“อัษฎางค์” ซัด UN สองมาตรฐาน หยุดสร้างความเหลื่อมล้ำ หลังจี้ยุติดำเนินคดี112 “อานนท์ นำภา”

"อัษฎางค์" ซัด UN สองมาตรฐาน หยุดสร้างความเหลื่อมล้ำ หลังจี้ยุติดำเนินคดี112 "อานนท์ นำภา"

เรียกได้ว่าพยายามเข้ามาวุ่นวายกิจการภายในของประเทศตลอดเวลา สำหรับองค์ต่างชาติ หลายองค์กร ที่การเคลื่อนไหวแต่ละคน ทำให้คนไทยเองรู้สึกไม่สบายใจ โดยองค์กรเหล่านี้มักจะอ้างว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ได้มีรายงานระบุด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ได้ออกมาแสดงความกังวลในประเด็นการดำเนินคดีต่อ อานนท์ นำภา ซึ่งถูกตัดสินลงโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ทั้งหมด 2 คดี รวมเป็นโทษจำคุกทั้งสิ้น 8 ปี จากการตั้งคำถามเกี่ยวกับการบังคับใช้ ม.112 ซึ่งรวมไปถึงการเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เผยแพร่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการกลับคำพิพากษา และยุติการดำเนินคดีที่เหลือทั้งหมดของอานนท์ นำภา และผู้ถูกดำเนินตามมาตรา 112 รวมถึงการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และเน้นย้ำข้อเรียกร้องที่มีมาอย่างยาวนาน ให้รัฐบาลไทย “ยกเลิก” มาตรา 112 โดยอ้างว่า เพื่อให้ประมวลกฎหมายอาญาของไทย เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชน

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดวันที่ 28 มีนาคม 2567 ทางด้าน เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุข้อความว่า “คนไทยเรียกร้องให้ UN หยุดสร้างความเหลื่อมล้ำ สองมาตรฐาน และขอเรียกร้องให้ UN ไปเรียกน้องให้อเมริกา อังกฤษ ฯลฯ ยุติการดำเนินคดีต่อผู้ละเมิดหรือคุกคามประมุขของชาติตะวันตกทั้งหลายด้วย”

เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ได้เผยแพร่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ
1. เรียกร้องให้มีการกลับคำพิพากษา และยุติการดำเนินคดีที่เหลือทั้งหมดของอานนท์ นำภา และผู้ถูกดำเนินตามมาตรา 112 รวมถึงการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง
ความจริงคือ คนไทยเรียกร้องให้ UN ไปเรียกร้องให้อเมริกายกเลิกกฎหมายคุ้มครองประมุขของชาติ และหยุดดำเนินคดีต่อผู้ละเมิดประธานธิบดีทั้งที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
2. เน้นย้ำข้อเรียกร้องที่มีมาอย่างยาวนานให้รัฐบาลไทย “ยกเลิก” มาตรา 112 โองการอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน
ความจริงคือ ม.112 เป็นกฎหมายคุ้มครองประมุขของชาติ ซึ่งทุกประเทศในโลกก็มี ถ้าเช่นนั้น UN ก็ควรเสนอให้ อเมริกา อังกฤษ และทุกประเทศยกเลิกกฎหมายคุ้มครองประมุขของชาติตน
3. การใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ นั้น สร้างความตื่นตระหนกเป็นระยะเวลาหลายปี
ความจริง กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของชาติ ซึ่งอเมริกาก็มีกฎหมายนี้ และก็คล้ายกับกฎหมายหมิ่นบุคคลธรรมดา นั้นคือใช้คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จะไปสร้างความตระหนกอะไรถ้าไม่คิดจะละเมิดสิทธิผู้อื่น
4. การลงโทษหนักต่อบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ความจริงคือ นักโทษคดี ม.112 ไม่ได้ใช้สิทธิแสดงความเห็นต่างทางการเมือง แต่คนเหล่านั้นใช้สิทธิส่วนบุคคลคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของชาติ ถ้าคนอเมริกัน ใช้สิทธิส่วนบุคคลคุกคามประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขของชาติก็ถูกดำเนินคดีมิใช่หรือ
5. ทนายความมีสิทธิในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและจะต้องไม่ถูกลิดรอนสิทธิในการประกอบวิชาชีพ
ความจริงคือ ทนายความก็เป็นเพียงอาชีพหนึ่ง เป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ทำไม UN บังคับให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงจากเรื่องดังกล่าวนี้คือ รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่า
มาตรา ๒๕ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
มาตรา ๒๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว
การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน
มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่มีความมุ่งหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองการปกครองของประเทศให้เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ระบอบการปกครองประชาธิปไตย และ พระมหากษัตริย์
โดยหลักการนี้ บัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495 และบัญญัติในทำนองเดียวกันไว้ในรัฐธรรมนูญต่อมาทุกฉบับ
บทบัญญัตินี้ เป็นการคุ้มครอง มิให้มีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะส่งผลเป็นการบั่นทอน หรือทำลายพื้นฐานของ และสั่นคลอนคติรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ที่ดำรงอยู่ให้เสื่อมทรามหรือต้องสิ้นสลายไป
ส่วนกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดอัตราความผิดและกำหนดอัตราโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ
สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหนึ่งในรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ โบราณราชประเพณี นิติประเพณี ซึ่งดำรงอยู่ในสถานะที่ผู้ใดจะละเมิดหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ ไม่ได้
“พระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศ จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองมิให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ หรือสถานะตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้”
รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 ที่บัญญัติรับรองว่าประเทศไทยมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่า “การกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย”
“สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงต่อประเทศ เพราะพระมหากษัตริย์ กับประเทศไทย หรือชาติไทย ดำรงอยู่คู่กัน เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นศูนย์รวมจิตใจในชาติ และธำรงความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศ การกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย”
การที่สหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ยกเลิกมาตรา 112 นั้นสอดคล้องกับนโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกล ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า
“การเสนอให้มาตรา 112 ออกจากลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักรเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวัง ให้ความผิดตามมาตรา 112 เป็นความผิดที่ไม่มีความสำคัญ และความร้ายแรงในระดับเดียวกัน กับความผิดในหมวด 1 ของลักษณะ 1 และไม่ให้ถือว่าเป็นความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศอีกต่อไป มีเจตนามุ่งหมายที่จะแยกสถาบันพระมหากษัตริย์กับความเป็นชาติไทยออกจากกัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐอย่างมีนัยสำคัญ”
การเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 ถือเป็นการลดการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ “ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เซาะกร่อนบ่อนทำลาย“

โดยหลักการนี้ บัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495 และบัญญัติในทำนองเดียวกันไว้ในรัฐธรรมนูญต่อมาทุกฉบับ
บทบัญญัตินี้ เป็นการคุ้มครอง มิให้มีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะส่งผลเป็นการบั่นทอน หรือทำลายพื้นฐานของ และสั่นคลอนคติรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ที่ดำรงอยู่ให้เสื่อมทรามหรือต้องสิ้นสลายไป
ส่วนกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดอัตราความผิดและกำหนดอัตราโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ
สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหนึ่งในรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ โบราณราชประเพณี นิติประเพณี ซึ่งดำรงอยู่ในสถานะที่ผู้ใดจะละเมิดหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ ไม่ได้
“พระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศ จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองมิให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ หรือสถานะตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้”
รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 ที่บัญญัติรับรองว่าประเทศไทยมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่า “การกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย”
“สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงต่อประเทศ เพราะพระมหากษัตริย์ กับประเทศไทย หรือชาติไทย ดำรงอยู่คู่กัน เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นศูนย์รวมจิตใจในชาติ และธำรงความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศ การกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย”
การที่สหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ยกเลิกมาตรา 112 นั้นสอดคล้องกับนโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกล ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า
“การเสนอให้มาตรา 112 ออกจากลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักรเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวัง ให้ความผิดตามมาตรา 112 เป็นความผิดที่ไม่มีความสำคัญ และความร้ายแรงในระดับเดียวกัน กับความผิดในหมวด 1 ของลักษณะ 1 และไม่ให้ถือว่าเป็นความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศอีกต่อไป มีเจตนามุ่งหมายที่จะแยกสถาบันพระมหากษัตริย์กับความเป็นชาติไทยออกจากกัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐอย่างมีนัยสำคัญ”การเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 ถือเป็นการลดการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ “ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เซาะกร่อนบ่อนทำลาย”

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น