“ว่านจักจั่น” พุทธคุณความเชื่อรักษาโรค ที่จริงคืออะไรกันแน่?

ว่านจักจั่น พุทธคุณความเชื่อรักษาโรค ที่จริงคืออะไรกันแน่?

"ว่านจักจั่น" หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง พุทธคุณเมตตามหานิยม โชคลาภ เจรจาค้าขายร่ำรวย ความเชื่อบอกต่อรักษาโรคร้ายหายได้ รู้ความจริงจะกล้ากินบูชาหรือไม่

“ว่านจักจั่น” กลับมาเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์อีกครั้ง ว่าแต่ ว่าน จักจั่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ พญาว่านต่อเงินต่อทอง นี้ คืออะไร หาได้จากที่ไหน ใช่พืชมงคล ของขลังตามความเชื่อหรือไม่ ที่จริงแล้วเป็นอะไรกันแน่ สรรพคุณช่วยเรื่องอะไร ทำไมคนถึงบริโภค มันกินได้จริงไหม TOP News รายงาน

ข่าวที่น่าสนใจ

ว่านจักจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง พุทธคุณเมตตามหานิยม โชคลาภ เจรจาค้าขายร่ำรวย ความเชื่อบอกต่อรักษาโรคร้ายหายได้ รู้ความจริงจะกล้ากินบูชาหรือไม่

คนกินตายทุกปี?

เพจดัง Drama-addict แชร์โพสต์ “ว่านจักจั่น” อันตรายถึงชีวิตอย่ากิน ! รพ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เตือนหลังพบชาวบ้าน 3 ราย กิน เกิดอาเจียน ช็อก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบช่วงฤดูฝน ไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ ปรุงสุกก็กินไม่ได้

ความเชื่อ?

ในส่วนของความเชื่อเกี่ยวกับว่าน จักจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง นั้นมีความเชื่อว่าเป็น จักจั่นที่มีขนาดของลำตัวที่ใหญ่เป็นพิเศษ เมื่อจักจั่นเหล่านั้นตาย แทนที่จะอยู่ใต้ผิวดินหรือตามหน้าดินปกติ จักจั่นเหล่านั้นจะทำการฝังตัวเองลงไปในดิน แล้วเกิดเป็นจะงอยหรือหงอนงอกออกมาบนดิน จึงมีลักษณะบางส่วนที่สังเกตได้บนดิน และบางส่วนที่ยังคงอยู่ใต้ดิน อีกทั้งยังพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น ทำให้เกิดความนิยมในกลุ่มพ่อค้าแม่ขายที่จะนำว่าน จักจั่น ใส่พานบูชาร่วมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ที่หน้าร้านค้า และเป็นที่นิยมในผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นผู้แทนในการขายสินค้าและบริการ หรือ Sale ที่มักพกว่าน จักจั่น ใส่กรอบห้อยคอติดตัวไปทำงานด้วยเสมอ เพื่อหวังผลการเจรจาต่อรองกับลูกค้าให้ประสบผลสำเร็จ

ทำไมถึงเอามากิน?

นอกจากความเชื่อที่ว่า ว่าน จักจั่น เป็นสิ่งที่หาได้ยาก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เมื่อนำมาบูชาแล้ว จะช่วยในเรื่องของการค้าขาย การงาน การเจรจาต่อรอง รวมไปถึงส่วนของการเสี่ยงโชคแล้วนั้น ยังมีความเชื่อว่า หากบริโภคน้ำที่ต้มด้วยพญาว่านต่อเงินต่อทองนี้เข้าไป สรรพคุณว่าน จักจั่น สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคร้ายที่เป็นอยู่ให้หายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของโรคร้ายที่การแพทย์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่มีทางรักษา หรืออยู่ในระยะประคับประคอง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว เมื่อได้รับการบอกต่อในกลุ่มผู้ป่วยและญาติ ว่าน จักจั่น จึงกลายเป็นว่านแห่งความหวัง

ว่านจักจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง พุทธคุณเมตตามหานิยม โชคลาภ เจรจาค้าขายร่ำรวย ความเชื่อบอกต่อรักษาโรคร้ายหายได้ รู้ความจริงจะกล้ากินบูชาหรือไม่

ภาพ : น้อง-ธัญญารัตน์ ถาม่อย

ความจริง “ว่านจักจั่น” ?

