ครั้งแรก “ไข้หวัดนก” H5N1 ติดวัว นมเจือปนเชื้อ เสี่ยงแพร่คน?

ครั้งแรก ไข้หวัดนก H5N1 ติดวัว นมเจือปนเชื้อ เสี่ยงแพร่คน?

รู้จัก "ไข้หวัดนก" H5N1 / H7N9 สื่อนอกตีข่าวเป็นครั้งแรก กระโดดไปติดวัว พบนมเจือปนเชื้อไวรัส จับตาความเสี่ยง วัวสู่วัว โอกาสมาหาคนได้มากกว่าจากนกโดยตรง

TOP News รายงาน สื่อนอกตีข่าวเป็นครั้งแรก ไวรัส “ไข้หวัดนก” H5N1 กระโดดไปติดวัว ทำนมวัวเจือปนเชื้อไวรัส ต้องจับตาความเสี่ยงที่น่ากังวล หากเป็นการแพร่จากวัวติดเชื้อไปหาวัวตัวอื่น ก็จะมีโอกาสมาหาคนได้มากกว่าไวรัสจากนกโดยตรง ไข้หวัดนก คืออะไร มีกี่สายพันธุ์ที่ติดต่อมาสู่คนได้ อาการ และการป้องกันทำอย่างไร

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก ไข้หวัดนก H5N1 / H7N9 สื่อนอกตีข่าวเป็นครั้งแรก กระโดดไปติดวัว พบนมเจือปนเชื้อไวรัส จับตาความเสี่ยง วัวสู่วัว โอกาสมาหาคนได้มากกว่าจากนกโดยตรง

วัวติด “ไข้หวัดนก” ?

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก ข่าวไวรัสไข้ หวัดนก H5N1 ไปติดวัวในสหรัฐอเมริกา เริ่มออกในสื่อ หลังมีการพูดกันในวงการวิชาการมาระยะนึงแล้ว นับว่าเป็นครั้งแรกที่ไวรัสไข้ หวัดนก กระโดดไปติดวัว ซึ่งมักไม่ค่อยมีพบว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดไวรัสไข้ หวัดนก ได้ ปกติจะพบได้มากในแมวน้ำ สิงโตทะเล หรือ หมู มากกว่า วัวที่ติดไวรัสไม่มีอาการหนักอะไร ตามข้อมูล คือ สามารถหายได้เองภายใน 10 วัน แต่จะเบื่ออาหาร และมีน้ำนมออกมาน้อย

ประเด็นที่เป็นข่าวคือ นมของวัวที่ติดไวรัสพบว่ามีเชื้อไวรัส H5N1 ปนออกมาด้วย ทำให้คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับนมเจือปนเชื้อโรค แต่ปกตินมวัวจะต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนที่จะนำออกมาให้บริโภคได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำลายเชื้อไวรัสได้ 100% ซึ่งไม่มีประเด็นเรื่องการได้รับเชื้อจากนมที่ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง

รู้จัก ไข้หวัดนก H5N1 / H7N9 สื่อนอกตีข่าวเป็นครั้งแรก กระโดดไปติดวัว พบนมเจือปนเชื้อไวรัส จับตาความเสี่ยง วัวสู่วัว โอกาสมาหาคนได้มากกว่าจากนกโดยตรง

โรค “ไข้หวัดนก” ?

โรคไข้ หวัดนก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในสกุล อินฟลูเอนซา เอ บางครั้งเรียกว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสไข้ หวัดนก สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ H5N1 และ H7N9 สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วย เช่น สารคัดหลั่งจากสัตว์ อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ที่ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

โดยสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ H5N1 มักมีอาการซูบผอม ไม่กินอาการ ขนยุ่ง ขนร่วง ซึม อาจตายกะทันหัน หรืออาจพบการตายผิดปกติเป็นจำนวนมาก ขณะที่ การติดเชื้อ H7N9 ในสัตว์ปีก ไม่ได้ทำให้สัตว์แสดงอาการป่วย ทำให้ยากที่จะหาสาเหตุแน่ชัด ว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากสัตว์โดยตรงหรือไม่

สำหรับอาการของโรคในคน H5N1 มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ บางรายมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ

ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดกำเดาไหล เยื่อบุตาอักเสบ หายใจลำบาก เสียงแหบแห้ง มีเสมหะ (บางรายมีเลือดปน)

และยังอาจพบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนี้

โรคปอดบวม ลมรั่วออกจากปอด ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ไตล้มเหลว ระบบการทำงานของหัวใจผิดปกติ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว เป็นต้น

วิธีป้องกันไข้ หวัดนก H5N1

  1. ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ
  2. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์ปีกทุกชนิด
  3. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์ปีก
  4. หลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีสัตว์ปีก
  5. ไม่ควรรับประทานเนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีกที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก
  6. เมื่อต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ควรทำประกันการเดินทาง เพื่อคุ้มครองค่ารักษาหากติดเชื้อไข้ หวัดนก
  7. หากมีอาการไอ มีไข้ เจ็บคอ ให้สวมหน้ากากป้องกัน และรีบไปพบแพทย์ทันที

ขณะที่ H7N9 ส่วนใหญ่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงร่วมกับอาการไข้ หายใจลำบาก และมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่พบได้น้อยมาก ในส่วนของการป้องกัน เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกการติดเชื้อ ดังนั้น วิธีที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้นได้ จะเป็นวิธีที่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับ H5N1

สำหรับการรักษา จะเป็นการรักษาตามอาการ และการรักษาแบบประคับประคอง ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจึงสำคัญที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในข่าวบอกว่า มีวัวที่ติดเชื้อในฟาร์มอยู่ 10% ถือว่าจำนวนไม่น้อย ซึ่งถ้าวัวได้รับมาจากนกโดยตรง แสดงว่าปริมาณไวรัสคงสูงมากที่จะแพร่เชื้อในวัวได้จำนวนมาก หรือถ้าเป็นการแพร่จากวัวติดเชื้อไปหาวัวตัวอื่น ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่ากังวลกว่า เพราะไวรัสไข้ หวัดนก ที่ติดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันเองได้ จะมีโอกาสกระโดดมาหาคนได้มากกว่าไวรัสจากนกโดยตรง

ข้อมูลตรงนี้สำคัญ เพราะวัวใกล้ชิดกับคน และอาการวัวป่วยดูไม่เด่นชัด โอกาสพลาดปล่อยให้ไวรัสมาติดคนเลี้ยงมีสูง

รู้จัก ไข้หวัดนก H5N1 / H7N9 สื่อนอกตีข่าวเป็นครั้งแรก กระโดดไปติดวัว พบนมเจือปนเชื้อไวรัส จับตาความเสี่ยง วัวสู่วัว โอกาสมาหาคนได้มากกว่าจากนกโดยตรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์
“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน
ศาลอาญาฯ พิพากษาจำคุกจำเลยคดีแชร์ลูกโซ่ "คอนเซ็ปต์ ซีรี่ส์" 1.7 หมื่นปี
คลี่ 6 ข้อกล่าวหาเขย่าขวัญ “ทักษิณ” ล้มล้างฯ จับตาศาลรธน.รับ-ไม่รับคำร้อง?
เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ "โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่" จ.สมุทรสาคร คาดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 50 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น