"ข้าวยีสต์แดง" คืออะไร อาหารเสริม 3 ชนิด ทำผู้บริโภคป่วยไต เสียชีวิต บริษัทญี่ปุ่นเรียกคืนผลิตภัณฑ์ แชร์ข้อมูล หวั่นกระทบความเชื่อมั่นแบรนด์แดนอาทิตย์อุทัย
ข่าวที่น่าสนใจ
ไตพังเสียชีวิต?
ล่าสุด ความคืบหน้ากรณี “ข้าวยีสต์แดง” ที่ผู้บริโภคในญี่ปุ่น รับประทานอาหารเสริมลดคลอเลสเตอรอล ทำจาก เบนิ-โคจิ หรือ ข้าวหมักยีสต์ หรือ ราสีแดง ของบริษัท โคบายาชิ ฟาร์มาซูติคอล แล้วมีอาการผิดปกติเกี่ยวข้องกับไต จนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลนับร้อย บริษัทผู้ผลิตแจ้งในวันที่ 28 มีนาคม 2567 ว่า มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 4 ราย
ด้าน โยชิมาสะ ฮายาชิ โฆษกรัฐบาลญี่ปุุ่น แถลงว่า รัฐบาลขอให้บริษัทโคบายาชิ ดำเนินการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพื่อหาสาเหตุและเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากกำลังเกิดความวิตกในวงกว้าง ในส่วนของรัฐบาล ก็กำลังส่งข้อมูลให้กับ องค์การอนามัยโลก และประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจผลิตภัณฑ์อาหารของญี่ปุ่น หลังจากที่มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ข้าว ยีสต์ แดง ของโคบายาชิเป็นส่วนประกอบในจีนและไต้หวัน
ก่อนหน้านี้ ทางการนครโอซาก้า ได้สั่งทำลายสต็อกอาหารเสริม 3 ชนิด ที่มีส่วนประกอบของข้าว ยีสต์ แดง ทั้งหมด ส่วนบริษัทโคบายาชิ ได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลายแสนแพ็กเกจ ที่ขายให้กับบริษัทอื่น ๆ ใช้เป็นวัตถุดิบเพิ่มสีสัน อาทิ สาเก ขนม ขนมปัง มิโซะ และรสชา เป็นต้น พร้อมประกาศเตือนบนบัญชีผู้ใช้เว่ยป๋อว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 3 ชนิด ไม่ได้วางขายอย่างเป็นทางการในจีน ดังนั้น ผู้บริโภคที่ซื้อผ่านออนไลน์หรือซื้อขณะไปเยือนญี่ปุ่น ขอให้ส่งคืนสินค้า
ทั้งนี้ ข้อมูลบนเว็บไซต์บริษัท ระบุว่า การผลิต เบนิ-โคจิ ของบริษัทโคบายาชิ ใช้แบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งในการหมักที่ไม่ก่อให้เกิดสาร ซิตรินิน (citrinin) ซึ่งเป็นอันตรายกับไต ผลตรวจสอบในเบื้องต้น พบสารบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ในวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่สาเหตุที่แท้จริง ต้องรอการตรวจวิเคราะห์อย่างเป็นอิสระโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัย
“ข้าวยีสต์แดง” ?