ว่าน จักจั่น ไม่ใช่ พืช แต่เป็น จักจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา จักจั่นสามารถติดเชื้อราได้ในขณะที่เป็นตัวอ่อนช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน เนื่องจากระยะนี้จักจั่นจะอ่อนแอมาก บวกกับช่วงหน้าฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้ดีในอากาศ

เมื่อเชื้อราตกลงสู่พื้นดินไปอยู่บนตัวจักจั่นที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไป และเจริญเติบโตภายในตัวจักจั่นได้ดี แย่งน้ำ อาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ และทำให้จักจั่นตายในที่สุด

เมื่อจักจั่นตายแล้ว เชื้อราไม่สามารถหาอาหารได้อีกต่อไป จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่น โดยมีการปรับตัวให้โครงสร้างสืบพันธุ์มีลักษณะเหมือนเขายืดขึ้นเหนือพื้นดิน คล้ายหน่อพืชหรือว่าน ซึ่งลักษณะนี้เอง จึงเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนี้ว่า ว่าน จักจั่น แต่มันไม่ใช่ ว่าน และไม่มีสรรพคุณรักษาโรค หรือมีพุทธคุณแต่อย่างใด

สปอร์ หรือ เซลล์สืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้น จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่น ๆ เพื่อค้นหา จักจั่น โชคร้ายตัวต่อไป

เชื้อราอันตราย?

เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิตเช่นนี้ จัดอยู่ในประเภทเชื้อราทำลายแมลง จากงานวิจัย นักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อรา คอร์ไดเซฟ โซโบลิเฟอร์รา (Cordyceps Sobolifera) และจากการศึกษาจากไบโอเทค พบว่า มีเชื้อราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งในหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม หรือแม้แต่ มด ก็ตาม

และข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้ให้เห็นว่า ว่าน จักจั่น มีความใกล้เคียงกับเชื้อรา โอฟิโอคอร์ไดเซฟ โซโบลิเฟอร์รา (Ophiocordyceps sobolifera) เมื่อกินแล้วจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ดวงตาหมุนวนไปรอบ ๆ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน อ่อนแรง ใจสั่น เวียนศีรษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรืออาการ เทอร์โมจีนิค ไมโคทอกซิน (tremorgenic mycotoxins) ซึ่งไม่มียาแก้ ต้องรักษาไปตามอาการ แบบประคับประคองเท่านั้น

นอกจากนี้ ในประเทศเวียดนาม มีรายงานการกินว่าน จักจั่น ชนิด โอฟิโอคอร์ไดเซฟ เฮเทอโรโพดา (Ophiocordyceps heteropoda) ทำให้เกิดอาการเวียนหัว อาเจียน น้ำลายไหล ม่านตาขยาย กรามแข็ง ไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ ชัก เพ้อคลั่ง เกิดภาพหลอน ง่วงซึม โคม่า และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นั่นก็คืออาการ เทอร์โมจีนิค ไมโคทอกซิน (tremorgenic mycotoxins) เช่นกัน

จึงไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับการนำมาบริโภคไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งการบริโภคสด ๆ หรือ การบริโภคโดยกรรมวิธีที่ผ่านความร้อนแล้วก็ตาม

ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่เคียงคู่มนุษย์มาแต่ช้านาน แต่เมื่อมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาก็ทำให้ความเชื่อบางอย่าง ที่สามารถพิสูจน์ได้ ถูกลบล้างลง ดังเช่น พญาว่านต่อเงินต่อทอง หรือ ว่าน จักจั่น นอกจากจะไม่ได้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังมีโทษรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ลองนึกภาพตาม ขนาดขนมปังขึ้นรา เรายังหลีกเลี่ยงที่จะไม่กิน แล้วซากจักจั่นที่ตายเพราะเชื้อรา หากมีการเก็บไป แล้วเกิดการสัมผัส เชื้อราทำลายแมลงเหล่านี้ ก็ติดเข้าไปตามผิวหนัง หรือการสูดดมได้ เรายังจะกล้ากินและกล้าบูชากันอยู่อีกหรือไม่

ว่านจักจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง พุทธคุณเมตตามหานิยม โชคลาภ เจรจาค้าขายร่ำรวย ความเชื่อบอกต่อรักษาโรคร้ายหายได้ รู้ความจริงจะกล้ากินบูชาหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น