กลุ่มศปปส.นัดรวมพล 29 มี.ค.นี้ ยื่นหนังสือถึง UN ประจำประเทศไทย คัดค้านยุติช่วยเหลือ “อานนท์ นำภา” นักโทษคดี 112

กลุ่มศปปส.นัดรวมพล 29 มี.ค.นี้ ยื่นหนังสือถึง UN ประจำประเทศไทย คัดค้านยุติช่วยเหลือ "อานนท์ นำภา" นักโทษคดี 112

กลุ่มศปปส.นัดรวมพล 29 มี.ค.นี้ ยื่นหนังสือถึง UN ประจำประเทศไทย คัดค้านยุติช่วยเหลือ “อานนท์ นำภา” นักโทษคดี 112  Top News รายงาน 

 

กลุ่มศปปส.

ข่าวที่น่าสนใจ

พยามเข้ามาวุ่นวายกิจการภายในของประเทศตลอดเวลา สำหรับองค์ต่างชาติ หลายองค์กร ที่การเคลื่อนไหวแต่ละคน ทำให้คนไทยเองรู้สึกไม่สบายใจ โดยองค์กรเหล่านี้มักจะอ้างว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน

 

ทั้งนี้ได้มีรายงานระบุด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ได้ออกมาแสดงความกังวลในประเด็นการดำเนินคดีต่อ อานนท์ นำภา ซึ่งถูกตัดสินลงโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ทั้งหมด 2 คดี รวมเป็นโทษจำคุกทั้งสิ้น 8 ปี จากการตั้งคำถามเกี่ยวกับการบังคับใช้ ม.112 ซึ่งรวมไปถึงการเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

 

เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เผยแพร่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการกลับคำพิพากษา และยุติการดำเนินคดีที่เหลือทั้งหมดของอานนท์ นำภา และผู้ถูกดำเนินตามมาตรา 112 รวมถึงการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และเน้นย้ำข้อเรียกร้องที่มีมาอย่างยาวนาน ให้รัฐบาลไทย “ยกเลิก” มาตรา 112 โดยอ้างว่า เพื่อให้ประมวลกฎหมายอาญาของไทย เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชน

 

อานนท์ นำภา ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนับตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 66 หลังศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ในคดีมาตรา 112 คดีแรก และขณะนี้ยังถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ อีกกว่า 12 คดี ยิ่งไปกว่านั้น อานนท์ยังถูกร้องเรียนต่อสภาทนายความฯ เพื่อให้มีการพิจารณาถอดถอนใบอนุญาตว่าความ โดยคำร้องเรียนกล่าวหาอานนท์ ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายผิดมรรยาททนายความ เนื่องจากปราศรัยในการชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 63 เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ยังได้แสดงความคิดเห็น โดยมีใจความว่า
1. การลงโทษจำคุกและการดำเนินคดีซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่ออานนท์ นำภา นั้น ไม่ได้สัดส่วนโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังแสดงถึงความน่ากังวล ต่อการปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้เห็นต่างคนอื่น ๆ

 

 

 

2. การใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ นั้น สร้างความตื่นตระหนกเป็นระยะเวลาหลายปี และคณะทำงานกลไกพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังรัฐบาลไทยแล้ว กว่าหลายฉบับ เพื่อแสดงถึงความกังวลในประเด็นดังกล่าว

 

3. การลงโทษหนัก ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และบุคคล ที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบนั้น ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยพึงปฏิบัติตาม การกระทำเช่นนี้ ยังเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงภาคประชาสังคม

 

4. การวิพากษ์วิจารณ์ และการให้คำปราศรัยเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อการสนับสนุนทางด้านสิทธิมนุษยชน ควรได้รับการคุ้มครอง และส่งเสริมในสังคมประชาธิปไตย

 

5. ทนายความมีสิทธิในการใช้เสรีภาพในการแสดงออก และจะต้องไม่ถูกลิดรอนสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพ

 

ล่าสุดมีรายงานว่า นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) จะยื่นหนังสือถึง ข้าหลวงใหญ่ UN คัดค้านการช่วยเหลือนักโทษคดี 112 รวมทั้งนายอานนท์ นำภา ผู้ต้องหาคดี 112 ด้วย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น