ข้าว ยีสต์ แดง ข้าวแดงโคจิ ข้าวหมักแดง ข้าวโคจิกแดง ข้าวโคจิแดง อังกะ หรือ อังกัก เป็นข้าวหมักสีม่วงแดงสด ซึ่งได้สีมาจากการปลูกด้วยเชื้อรา โมแนสคัส เพอเพียวริอุส (Monascus purpureus) บนข้าวเป็นเวลา 3 – 6 วันที่อุณหภูมิห้อง เมล็ดข้าวจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดที่แกนกลาง และด้านนอกเป็นสีม่วงแดง ข้าวที่เพาะเต็มที่จะขายเป็นเมล็ดแห้ง หรือปรุงสุกและพาสเจอร์ไรส์เพื่อขายเป็นแป้งเปียก หรือตากแห้งและบดเพื่อขายเป็นผงละเอียด
ข้าว ยีสต์ แดง คือสิ่งที่เรียกว่า “โคจิ” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง “เมล็ดพืชหรือถั่วที่รกไปด้วยเชื้อรา” ซึ่งเป็นประเพณีการเตรียมอาหารที่มีมาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 300 ปี ก่อนคริสตกาล
ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กำลังแยก โลวาสแตติน (Lovastatin) จาก แอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus) และ โมนาโคลิน (monacolins) จาก โมแนสคัส (Monascus) ตามลำดับ โดยเชื้อราชนิดหลังนี้เป็นเชื้อราชนิดเดียวกับที่ใช้ทำ ข้าว ยีสต์ แดง เมื่อเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่ได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวัง การวิเคราะห์ทางเคมีแสดงให้เห็นในไม่ช้าว่า โลวาสแตติน และ โมนาโคลิน เค (monacolin K) เป็นสารประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน
การแยกเอกสารและการยื่นขอรับสิทธิบัตรทั้งสองครั้งเกิดขึ้นห่างกันหลายเดือน โลวาสแตติน กลายเป็นยา เมวาคอร์ (Mevacor) ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและต้องสั่งโดยแพทย์ ข้าว ยีสต์ แดง กลายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ
โลวาสแตติน และ สแตติน (Statin) ตามใบสั่งแพทย์อื่น ๆ ยับยั้งการสังเคราะห์ คอเลสเตอรอล โดยการปิดกั้นการทำงานของเอนไซม์ ไฮดรอกซี-เมทิล-กลูตาริล-โคเอ็นไซม์ เอ รีดักเตส HMG-CoA (Hydroxy-methyl-glutaryl-Coenzyme A) reductase ผลที่ตามมาคือ การไหลเวียนของคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอล LDL จะลดลง 24 – 49% ขึ้นอยู่กับ สแตติน และขนาดยา
เชื้อรา โมแนสคัส สายพันธุ์ต่าง ๆ จะผลิต โมนาโคลิน ในปริมาณที่แตกต่างกัน สายพันธุ์ของ โมแนสคัส เพอเพียวริอุส เมื่อหมักและแปรรูปอย่างเหมาะสม จะให้ผงข้าว ยีสต์ แดง แห้งที่มีปริมาณ โมนาโคลิน ประมาณ 0.4% ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็น โมนาโคลิน เค ซึ่งสารประกอบทางเคมีเหมือนกันกับ โลวาสแตติน
คำเตือนก่อนซื้อกิน?
ข้อมูลจากฉลาดซื้อ ระบุมีคำเตือนจาก NCCIH หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในแนวทางเดียวกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ของสหรัฐฯ ประมาณว่า อย่ากิน ข้าวยีสต์แดง เพียงเพื่อเลี่ยงการพบแพทย์ที่ดูแลสุขภาพ อย่ากินเมื่อกำลังตั้งครรภ์ จะตั้งครรภ์ หรือในช่วงให้นมลูก และไม่ว่าในกรณีใด ๆ ควรปรึกษาผู้รู้จริง ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถึงผลได้และผลเสียก่อนที่จะกินผลิตภัณฑ์นี้ ที่สำคัญสุด ๆ คือ ห้ามกิน ข้าว ยีสต์ แดง ถ้ากำลังกินยากลุ่มสแตตินเพื่อลดโคเลสเตอรอลในเลือด เพราะอาจเกิดการเสริมฤทธิ์ยาจนเกิดอันตราย
นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำทั่วไปจาก NCCIH อีกว่า ถ้ากินผลิตภัณฑ์ข้าว ยีสต์ แดง แล้วเกิดอาการมากกว่าหนึ่งอย่างร่วมกัน คือ ท้องอืด ปวดท้อง ท้องผูก ท้องร่วง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและเป็นตะคริวมากกว่าปรกติ ปัสสาวะสีเข้ม คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หมดแรง มองเห็นไม่ชัด ผื่นหรือลมพิษ เวียนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเดียวกับที่อาจเกิดเมื่อผู้ป่วยกินยากลุ่มสแตติน ผู้บริโภคข้าว ยีสต์ แดง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่วิตกในสหรัฐอเมริกาและยุโรปคือ ในบางสภาวะการผลิตข้าว ยีสต์ แดง นั้น โมแนสคัส เพอเพียวริอุส อาจสร้างสารพิษจากเชื้อรา ไมโคทอกซิน (mycotoxin) ชื่อ ซิตรินิน (citrinin) เมื่อสิ่งแวดล้อมในการเจริญของยีสต์ราเหมาะสม สารพิษนี้ก่ออันตรายต่อไต
ความกังวลนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีการห้ามการบริโภคข้าว ยีสต์ แดง ในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในบางประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทั้งนี้ เพราะเป็นไปได้ยากที่จะมีการตรวจวิเคราะห์สารพิษเพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตข้าว ยีสต์ แดง อันมีสถานะเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งมีการควบคุมทางกฎหมายที่ไม่เคร่งครัดนัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง