุ๊ก”

-18 พฤศจิกายน 2470: รายงานการประชุมอภิรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 เกี่ยวกับเรื่องการจัดสุขาภิบาลตามหัวเมือง, การเงินของสุขาภิบาล, การไปดูการจัดการ municipality ของประเทศใกล้เคียง, การตั้งกรรมการศึกษากิจการ municipality เป็นต้น

-28 พฤศจิกายน 2470: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเรื่อง “กำหนดตัวผู้ที่จะเป็นกรรมการจัดการ ประชาภิบาล”

ศ.ดร.ไชยันต์ ระบุตอนท้ายว่า ในหมวดที่หนึ่งนี้ยังมีรายละเอียดอีกมาก โปรดติดตามตอนต่อไป
พร้อมระบุแหล่งอ้างอิง: สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475), หน้า 33-40)

(แหล่งอ้างอิง: สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475), หน้า 33-40)

ทั้งนี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนเข้ามาสอบถามศ.ดร.ไชยันต์ว่า “อาจารย์เหนื่อยกับการตอบ ท่าน ส.ไหมคะ” ซึ่งศ.ดร.ไชยันต์ก็เข้ามาคอมเมนต์ตอบว่า “ไม่เลยครับ”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น